- Details
- Category: DES
- Published: Friday, 13 November 2015 22:36
- Hits: 7257
'ประจิน'สั่งกระทรวงไอซีที หนุน'ศูนย์ดิจิทัลชุมชน' เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Thailand
รองนายกฯ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หนุนนโยบายกระทรวงไอซีที เดินหน้า'ศูนย์ดิจิทัลชุมชน-ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต-สร้างโอกาสและความเท่าเทียมทางสังคม'ขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่ Digital Thailand
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในระหว่างการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่ผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุม MICT ชั้น 9 กระทรวงไอซีที ว่า กระทรวงไอซีทีเป็นกระทรวงที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประเทศในทุกมิติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือด้านความมั่นคงของประเทศ โดยปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เกี่ยวข้องกับเรื่องของเครื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Peopleware) โครงข่าย (Network) และข้อมูล (Data) เป็นต้น ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย (Security) เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรรม (Hack) ข้อมูล
ทั้งนี้ นโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Thailand) จะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลให้ก้าวหน้า พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อีกด้วย ซึ่งการที่กระทรวงไอซีทีให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ดิจิทัลชุมชน การสร้างโอกาสและความเท่าเทียมในสังคม โดยเฉพาะโครงการ ICT เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งการดำเนินการเรื่องดังกล่าวจะประสบผลสำเร็จได้จำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband) ให้มีปริมาณเพียงพอ ทั่วถึง เท่าเทียม และมีเสถียรภาพ
ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีจะบูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวทันโลกดิจิทัลด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ซึ่งขณะนี้กระทรวงไอซีทีอยู่ระหว่างการเร่งจัดทำโครงการที่เห็นผลเป็นรูปธรรมในระยะเร่งด่วน (Flagship Projects) และวางรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวสู่ Digital Thailand ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจและความเท่าเทียมทางสังคมด้วยนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ด้วยเป้าหมายหลัก 4 ด้าน คือ 1.ปรับเปลี่ยนการทำงานและบริการภาครัฐด้วยดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ 2.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย 3.สร้างโอกาสและความเท่าเทียมในสังคม และ 4.พัฒนาทุนมนุษย์สำหรับโลกยุคดิจิทัล โดยกำหนด 6 ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ดังนี้ 1.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Hard Infrastructure) 2.สร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Soft Infrastructure) 3.ส่งเสริมการสร้างบริการดิจิทัลของภาครัฐ (Service Infrastructure) 4.ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Economy Acceleration) 5.พัฒนาสังคมดิจิทัล (Digital Society) และ 6.พัฒนากำลังคนดิจิทัล (Digital Workforce)
ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว รัฐบาลและภาคเอกชนจะร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยเอกชนเป็นผู้ดำเนินการหลัก ขณะที่ภาครัฐมีภารกิจด้านการบูรณาการแนวความคิดเพื่อชี้นำแนวทางการขับเคลื่อน อำนวยความสะดวกและส่งเสริมสนับสนุน โดยภาครัฐจะกำกับดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงมีธรรมาภิบาลและความมั่นคงปลอดภัย ตลอดจนปรับปรุงบทบาท อำนาจหน้าที่ และการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐเพื่อส่งเสริมบทบาทและการจัดสรรทรัพยากรให้เกื้อหนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ซึ่งขณะนี้กระทรวงไอซีทีอยู่ระหว่างการยกร่างแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยได้มีการจัดประชุมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา
“โครงการนำร่องต้องดำเนินการร่วมกันและใช้ทรัพยากรและบุคลากรที่มีอยู่อย่างเต็มที่ โดยแต่ละโครงการจะมีเจ้าภาพหรือผู้รับผิดชอบหลักและมีหน่วยงานอื่นร่วมสนับสนุนในการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างโครงการที่เห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล เช่น การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ดิจิทัลชุมชน การสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการไทย การพัฒนาความเชื่อมโยงโครงข่ายบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชน โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับเมืองเพื่อให้สามารถบริหารจัดการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจะนำร่องที่จังหวัดภูเก็ต และมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ซึ่งในส่วนของกระทรวงไอซีทีมีหน้าที่ในการวางโครงสร้างพื้นฐาน Smart City เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลรองรับบริการของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นโมเดลที่สามารถขยายผลต่อไป” ดร.อุตตม กล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
