WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอตตม สาวนายน'อุตตม'เผยยังไม่สรุปคลื่น 1800-900MHz คาดเล็งถก'ประจิน'อาทิตย์หน้า

    แนวหน้า : นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า วันนี้ ยังไม่ได้เข้าพบกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ดังนั้น จึงยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องคลื่น 900 MHz และ การคืนคลื่น 5 MHz ของคลื่น 1800 MHz คาดว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะมีการหารือกับรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะนำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในวันที่ 22 ก.ย.นี้ทันหรือไม่ แต่จะพยายามให้ได้ความชัดเจนมากที่สุดภายในเดือนนี้

   "เรื่องคลื่น 900 MHz ยังไม่มีข้อสรุป 100 %เพราะเรื่องนี้มันเชื่อมโยงกับแผนฟื้นฟูขององค์กร ซึ่งเราได้ให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กลับไปทำแผนฟื้นฟูมาใหม่โดยต้องมองในภาพรวม ทีโอทียังมีคลื่น 2100 MHz และ 2300 MHzดังนั้นต้องทำแผนมาว่าหากไม่มีคลื่น 900 MHz จะเดินหน้าแผนฟื้นฟูอย่างไร ซึ่งผมให้เวลาภายในอาทิตย์หน้าทีโอทีต้องเสนอแผนมาให้ดู"

  ส่วนเรื่องความคืบหน้าในการเร่งรัดให้ทีโอทีเคลียร์เรื่องสัญญาสัมปทานที่แก้กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ตนได้ให้ความเห็นกับฝ่ายบริหารว่าควรจะปรึกษาสำนักงานอัยการประกอบด้วย แต่ยังตอบไม่ได้ว่าทีโอทีต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาทีโอทีได้แจ้งว่าได้ดำเนินการทางวินัยบ้างแล้ว ส่วนประเด็นที่สงสัยกันว่า บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ก็มีการแก้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น ตนเองยังไม่ได้เห็นเนื้อหาสัญญาจึงพูดไม่ได้ว่าจะต้องผิดด้วยหารือไม่ แต่เรื่องาระหว่างทีโอทีและเอไอเอสนั้นเป็นเพราะสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดมาจึงต้องดำเนินการตามขั้นตอน

   ขณะเดียวกัน การจัดทำศูนย์ข้อมูลภาครัฐเพื่อให้บริการประชาชนและการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อการบริหารภาครัฐ ว่า สืบเนื่องจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงไอซีทีจัดทำข้อมูลกลางให้บริการประชาชน โดยในระยะแรกให้ดำเนินการจัดทำช่องทางสื่อสารกับประชาชนในเรื่องภัยแล้งผ่านแอปพลิเคชันที่สามารถแสดงถึงข้อมูลสำคัญ อาทิ สถานการณ์น้ำ สถานการณ์ปริมาณน้ำฝน ผลกระทบภัยแล้ง และพื้นที่ปลูกข้าว เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลเพิ่มเติมจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งได้ทำการศึกษาประเด็นพืชทดแทน/อาชีพทดแทนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ภัยแล้งปีถัดไป โดยจะเป็นการบูรณาการข้อมูลจากทุกหน่วยงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!