WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1de25

กระทรวงดีอี บริษัทพัฒนาเมือง โมเดลใหม่ ขับเคลื่อน Smart City ผ่านพลังประชารัฐ เพื่อบูรณาการอย่างยั่งยืน

     ในปีที่ผ่านมานโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล Thailand ๔.๐ เป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง โดยหนึ่งในโครงการที่ช่วยส่งเสริมนโยบายดังกล่าว คือ โครงการส่งเสริมพื้นที่พิเศษสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล หรือSmart City ซึ่งจะช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยให้เกิดการเชื่อมต่อ ปรับเปลี่ยน แก้ไข ระเบียบ ข้อบังคับ อันเป็นการจำกัดโอกาสในการลงทุน รวมทั้งเพื่อส่งเสริมพัฒนานวัตกรรม การเรียนรู้เทคโนโลยี การให้คำปรึกษาธุรกิจในพื้นที่เศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

     ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า สำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล Thailand ๔.๐ ผ่านโครงการ Smart City นั้น ทางกระทรวงดีอีได้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับการพัฒนาและวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ การจัดทำโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ขยายจุดให้บริการฟรีไวไฟ ซึ่งตรงนี้คือจุดเริ่มต้น แต่การจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ต้องอาศัยพลังประชารัฐหรือการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคประชาชนที่เป็นคนในพื้นที่

     เนื่องจากแนวคิดหลักของ Smart City คือ การกระจายอำนาจและสร้างความสามารถในการบริหารจัดการเมืองของแต่ละท้องถิ่น การสร้างอำนาจให้กับประชาชน และชุมชนในการร่วมกำหนดทิศทาง รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นและการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ในการบริหารจัดการเมือง เช่น การมีระบบแจ้งเหตุร้ายหรือความเสียหายของเมืองจากประชาชนผ่านระบบแอปพลิเคชัน โดยหากมีการใช้อย่างต่อเนื่องและมีการแสดงความคิดเห็นเข้ามา ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาและความชัดเจนด้านต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นสัญญาณให้เกิดการผลิกโฉมเมืองได้จริง อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงภาพที่หลายฝ่ายมอง แต่เรื่องเหล่านี้ยังต้องเผชิญความท้าทายอีกมาก โดยเฉพาะความท้าทายในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเมือง การบริหาร การจัดทำงบประมาณ รวมถึงการบริหารราชการแผ่นดินในภาพรวมและที่สำคัญ คือ หัวใจหลักของการเรียนรู้และพัฒนาทั้งคน สังคม เมือง ต้องร่วมมือกัน

       ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) (ซิป้า) เดิม  ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ Phuket Smart City ทำให้พบปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้น สำหรับการพัฒนา Smart City แบบยั่งยืน อาทิ ปัญหาด้านงบประมาณในการขับเคลื่อนที่ไม่ต่อเนื่อง การขาดผู้ดำเนินงานในระยะยาว ดังนั้นหากต้องการให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนเข้ามาร่วมขับเคลื่อนด้วย ซึ่งหลาย ๆ บริการสามารถสร้างรายได้จากการให้บริการ หากมีรูปแบบธุรกิจที่ดี จึงเชื่อว่าภาคเอกชนจำนวนมากต้องการเข้ามาดำเนินการตรงนี้ ดังนั้นภาครัฐเองจึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเอง แต่ให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นผู้ร่วมดำเนินงาน

     จุดนี้ เอง เป็นข้อต่อที่สำคัญในการเชื่อมประสานการลงทุนและเป็นที่มาของการก่อตั้งบริษัทพัฒนาเมือง หรือการรวมตัวของนักธุรกิจท้องถิ่น เพื่อจัดตั้งเป็นบริษัทในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ของตนเองไปข้างหน้าและไม่ได้หวังพึ่งพารัฐบาลอย่างเดียว โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากนักธุรกิจขอนแก่นที่ได้รวมตัวกันจดทะเบียนในชื่อว่าบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) ที่มีแนวคิดต้องการพัฒนาขอนแก่นให้หลุดพ้นจากกับดักของประเทศไทยในเรื่องของรายได้ระดับปานกลางและการรอคอยการพึ่งพาจากผู้อื่น โดยไม่ได้ลุกขึ้นมาทำอะไรด้วยตนเอง ทั้งนี้ ภายหลังการดำเนินการจัดตั้งบริษัทพัฒนาเมืองของขอนแก่น ก็เป็นที่มาให้จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดภูเก็ตพัฒนาตาม   

