WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กยศ.พร้อมรับมือการแข่งขันด้านบุคลากรในเศรษฐกิจอาเซียน

   กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษา ผู้กู้ยืมเงินกองทุนฯ ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน จบแล้วมีงานทำ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป การแข่งขันด้านบุคลากรในเขตเศรษฐกิจอาเซียนจะทวีความรุนแรงขึ้น

     ดร.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา กองทุนฯ ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา กู้ยืมเงินกองทุน กรอ. เพื่อเรียนในสาขาที่เป็นความต้องการหลักของตลาดแรงงาน ซึ่งเมื่อจบการศึกษา โอกาสที่จะมีงานทำค่อนข้างสูง และสามารถแข่งขันทัดเทียมกับบุคลากรจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากนักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในครอบครัวที่ยากจน และไม่ประสงค์จะเรียนในสาขาที่เป็นความต้องการหลักของตลาดแรงงาน ก็สามารถกู้ยืมเงินกองทุน กยศ. ได้เช่นกัน แต่ก็อาจมีปัญหาเรื่องการมีงานทำ ดังนั้น คุณภาพของนักเรียน นักศึกษา จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันในอนาคต ด้วยเหตุนี้ กองทุนฯ จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดกรองผู้กู้ยืมขึ้น ในเรื่องคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.00 ทุกภาคการศึกษา และต้องเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาในแต่ละภาคการศึกษา แต่หากคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด นักเรียน นักศึกษาก็อาจเข้าศึกษาสายวิชาชีพ ปวช. ปวส. แทนได้ ซึ่งหากจะกู้ กยศ. ก็จะไม่มีการคัดคะแนนเฉลี่ยตอนแรกเข้า หลักสูตรวิชาเน้นภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในเศรษฐกิจอาเซียนมากในขณะนี้ 

     กองทุนฯ ขอเรียนว่า ถ้าหากยังปล่อยให้การกู้ยืมเป็นไปได้โดยง่ายเหมือนในอดีต ก็จะเกิดผลเสีย ในเรื่องคุณภาพของนักเรียน นักศึกษาเอง และเมื่อเรียนจบในสาขาที่ต้องแข่งขันสมัครงานสูง ผลที่ตามมาคือ ผู้กู้ไม่มีงานทำหรือมีงานทำแต่เงินเดือนน้อย ไม่สามารถชำระเงินคืนกองทุนฯ ได้ ดังที่เป็นข่าวอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งทางกองทุนฯ ในฐานะหน่วยงานของรัฐ ก็ต้องมีหน้าที่ดำเนินการติดตามผู้กู้ยืมกลุ่มนี้ตามขั้นตอนของกฎหมาย  ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!