- Details
- Category: การศึกษา
- Published: Saturday, 25 August 2018 18:46
- Hits: 2932
สมศ. ประกาศพร้อมประเมินฯ รอบสี่ทันทีลงพื้นที่ทดสอบประเมินแห่งแรกร่วมกับ รมว.ศธ. ทั้ง ๔ ระดับ
ผอ. สมศ. ประกาศพร้อมประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ทันที หลังเข้ารับนโยบาย รมว.ศธ. เตรียมลงพื้นที่ประเมินฯ ๔ แห่งใน ๔ ระดับ พร้อม รมว.ศธ. - เลขาธิการ สกศ. – เลขาธิการของแต่ละระดับ และที่ประชุมเห็นชอบให้สถานศึกษาทำรายงานประเมินตนเองส่งต้นสังกัด เพื่อให้
สมศ. ประเมินฯ เผยจุดเด่นกรอบการประเมินฯ รอบสี่ ไม่มีการกำหนดมาตรฐานหรือตัวบ่งชี้ ให้สถานศึกษาออกแบบมาตรฐานการประเมินเอง ช่วยแก้ไขปัญหาOne Site Fit All
รองศาสตราจารย์ ดร. ณมน จีรังสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เปิดผยหลังจากได้เข้าพบเพื่อรับนโยบายจาก นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการซึ่งกำกับดูแล สมศ. โดยจะเริ่มประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒ กับสถานศึกษาทั้ง ๔ ระดับ คือ การศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการอาชีวศึกษา ระดับอุดมศึกษา ในการลงพื้นที่ประเมินคุณภาพภายนอก ๔ แห่งแรกของทั้ง ๔ ระดับ จะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการ สกศ. เลขาธิการของแต่ละระดับ ผู้อำนวยการ สมศ. และคณะผู้ประเมินของ สมศ. ลงพื้นที่ประเมินร่วมกันทั้ง ๔ แห่ง ซึ่งจะเป็นสถานศึกษาแห่งใด จังหวัดใดจะต้องหารือกันอีกครั้ง คาดว่าจะอยู่ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นชอบให้สถานศึกษาทุกระดับจัดทำมาตรฐานของสถานศึกษาให้พร้อมในการประเมินคุณภาพภายนอกและประเมินตนเอง โดยนโยบายของ รมว.ศธ. กำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้วิเคราะห์และสรุปประเด็นสำคัญจากรายงานประเมินตนเองออกมาสั้นๆ ให้เข้าใจโดยสะท้อนภาพผลการดำเนินงานในภาพรวมของสถานศึกษาเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดพิจารณา ซึ่งอาจจะเป็นมี ๓ หัวข้อ ๒ หน้า หรือมากกว่านั้นซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทของสถานศึกษา
โดย สมศ. ได้นำเสนอกรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้รับทราบแล้วเมื่อวันที่ ๑๗ ส.ค. ๖๑ และพร้อมจะเริ่มการประเมินได้ทันที จุดเด่นของกรอบการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ออกแบบมาแก้ไขปัญหา One Site Fit All หรือตัดเสื้อขนาดเดียวใช้ประเทศ นั่นหมายถึง สมศ. จะไม่มีการกำหนดมาตรฐานหรือตัวบ่งชี้ แต่ให้สถานศึกษาออกแบบมาตรฐานการประเมินเอง ให้สอดคล้องสภาพจริงกับบริบท ความพิเศษคือสถานศึกษาทุกแห่งสามารถนำเสนอความโดดเด่นในด้านต่างๆ ของสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นโอกาสที่ดีในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับรู้จุดเด่นและศักยภาพของสถานศึกษา รศ.ดร.ณมน กล่าวทิ้งท้าย