     ทั้งนี้ ในการจัดตั้ง 'บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง (พีเคซีดี)' เกิดขึ้นครั้งแรกจากการรวมตัวของนักธุรกิจท้องถิ่น ๒๕ คน ลงทุนจดทะเบียนเปิดบริษัทในทุนจดทะเบียน ๑๐๐ ล้านบาท โดยการบริหารในรูปแบบบริษัทโฮลดิ้งคอมพานี ซึ่งประกอบด้วยหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ๑๒ หน่วยธุรกิจ และมีหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา โครงการ Phuket Smart City ด้วย ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทได้ศึกษาหลายมิติ เช่น มิติเรื่องความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว การใช้พลังงานทดแทน การพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุนด้านดิจิทัล โดยมิติเหล่านี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลได้เข้าไปเกี่ยวข้องในการเป็นที่ปรึกษา การถ่ายทอดการใช้เทคโนโลยี การส่งเสริมการลงทุนร่วมกับ BOI และการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อผลักดันให้โครงการเกิดขึ้นได้เร็ว เนื่องจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ได้ทดลองนำร่องโครงการ Phuket Smart City และเมื่อมีการผนวกการทำงานร่วมกัน จะทำให้กลไกในการทำงานง่ายขึ้นเพราะเป็นการขยายผลต่อ โดยเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๙ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามความร่วมมือ ในการขับเคลื่อน Smart City ซึ่งถือเป็นการประสานความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีกงล้อสำคัญที่เข้ามาดัน คือ บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง

     คาดว่า การดำเนินการจะได้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้นในช่วงเดือนเมษายน โดยการเปิดตัวแอปพลิเคชันที่จะทำให้นักท่องเที่ยววางแผนการเดินทางได้สะดวกมากขึ้น โดยจะมีการลงทุนเรื่องรถขนส่งสาธารณะ ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวคำนวณเวลาการเดินทางและรู้ว่าควรเดินทางเช่นไรได้ และการพัฒนาแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านการลงทุน นอกจากนี้ ในช่วงระยะ ๓ ปีขึ้นไป จะมีการศึกษาพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน อาทิ การพัฒนาความปลอดภัยเมือง การดูแลสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชน พลังงานลม และคลื่นในทะเล

     อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าความต้องการของเมืองนั้นมีไม่สิ้นสุดและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ใช่การลงทุนเพียง ๑ ปีแล้วเลิกไป แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ จะนำงบประมาณจากที่ไหนมาลงทุน ดังนั้นงบประมาณจากภาคเอกชนจึงเป็นคำตอบที่จะทำให้กงล้อทั้งหมดหมุน ซึ่งที่ผ่านมามีนักลงทุนจำนวนมากต้องการลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพะจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ซึ่งมีความพร้อมหลายด้าน แต่ติดปัญหาด้วยวิธีปฏิบัติ การหาเจ้าภาพจากหน่วยงานภาครัฐที่ชัดเจน ดังนั้น การมีบริษัทพัฒนาเมืองจะเป็นตัวกลางในการจัดการเรื่องการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะทำให้ง่ายขึ้น โดยภายในงานวันที่ ๒๖ มกราคมนี้ เชื่อว่าจะเกิดการจับคู่ธุรกิจขึ้น เนื่องจากผู้เข้าร่วมงานมีทั้งผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี นักลงทุน สถานทูต นอกจากนี้หากโมเดลการพัฒนาเมืองพัฒนามากขึ้นในเฟตสองจะมีการเปิดให้นักธุรกิจเข้ามาเพิ่มทุนและขยับไปถึงการเข้ามาของประชาชนในพื้นที่ ตลอดไปถึงความสำเร็จสูงสุด คือ การระดมทุนจากทั่วประเทศผ่านการนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะทำให้การพัฒนาที่เกิดขึ้นยั่งยืนต่อไป

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!