- Details
- Category: DES
- Published: Saturday, 19 September 2015 09:14
- Hits: 11816
รมว.ไอซีที เร่งพัฒนาอินเทอร์เน็ต ให้เข้าถึงแหล่งชุมชนทั่วประเทศใน 2-3 ปี
สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดงานครบรอบ 25 ปี'ยุทธศาสตร์โทรคมนาคมไทย เตรียมความพร้อมสู่ศูนย์กลางอาเซียน'จัดการบรรยายพิเศษหัวข้อ'The importance of information to the growth of the Thai economy”ชูจุดยืนดันไอซีทีไทยเข้าสู่อาเซียน ด้าน รมว.ไอซีที มุ่งเน้นการผลักดันบรอดแบนด์แห่งชาติ ,พัฒนาอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ให้เข้าถึงบริการประชาชนและแหล่งชุมชนทั่วประเทศภายใน 2-3 ปี, การผลักดันการพัฒนาการให้บริการ 4GLTE ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน และการปฏิรูปโครงสร้างธุรกิจโทรคมนาคมให้เป็นแบบ Layer Separation เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม, การลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสิทธิแห่งทาง (Right of Way) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองที่มีการขยายตัวของการใช้งานสูง
พล.อ.อ. ดร.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกล่าวเปิดงาน ได้แสดงความยินดี เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีของสมาคมฯ และกล่าวถึงความก้าวหน้าของระบบโทรคมนาคมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ซึ่งไอซีทีเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของแนวทางในการพัฒนาประเทศตลอดเวลา 25 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันมีหลายโครงการที่จะช่วยกันนำไปสู่สมาร์ทซิตี้ สมาร์ทสคูลซึ่งต้องใช้พื้นฐานของไอซีทีเป็นแกนกลาง รวมถึงเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียนและครู ที่ต้องใช้เทคโนโลยีไอซีทีเข้ามาขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเรียน การหาข้อมูลในห้องสมุด ซึ่งหากสามารถเริ่มต้นตรงนี้ได้เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำในทุก ๆ ด้านก็จะตามมา แต่ขณะเดียวกัน สมาร์ทคอมมิวนิตี้ก็ต้องร่วมดูแลเรื่องของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมด้วย สำหรับเรื่องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศนั้น มี 3 ด้านคือ 1. โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง 2. โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน และ 3. โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอซีทีซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นมากที่สุด ทั้งในเรื่องสังคม ความมั่นคง และเศรษฐกิจ จึงต้องขอความร่วมมือจากทุกคน ทุกภาคส่วนร่วมแรงร่วมใจ มุ่งสู่การพัฒนาเทคโนโลยีด้านไอทีเพื่อให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้าต่อไป
ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึงทิศทางของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศว่าจะมุ่งเน้นการผลักดันบรอดแบนด์แห่งชาติ มุ่งเน้นการพัฒนาอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ไม่ว่าจะเป็น Fixed Line หรือ Wireless เพื่อให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ให้บริการครอบคลุมเข้าถึงแหล่งชุมชนทั่วประเทศภายใน 2-3 ปี, การผลักดันการพัฒนาการให้บริการ 4GLTE ในประเทศไทย การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน และการปฏิรูปโครงสร้างธุรกิจโทรคมนาคมให้เป็นแบบ Layer Separation เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม, การลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสิทธิแห่งทาง (Right of Way) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองที่มีการขยายตัวของการใช้งานสูง การผลักดันให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในดิจิทัล ฮับ ของภูมิภาคอาเซียน โดยสนับสนุนให้มีการลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลในประเทศ เพื่อดึงดูดผู้ให้บริการเนื้อหา (Content Provider) จากต่างประเทศใช้ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของศูนย์ข้อมูลของภูมิภาค ตลอดจนการพัฒนาผู้ประกอบการทั้งด้านไอซีที และผู้ประกอบการในธุรกิจ รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม SMEs ให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล”
