WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaa4หนมนกศกษาทน

4 หนุ่มนักศึกษาทุน...บนทางฝันร่วมวิจัยกับองค์กรระดับโลกในสหรัฐอังกฤษและญี่ปุ่น

      คนรุ่นใหม่เป็นพลังสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาประเทศไทยสู่อนาคตจากความร่วมมือของ 4 องค์กรชั้นนำในประเทศไทยได้แก่คณะวิศวกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) บริษัทซีเกทเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัดผู้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลระดับโลกได้ส่งเสริมสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ของไทยได้ก้าวเดินตามทางฝันเก็บเกี่ยวประสบการณ์อันทรงคุณค่าจากองค์กรระดับโลกในประเทศสหรัฐอเมริกา, อังกฤษและญี่ปุ่นนำมาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศของเราสู่เป้าหมายอนาคตไทยแลนด์ 4.0

     โลกของการเรียนรู้ไม่เคยหยุดนิ่งมาฟังสีสันแห่งประสบการณ์ครั้งหนึ่งในฃีวิตจาก 4 หนุ่มนักศึกษาไฟแรงที่คว้าทุนจากโครงการต่างๆและโอกาสสำคัญในการทำงานวิจัยและประสบการณ์ทำงานกับองค์กรที่มีชื่อเสียงระดับโลกในนานาประเทศสหรัฐอเมริกา, อังกฤษและญี่ปุ่น

    ภูมิคงห้วยรอบ (ภูมิ) หนุ่มนักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากล่าวว่าผมได้รับทุนจากบริษัทซีเกทเทคโนโลยี (ประเทศไทย) และสกว. ไปศึกษาวิจัยที่ The University of Electro-Communication (UEC) เมืองโชฟูประเทศญี่ปุ่น  เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากในด้านนี้ห้องวิจัย Aoyama Laboratory เป็นห้องปฏิบัติการที่ก้าวล้ำสำหรับการออกแบบกลไก, ระบบควบคุมเครื่องมือขนาดเล็กระดับไมโครเมตรและระดับการควบคุม-ตรวจจับการทำงานของหุ่นยนต์ขนาดเล็กด้วยเทคนิคประมวลผลภาพด้วยกล้องไมโครสโคปความไวสูงด้วยครับ Biomedical Engineering กำลังมีบทบาทสำคัญพัฒนาเครื่องมือแพทย์ในการรักษาและดูแลสุขภาพผมภูมิใจครับที่ได้รับประสบการณ์ทำงานออกแบบระบบควบคุมให้กับเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กเริ่มตั้งแต่สร้างชิ้นงานขึ้นมาเรียนรู้กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างทีมเทคนิคของไทยกับทีมญี่ปุ่นสุดท้ายคือได้ทำตัวต้นแบบโปรโต้ไทพ์ของเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กสำหรับการพัฒนาสู่การผ่าตัดสมองต่อไป  

     แล้วปีถัดมาด้วยทุนเดียวกันได้ไปสหรัฐอเมริกาโดยฝึกทำงานที่ Design Center ของซีเกทที่เมืองมินเนโซต้าซึ่งเป็นศูนย์การออกแบบระบบควบคุมหัวอ่านฮาร์ดิสค์ที่ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีทุกนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนใดก็ตามที่จะออกสู่ตลาดโลกจะต้องผ่านการประเมินทดสอบประสิทธิภาพจากศูนย์นี้ในสหรัฐอเมริกาเสียก่อนผมได้ไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมของการวิจัยพัฒนาที่เป็นสากล  แผนกออกแบบที่นี่ค่อนข้างเปิดกว้างฟรีสไตล์พอมีปัญหาอะไรเพื่อนร่วมงานจะมาช่วยกันระดมความคิดแก้ปัญหาบรรยากาศสร้างสรรค์และไลฟ์สไตล์การทำงานเป็นมืออาชีพเพื่อการดีไซน์โดยแท้จริง  ที่น่าภาคภูมิใจคือเราได้นำเทคนิคที่เราทำในประเทศไทยไปใช้กับศูนย์ดีไซน์เซนเตอร์และได้ออกแบบอุปกรณ์หนึ่งซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างหนึ่งว่าสิ่งที่คนไทยเราคิดและออกแบบนั้นเป็นที่ยอมรับในสากลก็มีความสุขกันทั้ง 2 ฝ่ายเพราะผลงานที่เราทำนี้สามารถที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้

     ณัฐชนนจิตต์สง่า (นน) หนุ่มนักศึกษาระดับปริญญาเอกภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  คุยให้ฟังว่าโลกกำลังจะเปลี่ยนผ่านจากยานยนต์ที่ใช้พลังงานฟอสซิลไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์และดิจิตัลผมเดินทางไปทำวิจัยร่วมที่ประเทศอังกฤษ  มหาวิทยาลัย City University London ในเดือนพฤศจิกายน 2560 เป็นโครงการวิจัยพัฒนาที่สำคัญต่อการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตคือระบบควบคุมมอเตอร์กระแสตรงไร้แปรงถ่านด้วยเทคนิคชุดควบคุมฟัซซีคงทนสององศาอิสระออกแบบสำหรับยานยนต์อัจฉริยะอัตโนมัติในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ครับโดยจะทำวิจัยที่แล็บวิจัยการควบคุมพลวัตรของโครงสร้าง (Structural Dynamics Research) เพื่อควบคุมการสั่นของระบบโครงสร้าง (Vibration Control ) ประยุกต์ใช้การควบคุมคงทนที่กำหนดโครงสร้างได้  เพราะสิ่งที่สำคัญของฮาร์ดดิสก์คือการป้องกันผลกระทบจากการรบกวนจากสิ่งแวดล้อมภายนอกหากฮาร์ดดิสก์ตกหรือได้รับการสั่นสะเทือนใดๆก็ตามจะส่งผลเสียต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ภายในทำให้เกิดการเสียหายได้ตื่นเต้นครับที่ได้ไปศึกษากับโปรเฟสเซอร์ที่เชี่ยวชาญในสาขานี้โดยเฉพาะขอบคุณทางซีเกทสกว.และคณะวิศวลาดกระบังครับ

