- Details
- Category: DES
- Published: Friday, 20 October 2017 15:00
- Hits: 1495
ดีอี ผนึกคลังปูทางพัฒนา'ดิจิทัลไอดี'ทำธุรกรรมการเงิน
ไทยโพสต์ : เพลินจิต * กระทรวงดีอีร่วมกระทรวงการคลังตั้งคณะกรรมการฯจัดทำแพลตฟอร์มดิจิทัลไอดี สร้างรูปแบบการยืนยันตัวตนที่แม่นยำ ใช้ทำธุรกรรมนำร่องปี 61 เผยนานาชาติชื่น ชมไทยทำเน็ตประชารัฐ
นายพิเชฐ ดุรงคเว โรจน์ รัฐมนตรีว่ากการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ต.ค.2560 ที่ผ่านมา ได้เข้าหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการจัดทำระบบแพลตฟอร์มยืนยันตัวตน ในการเข้าทำธุรกรรมทางการเงินด้วยเทค โนโลยี หรือ ดิจิทัล ไอดี (Digital ID) ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), สำนัก งานคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.), ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (ตลท.) และกระ ทรวงมหาดไทย เป็นต้น โดยใน สัปดาห์หน้าจะตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลโครงการนี้
ทั้งนี้ แพลตฟอร์มดิจิทัล ไอดี จะเข้ามาช่วยให้การยืน ยันตัวตนของบุคคลชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากปัจจุบันที่ข้อมูลการทำธุรกรรมของแต่ละบุคคลกระจายอยู่ในที่ต่างๆ แพลตฟอร์มนี้จะเป็นหน่วยเชื่อมต่อกับสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยยืนยันข้อเท็จจริงของบุคคลเมื่อมีการขอทำสินเชื่อ หรือการขอทำธุรกรรมบางประเภท อาทิ หากนายกมีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารเอ แต่ต้องการทำสินเชื่อหรือธุรกรรมบางอย่างกับธนาคารบี หากมีแพลตฟอร์มดังกล่าว ระบบปฏิบัติการจะทำการส่งข้อมูลไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบและทำการยืนยันว่านายก สามารถทำธุรกรรมที่ต้องการได้หรือไม่ โดยระบบนี้ไม่ใช่การนำข้อมูลส่วนบุคคลมารวมกันไว้ในจุดเดียว แต่เป็นการเชื่อมโยงให้ข้อมูลที่อยู่ในที่ต่างๆ ทำการยืนยันข้อเท็จจริงของบุคคลนั้น
อย่างไรก็ตาม โครงการนี้คาดว่าจะสรุปรูปแบบของแพลตฟอร์มและระบบที่จะนำมาใช้ภายใน ม.ค.2561 และเริ่มมีการนำร่องใช้งานจริงในช่วงกลางปี 2561 อย่างแน่นอน ส่วนงบประมาณในการจัดทำคงยังสรุปตอนนี้ไม่ได้ แต่เชื่อว่าจะใช้วงเงินที่ไม่สูงเพราะระบบการทำแพลตฟอร์มนั้นไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก
นายพิเชฐ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนได้ไปพูดปาฐกถาในเวทีสัมมนาระดับภูมิภาคหลายครั้ง ซึ่งเรื่องที่ต่างชาติให้ความชื่นชมกลับมา คือ โครงการยกระดับโครง สร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่นเศรษฐกิจของประเทศ หรือเน็ตประชารัฐ เพราะเป็นรูปแบบการพัฒนาที่น่าสนใจสามารถนำโครงสร้างพื้นฐานเข้าไปได้ในทุกพื้นที่เพื่อให้เกิดการสร้างระบบเศรษฐกิจจากฐานรากของประเทศอย่างแท้จริง.
ดีอี จับมือคลังพัฒนาแพลตฟอร์ม Digital Identity คาดเปิดให้ใช้จริงกลางปี 61
นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า กระทรวงดีอีและกระทรวงการคลัง ได้ตั้งคณะกรรมการร่วมประกอบด้วยตัวแทนจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) , คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ,ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ,สมาคมธนาคารไทย ,สำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อร่วมมือกันพัฒนาแพลตฟอร์มในการยืนยันตัวตนเพื่อทำธุรกิจ หรือ Digital Identity Platform
ทั้งนี้ แพลตฟอร์มดังกล่าวจะเป็นระบบยืนยันตัวตนสำหรับบุคคลที่จะเริ่มทำธุรกิจเพื่ออำนวยความสะดวกให้การรับรองตัวตนและลงทะเบียนสร้างความเชื่อถือในการทำธุรกิจที่รวดเร็วมากขึ้น โดยระบบจะมีความปลอดภัยสูงและเชื่อมโยงกับระบบของหน่วยงานสำคัญๆ ในการยืนยันตัวตน อาทิ ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ฐานข้อมูลของสถาบันการเงิน และฐานข้อมูลเครดิต ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะพัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยี Block Chain ระบบที่จะพัฒนาขึ้นจะลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการยืนยันความมีตัวตนและความน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่สามารถทำธุรกรรมหรือติดต่อกับคู่ค้าจากต่างประเทศได้รวดเร็วมากขึ้น โดยระบบนอกจากจะเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของหน่วยงานของไทยในอนาคตจะทำให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบของต่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น
ส่วนความคืบหน้าในการพัฒนาคณะกรรมการร่วมของสองกระทรวงแหละหน่วยงานที่เกี่ยวข้ออยู่ระหว่างการออกแบบและพัฒนาระบบที่คาดว่าจะออกแบบระบบได้สมบรูณ์ภายในปลายปีนี้ เพื่อทำการนำร่องทดลองใช้งานเป็นเวลา 6 เดือนก่อนจะให้บริการจริงในช่วงกลางปี 61
ดีอี ถกกองทุนนัดแรกวางกรอบทำงานบริหารแบบเอกชนหนุนสมาร์ทซิตี้-พัฒนาคน
นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) ในนัดแรกในวันนี้ (19 ต.ค.) จะเป็นการประชุมนัดแรกภายหลังจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยที่ประชุมจะรับทราบและกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และกรอบการทำงานของกองทุน รวมถึงระบบการบริหารกองทุนที่แม้จะเป็นกองทุนจะอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงดีอี โดยสำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แต่จะทำงานอย่างมีความคล่องตัวเหมือนเอกชน
ทั้งนี้ กองทุนมีเงินทุนเริ่มต้นที่ 1,500 ล้านบาท ภารกิจของกองทุนจะเน้นหนักไปที่การศึกษาวิจัยและพัฒนา รวมถึงการสนับสนุนโครงการด้านดิจิทัลที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยโครงการที่คาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากกองทุนคือ โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือสมาร์ทซิตี้ และโครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล
อินโฟเควสท์