และกล่าวเสริมถึงบทบาทหน้าที่ของสมาคมฯ ว่า “สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยนับว่าเป็นอีกหนึ่งสมาคมที่มีบทบาทสำคัญไม่เพียงเฉพาะต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยด้วย จากข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานถึง 93 ล้านเลขหมาย ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรของประเทศและการใช้งานอินเทอร์เน็ตอันเป็นหัวใจสำคัญของการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล มีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่า 34 ล้านคน โดยเป็นผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ประมาณ 6 ล้านราย แนวโน้มการพัฒนาดังกล่าวได้สะท้อนถึงศักยภาพการพัฒนาของประเทศในด้านไอซีที ซึ่งเห็นได้จากอันดับการพัฒนาตามดัชนีชี้วัดการพัฒนาด้านไอซีที (ICT Development Index: IDI) ขององค์การโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ล่าสุด (ค.ศ. 2013 ตามรายงานการศึกษาประจำค.ศ. 2014) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 81 จาก 166 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสูงขึ้นจาก ค.ศ. 2015 ถึง 10 อันดับ และมีการเติบโตของดัชนีด้านการใช้งาน (Use Index) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 34 อันดับ คือจากอันดับที่ 105 มาอยู่ที่อันดับ 71 โดยสาเหตุสำคัญมาจากการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2,100 MHz สำหรับการให้บริการ 3G จึงทำให้มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์พกพาที่เพิ่มสูงขึ้น”
ทางด้าน นายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แถลงวิสัยทัศน์ของสมาคมฯ เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี ว่า “ศักยภาพของประเทศไทยในยุคต่อไปจะเป็นศักยภาพที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การนำข้อมูลมาใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นยุคที่ทุกธุรกิจจะต้องแข่งขันกันด้วยความสามารถของข้อมูล สำหรับนโยบายดิจิทัล อีโคโนมี จะช่วยลดช่องว่างของความสามารถในการใช้ข้อมูลของโลกด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้เป็นอย่างดีและจะสร้างโอกาสอย่างมหาศาลให้กับธุรกิจใหม่ ๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ สรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ นำไปสู่ตลาดใหม่ ๆ
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญในการลดช่องว่างในการเข้าถึงดิจิทัล (Digital Divide) ก็คือ ศักยภาพของคน ที่จะสามารถทำงานต่อยอดบนแพลทฟอร์มดิจิทัล หรือเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลอันมหาศาล สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในการลดช่องว่างระหว่างสังคม และลดช่องว่างระหว่างเศรษฐกิจ ซึ่งผมเชื่อว่าการสร้างระบบที่จะทำให้ศักยภาพของคนมีความพร้อมก็จำเป็นต้องมี Ecosystem ที่เหมาะสม เริ่มตั้งแต่ระบบการศึกษา ไปจนถึงการที่จะให้สิ่งตอบแทน สร้างแรงบันดาลใจ เพื่อดึงบุคลากรที่มีความสามารถจากทั่วโลก มาทำงานอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเมื่อทำได้จะก่อให้เกิดการลงทุน รวมถึงการนำเอาทักษะการทำงานเข้ามาในประเทศไทย ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถ
สำหรับ วิสัยทัศน์ของสมาคมฯ เราจะมุ่งพัฒนาและนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสร้างความยั่งยืนให้กับระบบสังคม และโลก การที่เรามีธรรมาภิบาลหรือสามัญสำนึกในการประกอบกิจการทั้งหมดทั้งปวงในการใช้เทคโลยีดิจิทัลมาทำให้เกิดความยั่งยืน จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดความไว้วางใจ และนำไปสู่การถ่ายทอดข้อมูลที่มีประโยชน์และสร้างคุณประโยชน์ได้อย่างอเนกอนันต์ต่อไปให้กับประเทศไทยและให้กับภูมิภาค”
ก.ไอซีที เร่งเครื่องศูนย์กลางข้อมูล-บริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐเพื่อประชาชนให้เสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้
กระทรวงไอซีที เร่งเดินหน้าศูนย์กลางข้อมูลและบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐเพื่อประชาชนให้เสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2558 นี้ พร้อมดันภูเก็ตและเชียงใหม่ก้าวสู่ซูเปอร์คลัสเตอร์ (Super Cluster) ซึ่งเป็นศูนย์รวมที่มีระบบ WiFi และโครงข่ายไฟเบอร์ออพติกอย่างทั่วถึง