'ประจิน'สั่งกระทรวงไอซีที หนุน'ศูนย์ดิจิทัลชุมชน' เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Thailand
รองนายกฯ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หนุนนโยบายกระทรวงไอซีที เดินหน้า “ศูนย์ดิจิทัลชุมชน-ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต-สร้างโอกาสและความเท่าเทียมทางสังคม” ขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่ Digital Thailand
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในระหว่างการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่ผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุม MICT ชั้น 9 กระทรวงไอซีที ว่า กระทรวงไอซีทีเป็นกระทรวงที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประเทศในทุกมิติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือด้านความมั่นคงของประเทศ โดยปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เกี่ยวข้องกับเรื่องของเครื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Peopleware) โครงข่าย (Network) และข้อมูล (Data) เป็นต้น ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย (Security) เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรรม (Hack) ข้อมูล
ทั้งนี้ นโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Thailand) จะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลให้ก้าวหน้า พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อีกด้วย ซึ่งการที่กระทรวงไอซีทีให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ดิจิทัลชุมชน การสร้างโอกาสและความเท่าเทียมในสังคม โดยเฉพาะโครงการ ICT เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งการดำเนินการเรื่องดังกล่าวจะประสบผลสำเร็จได้จำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband) ให้มีปริมาณเพียงพอ ทั่วถึง เท่าเทียม และมีเสถียรภาพ
ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีจะบูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวทันโลกดิจิทัลด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ซึ่งขณะนี้กระทรวงไอซีทีอยู่ระหว่างการเร่งจัดทำโครงการที่เห็นผลเป็นรูปธรรมในระยะเร่งด่วน (Flagship Projects) และวางรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวสู่ Digital Thailand ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจและความเท่าเทียมทางสังคมด้วยนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อนำไปสู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ด้วยเป้าหมายหลัก 4 ด้าน คือ 1.ปรับเปลี่ยนการทำงานและบริการภาครัฐด้วยดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ 2.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย 3.สร้างโอกาสและความเท่าเทียมในสังคม และ 4.พัฒนาทุนมนุษย์สำหรับโลกยุคดิจิทัล โดยกำหนด 6 ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ดังนี้ 1.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Hard Infrastructure) 2.สร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Soft Infrastructure) 3.ส่งเสริมการสร้างบริการดิจิทัลของภาครัฐ (Service Infrastructure) 4.ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Economy Acceleration) 5.พัฒนาสังคมดิจิทัล (Digital Society) และ 6.พัฒนากำลังคนดิจิทัล (Digital Workforce)
ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว รัฐบาลและภาคเอกชนจะร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยเอกชนเป็นผู้ดำเนินการหลัก ขณะที่ภาครัฐมีภารกิจด้านการบูรณาการแนวความคิดเพื่อชี้นำแนวทางการขับเคลื่อน อำนวยความสะดวกและส่งเสริมสนับสนุน โดยภาครัฐจะกำกับดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงมีธรรมาภิบาลและความมั่นคงปลอดภัย ตลอดจนปรับปรุงบทบาท อำนาจหน้าที่ และการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐเพื่อส่งเสริมบทบาทและการจัดสรรทรัพยากรให้เกื้อหนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ซึ่งขณะนี้กระทรวงไอซีทีอยู่ระหว่างการยกร่างแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยได้มีการจัดประชุมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา
“โครงการนำร่องต้องดำเนินการร่วมกันและใช้ทรัพยากรและบุคลากรที่มีอยู่อย่างเต็มที่ โดยแต่ละโครงการจะมีเจ้าภาพหรือผู้รับผิดชอบหลักและมีหน่วยงานอื่นร่วมสนับสนุนในการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างโครงการที่เห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล เช่น การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ดิจิทัลชุมชน การสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการไทย การพัฒนาความเชื่อมโยงโครงข่ายบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชน โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับเมืองเพื่อให้สามารถบริหารจัดการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจะนำร่องที่จังหวัดภูเก็ต และมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ซึ่งในส่วนของกระทรวงไอซีทีมีหน้าที่ในการวางโครงสร้างพื้นฐาน Smart City เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลรองรับบริการของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นโมเดลที่สามารถขยายผลต่อไป” ดร.อุตตม กล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย