WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1ict

กระทรวงไอซีทีผนึก ATCI จัดงาน 'Thailand Local Government Summit 2015'

    สัมมนาวิชาการ ICT Solutions และแสดงเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

    กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทยและองค์กรภาคี เตรียมจัดสัมมนาวิชาการ ICT Solutions และแสดงเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือ “Thailand Local Government Summit 2015” ภายใต้แนวคิดหลัก : Digital Transformation for Local Government ดิจิทัล ขับเคลื่อนท้องถิ่นไทย  เพื่อส่งเสริมและพัฒนา ICT ให้เกิด ประสิทธิภาพด้วยแนวคิดพัฒนาอย่างต่อเนื่องในแนวทาง 'บูรณาการ'มุ่งนำท้องถิ่นไปสู่ Green Digital Society เปิดโอกาสให้บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียนรู้ความก้าวหน้าและประยุกต์ใช้ ICT เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นจาก Smart Province สู่ Smart Thailand ตลอดจนการนำดิจิทัลมาช่วยในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ในทุกมิติของการให้บริการประชาชน อาทิ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การจัดการภัยพิบัติ การรักษาสิ่งแวดล้อม และการแพทย์ ตลอดจนการนำมาปรับปรุงกระบวนการทำงานของทางราชการ การบริหารจัดการด้านงบประมาณให้เกิดความคุ้มค่า เป็นต้น จัดในระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม 2558 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ เปิดรับสมัครวันนี้ – 30 พฤศจิกายน ศกนี้ สอบถามเพิ่มเติมที่ คุณธัญญา สิมมาวัตร โทร 02 661 7750 ต่อ 223, 083 004 6739

    ภายในงานจะมีสัมมนาวิชาการและปาฐกถาพิเศษหลากหลายหัวข้อ อาทิ ดิจิทัลเปลี่ยนโลก ประเทศไทยจะก้าวเดินอย่างไรอย่างมีเสถียรภาพ โดย รมว.ไอซีที ดร.อุตตม สาวนายน ปาฐกถาพิเศษ: ความท้าทายใหม่ของภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ แรงผลักดันไปสู่วาระท้องถิ่นดิจิทัล โดยอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ปาฐกถาพิเศษ: กรุงเทพมหานคร ต้นแบบการพัฒนามหานครแห่งอนาคต โดย ดร.พีระพงศ์ ศิริเกษม ผู้ตรวจราชการสูง กรุงเทพมหานคร รวมถึงนิทรรศการแสดงเทคโนโลยี ICT จำลองการใช้ ICT เพื่อ Smart Health, Smart Education, Smart Services จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทัศนศึกษาและเยี่ยมชมหน่วยงานที่มีการนำ ICT ไปใช้เพื่อพัฒนาบริการประชาชนได้อย่างดีเยี่ยม การนำเสนอผลงานการบริหารท้องถิ่นดีเด่นด้วย ICT เป็นต้น   

    นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที กล่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของท้องถิ่นให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันความก้าวหน้าด้านไอซีที ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คำว่า เศรษฐกิจดิจิทัลหรือ Digital Economy กำลังเป็นประเด็นที่ประเทศไทยและทั่วโลกให้ความสำคัญเนื่องจากปรากฎการณ์ Digital Transformation และ Internet of Things กำลังเข้ามามีบทบาททั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก ซึ่งกล่าวกันโดยทั่วไปว่าปัจจุบันเรากำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องพัฒนากระบวนทัศน์ใหม่ในการทำงานเพื่อก้าวสู่ยุคสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล บนพื้นฐานของการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบ Digital Local Government หรือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งในแง่การดำรงชีวิตและประกอบอาชีพของประชาชนมุ่งสู่การพัฒนาท้องถิ่นภายใต้แนวคิด Green Digital Society เพื่อก้าวสู่สังคมอุดมปัญญาหรือ Digital Thailand

    รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้มุ่งหวังให้ผู้นำและบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบถึงประโยชน์และการประยุกต์ใช้ ICT อย่างบูรณาการ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างเหมาะสม สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างดีเยี่ยม รองรับ พ.ร.บ. อำนวยความสะดวกที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งยังสร้างความตื่นตัวและตระหนักว่า ICT มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการบริหารจัดการและพัฒนาท้องถิ่นเพื่อมุ่งสู่ความเป็นท้องถิ่นที่มีการพัฒนาอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างยั่งยืน จึงขอเชิญชวนทุกท่านสมัครเข้าร่วมงานนี้ได้ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558”

ก.ไอซีที โชว์โรดแมปยกระดับมาตรฐานธุรกรรมออนไลน์ พร้อมรองรับ AEC

       กระทรวงไอซีที ผนึกกำลังหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เดินหน้าจัดทำโรดแมปพัฒนามาตรฐาน (e-Standard) การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทย พร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

   นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลตามนโยบายรัฐบาล ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลและการทำธุรกรรมออนไลน์ในภาคธุรกิจและภาคประชาชน รวมถึงมีมาตรฐานด้านข้อมูลและมาตรฐานด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถแลกเปลี่ยน เชื่อมโยงข้อมูลภายในหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจและการใช้ประโยชน์ทางสังคม ตลอดจนรองรับการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต

  กระทรวงไอซีที โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA ได้ดำเนินการด้านการสร้างความมั่นคงปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Transactions) ของประเทศ รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน (Soft Infrastructure) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการวางรากฐานระบบธุรกรรมออนไลน์ของไทย โดยมุ่งเน้นการพัฒนามาตรฐานหลัก 2 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานเพื่อสนับสนุน e-Business หรือ e-Trade ซึ่งเป็นมาตรฐานข้อความที่เกี่ยวข้องกับการทำการค้า เช่น e-Invoice, e-Tax Invoice และมาตรฐานเพื่อสนับสนุนการใช้บริการ e-Payment หรือมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (National Payment Message Standard : NPMS) ที่อ้างอิงจากมาตรฐานสากล ISO 20022

    ทั้งนี้ กระทรวงฯ ได้วางแผนการดำเนินงาน (Roadmap) สำหรับการพัฒนามาตรฐาน (e-Standard) ในปี 2559 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 นี้อย่างสมบูรณ์และเต็มรูปแบบ โดยมีแนวทางพัฒนาต่อยอดการพัฒนามาตรฐานในส่วนต่างๆ ได้แก่ การพัฒนามาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (NPMS) เวอร์ชั่น 3 สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อความการชำระเงินระหว่างธนาคาร โดยร่วมกับบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (National ITMX) และธนาคารสมาชิก ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของธนาคารพาณิชย์ไทยเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านระบบการชำระเงิน และเพิ่มการเชื่อมโยงบริการชำระเงินระบบต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด รวมทั้งการพัฒนามาตรฐานข้อความอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อขายสินค้าเพิ่มเติม โดยทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

   นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการผลักดันการใช้มาตรฐาน e-Tax Invoice และ e-Receipt ร่วมกับกรมสรรพากร รวมทั้งการให้บริการลงทะเบียนรหัสสถานที่เพื่อการค้าและการขนส่ง (UN/LOCODE) เพื่อสนับสนุนกรมศุลกากร ในเรื่องของการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window) โดยได้มีการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานที่สำคัญคือ การจัดทำมาตรฐานเพื่อการสนับสนุนการทำธุรกิจในปัจจุบัน การศึกษาและจัดทำมาตรฐานสำหรับอนาคตในอีก 3 ปีข้างหน้า เนื่องจากมาตรฐานมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!