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำศูนย์ข้อมูลภาครัฐเพื่อให้บริการประชาชนและการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อการบริหารภาครัฐ ว่า สืบเนื่องจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีจัดทำข้อมูลกลางให้บริการประชาชน โดยในระยะแรกให้ดำเนินการจัดทำช่องทางสื่อสารกับประชาชนในเรื่องภัยแล้งผ่านแอปพลิเคชันที่สามารถแสดงถึงข้อมูลสำคัญ อาทิ สถานการณ์น้ำ สถานการณ์ปริมาณน้ำฝน ผลกระทบภัยแล้ง และพื้นที่ปลูกข้าว เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติมจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งได้ทำการศึกษาประเด็นพืชทดแทน/อาชีพทดแทนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ภัยแล้งปีถัดไป โดยจะเป็นการบูรณาการข้อมูลจากทุกหน่วยงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
สำหรับ ความคืบหน้าการดำเนินงานศูนย์กลางข้อมูลและบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐสำหรับประชาชน (Government Application Center : GAC) ดังนี้ 1.ศูนย์รวมบริการภาครัฐในรูปแบบเว็บไซต์ (Government e-Service Website Portal) ประกอบด้วย เว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Thailand e-Government Portal : www.egov.go.th) ซึ่งเป็นศูนย์รวมเว็บไซต์ข้อมูลและบริการต่างๆ ของภาครัฐ ปัจจุบันมีบริการหรือเว็บไซต์ของภาครัฐที่เผยแพร่หรือให้บริการผ่าน www.egov.go.th จำนวนทั้งสิ้น 2,547 เว็บไซต์ รวม 454 หน่วยงาน ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (www.data.go.th) เป็นศูนย์รวมข้อมูลสาธารณะและข้อมูลภาครัฐในรูปแบบมาตรฐานเปิด ปัจจุบันมีชุดข้อมูลที่เปิดเผย จำนวน 251 ชุดข้อมูล จาก 31 หน่วยงาน และศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th) ปัจจุบันได้จัดให้มีคู่มือบริการประชาชน ตาม พ.ร.บ. อำนวยความสะดวก ที่เผยแพร่แล้ว จำนวน 10,049 คู่มือ และอยู่ในระหว่างดำเนินการ จำนวน 635,439 คู่มือ
2.ศูนย์รวมบริการภาครัฐในรูปแบบโมบายแอปพลิเคชัน (apps.go.th) หรือแอปพลิเคชัน GAC ซึ่งเป็นช่องทางสำหรับประชาชนที่มีอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ปัจจุบันมีบริการภาครัฐในรูปแบบโมบายแอปพลิเคชันให้บริการผ่าน www.apps.go.th จำนวน 108 บริการ จาก 68 หน่วยงาน และ 3.ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ของรัฐ ได้แก่ Government Kiosk ติดตั้งแล้ว 2 แห่ง ณ ศูนย์ G-Point สาขาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และศูนย์การค้าเซ็นทรัลศาลายา โดยมีระบบที่ให้บริการ 8 ระบบ จาก 4 หน่วยงาน และ Government Smart Box ซึ่งได้ทำการติดตั้งแล้ว จำนวน 27 เครื่อง ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ตำบล
นอกจากนี้ กระทรวงฯ จะเร่งรัดการจัดทำโครงการซูเปอร์คลัสเตอร์ (Super Cluster) ซึ่งเป็นศูนย์รวมที่มีระบบ WiFi และโครงข่ายใยแก้วนำแสงไฟเบอร์ออปติก (Fiber Optic) ใน 2 พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดภูเก็ต ซึ่งในส่วนของภูเก็ตนั้น ทาง บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) และ บมจ. ทีโอที (TOT) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงฯ มีความพร้อมในการดำเนินงาน 100% ส่วนที่เชียงใหม่นั้นอาจจะต้องใช้งบสนับสนุนบางส่วนจากรัฐบาล โดยยึดหลักความทั่วถึง เป็นธรรม และเท่าเทียม
“รัฐบาลมีนโยบายที่จะยกระดับการให้บริการประชาชนผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐให้เกิดการบูรณาการ การเชื่อมโยงที่สมบูรณ์ครอบคลุมการให้บริการแก่ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานของรัฐอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ของภาครัฐ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ซึ่งกระทรวงฯ โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA จะเร่งดำเนินการให้ครบถ้วนทันการเปิดตัวต่อประชาชนในช่วงปลายปี 2558 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งยังจะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยป้องกันและลดปัญหาการทุจริตภายในหน่วยงานภาครัฐได้อีกด้วย”นายอุตตมฯ กล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ไอซีที เร่งศูนย์กลางข้อมูล-บริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ บริการทันในปีนี้
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เร่งเดินหน้าศูนย์กลางข้อมูลและบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐเพื่อประชาชนให้เสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2558 นี้ พร้อมดันภูเก็ตและเชียงใหม่ก้าวสู่ซูเปอร์คลัสเตอร์ (Super Cluster) ซึ่งเป็นศูนย์รวมที่มีระบบ WiFi และโครงข่ายไฟเบอร์ออพติกอย่างทั่วถึง