    จตุวัฒน์วัฒนเศรษฐพงศ์ (สแตมป์) หนุ่มนักศึกษาระดับปริญญาโทภาควิชาวิศวกรรมโยธาผู้ได้รับทุนวิจัย 1 เดือนในแดนอาทิตย์อุทัยกล่าวว่าเป็นประสบการณ์ที่มีค่าในชีวิตที่ได้ทำงานภายใต้ SOUSEI Project ที่ University of Tokyo ในญี่ปุ่นทุนนี้เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยด้านการทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จำลองพื้นที่น้ำท่วมในสเกลระดับโลกอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Change) ซึ่งทุกวันนี้โลกของเรากำลังเผชิญกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเช่นเกิดน้ำท่วมน้ำแล้งอุณหภูมิที่สูงขึ้นฝนไม่ตกตามฤดูกาลและปัญหาตามมามากมายโดยได้ศึกษาโปรแกรมจำลองพื้นที่น้ำท่วมที่ IIS (Institute of Industrial Science) แล็บปฎิบัติการทางด้านการจำลองทางทรัพยากรแหล่งน้ำมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากพร้อมผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาระหว่างทำวิจัยประทับใจกับเพื่อนร่วมงานวิจัยชาวต่างชาติในทีมสปิริตที่เข้มแข็งรวมทั้งความล้ำสมัยเครื่องมือที่เก็บตัวอย่างน้ำฝนในสถานีของมหาวิทยาลัยเราสามารถนำคอมพิวเตอร์ของเราไปเชื่อมต่อกับเครื่องเก็บน้ำฝนและสามารถออกมาเป็นกราฟข้อมูลได้เลยแล้วยังมีโปรแกมจำลองสภาวะน้ำท่วมซึ่งจำลองในระดับสเกลภูมิภาคหรือว่าในระดับทวีปได้ด้วยครับช่วยให้เราทดลองกับพื้นที่ที่คาดว่าจะมีโอกาสเกิดน้ำท่วมหรือมีอัตราฝนตกมากจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมได้เพื่อหาทางป้องกันและรับมือเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากครับ

       พิณิชธนชัยโชคศิริกุล (เพียวหนุ่มนักศึกษาระดับปริญญาเอกภาควิชาวิศวกรรมโยธาคุยให้ฟังว่าผมได้รับทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ภายใต้สกว.ในหัวข้องานการประเมินอายุของน้ำใต้ดินที่เปลี่ยนแปลงเพื่อศึกษาและตรวจวัดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยใช้แบบจำลองการไหลของน้ำบาดาลร่วมกับทฤษฎีการเปิดรับที่ได้รับการพัฒนาจาก University of California – Davis ตลอดการทำงาน 3 เดือนเป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่งที่คนไทยจะได้เข้ามาฝึกการทำงานกับ United States of Geological Survey (USGS) ซึ่งเป็นองค์กรแห่งชาติของสหรัฐฯที่ศึกษาและวิจัยด้านปฐพีธรณีเป็นหลักรวมถึงดินฝนน้ำบาดาลนอกจากโครงการนี้แล้วผมยังได้รับโอกาสร่วมทำโครงการอื่นๆของทาง USGS อีกด้วยโดยเขากำลังศึกษากรณีการแตกของท่อหลักส่งน้ำมันดิบในพื้นที่เมือง Bemidji มลรัฐ Minnesota ประเทศสหรัฐอเมริกาว่าตะกอนน้ำมันที่มีสารเคมีปนเปื้อนเหล่านี้ได้ไหลซึมไปยังพื้นที่ชุมชนซึ่งอาจส่งผลต่อการปนเปื้อนในน้ำบาดาลได้  เราจึงทำแบบจำลองนี้ขึ้นเพื่อใช่วิเคราะห์ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นว่าตะกอนน้ำมันเหล่านี้จะไหลไปที่ตำแหน่งใดในอนาคตการทำงานเต็มไปด้วยบรรยากาศกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีๆมีประโยชน์ต่อชุมชนสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในปีหน้า 2561 ผมมีแผนจะเดินทางไปทำงานวิจัยที่ห้องปฏิบัติการที่ Washington States University ประเทศสหรัฐอเมริกาอีกครั้งผมหวังว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมในบ้านเราต่อไปครับ

คำอธิบายภาพ

1.ภูมิคงห้วยรอบ ร่วมพัฒนา  Biomedical Engineeringในญี่ปุ่นและอุปกรณ์ในฮาร์ดดิสค์ในสหรัฐ

2.ณัฐชนนจิตต์สง่ากับความท้าทายร่วมพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตที่ประเทศอังกฤษ

3.จตุวัฒน์วัฒนเศรษฐพงศ์ได้ร่วมวิจัยสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Change)ใน SOUSEI Project ที่ญี่ปุ่น

4.พิณิชธนชัยโชคศิริกุลกับงานศึกษาวิจัยปฐพีธรณี กับ  USGS ซึ่งเป็นองค์กรแห่งชาติของสหรัฐฯ

5(จากซ้ายไปขวา) จตุวัฒน์ ,พิณิช, ภูมิและณัฐชนน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!