นายอุตตม สาวนายน รมว.ไอซีที เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำศูนย์ข้อมูลภาครัฐเพื่อให้บริการประชาชนและการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อการบริหารภาครัฐ ว่า สืบเนื่องจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีจัดทำข้อมูลกลางให้บริการประชาชน โดยในระยะแรกให้ดำเนินการจัดทำช่องทางสื่อสารกับประชาชนในเรื่องภัยแล้งผ่านแอปพลิเคชันที่สามารถแสดงถึงข้อมูลสำคัญ อาทิ สถานการณ์น้ำ สถานการณ์ปริมาณน้ำฝน ผลกระทบภัยแล้ง และพื้นที่ปลูกข้าว เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติมจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งได้ทำการศึกษาประเด็นพืชทดแทน/อาชีพทดแทนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ภัยแล้งปีถัดไป โดยจะเป็นการบูรณาการข้อมูลจากทุกหน่วยงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
สำหรับ ความคืบหน้าการดำเนินงานศูนย์กลางข้อมูลและบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐสำหรับประชาชน (Government Application Center : GAC) ดังนี้ 1.ศูนย์รวมบริการภาครัฐในรูปแบบเว็บไซต์ (Government e-Service Website Portal) ประกอบด้วย เว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Thailand e-Government Portal : www.egov.go.th) ซึ่งเป็นศูนย์รวมเว็บไซต์ข้อมูลและบริการต่างๆ ของภาครัฐ
ปัจจุบันมีบริการหรือเว็บไซต์ของภาครัฐที่เผยแพร่หรือให้บริการผ่าน www.egov.go.th จำนวนทั้งสิ้น 2,547 เว็บไซต์ รวม 454 หน่วยงาน ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (www.data.go.th) เป็นศูนย์รวมข้อมูลสาธารณะและข้อมูลภาครัฐในรูปแบบมาตรฐานเปิด ปัจจุบันมีชุดข้อมูลที่เปิดเผย จำนวน 251 ชุดข้อมูล จาก 31 หน่วยงาน และศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th) ปัจจุบันได้จัดให้มีคู่มือบริการประชาชน ตาม พ.ร.บ. อำนวยความสะดวก ที่เผยแพร่แล้ว จำนวน 10,049 คู่มือ และอยู่ในระหว่างดำเนินการ จำนวน 635,439 คู่มือ
2.ศูนย์รวมบริการภาครัฐในรูปแบบโมบายแอปพลิเคชัน (apps.go.th) หรือแอปพลิเคชัน GAC ซึ่งเป็นช่องทางสำหรับประชาชนที่มีอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ปัจจุบันมีบริการภาครัฐในรูปแบบโมบายแอปพลิเคชันให้บริการผ่าน www.apps.go.th จำนวน 108 บริการ จาก 68 หน่วยงาน และ 3.ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ของรัฐ ได้แก่ Government Kiosk ติดตั้งแล้ว 2 แห่ง ณ ศูนย์ G-Point สาขาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และศูนย์การค้าเซ็นทรัลศาลายา โดยมีระบบที่ให้บริการ 8 ระบบ จาก 4 หน่วยงาน และ Government Smart Box ซึ่งได้ทำการติดตั้งแล้ว จำนวน 27 เครื่อง ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ตำบล
นอกจากนี้ กระทรวงฯ จะเร่งรัดการจัดทำโครงการซูเปอร์คลัสเตอร์ (Super Cluster) ซึ่งเป็นศูนย์รวมที่มีระบบ WiFi และโครงข่ายใยแก้วนำแสงไฟเบอร์ออปติก (Fiber Optic) ใน 2 พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดภูเก็ต ซึ่งในส่วนของภูเก็ตนั้น ทาง บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) และ บมจ. ทีโอที (TOT) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงฯ มีความพร้อมในการดำเนินงาน 100% ส่วนที่เชียงใหม่นั้นอาจจะต้องใช้งบสนับสนุนบางส่วนจากรัฐบาล โดยยึดหลักความทั่วถึง เป็นธรรม และเท่าเทียม
“รัฐบาลมีนโยบายที่จะยกระดับการให้บริการประชาชนผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐให้เกิดการบูรณาการ การเชื่อมโยงที่สมบูรณ์ครอบคลุมการให้บริการแก่ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และหน่วยงานของรัฐอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ ของภาครัฐ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ซึ่งกระทรวงฯ โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA จะเร่งดำเนินการให้ครบถ้วนทันการเปิดตัวต่อประชาชนในช่วงปลายปี 2558 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งยังจะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยป้องกันและลดปัญหาการทุจริตภายในหน่วยงานภาครัฐได้อีกด้วย" นายอุตตมฯ กล่าว
อินโฟเควสท์