WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

พ.ศ..... โดยคณะกรรมการประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน, รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจ เป็นรองประธาน และกรรมการซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 9 กระทรวง, เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, ประธานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 8 คน ซึ่งต้องแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากภาคเอกชนไม่น้อยกว่า 3 คน ด้านฝ่ายเลขานุการจะมีปลัดกระทรวงไอซีที เป็นกรรมการและเลขานุการ และรองปลัดกระทรวงฯ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

   นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ คือ การจัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามแนวทางที่ระเบียบกำหนด การให้ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและแผนระดับชาติดังกล่าว การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการระดับชาติต่างๆ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น

     ทั้งนี้ รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะต่อ ครม.ในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการบูรณาการการกำหนดนโยบาย ตลอดจนการพิจารณาอนุมัติโครงการที่เป็นการร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชนในกิจการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ โดยมีสำนักงานปลัดกระทรวงไอซีทีทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการ

    อย่างไรก็ตาม การจัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะต้องครอบคลุมถึงแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะก่อให้เกิดการประหยัดทรัพยากรของชาติ มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของประเทศที่ครอบคลุมถึงโครงข่ายการติดต่อสื่อสารทุกประเภทที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนประโยชน์ของประชาชนและสาธารณะเป็นสำคัญ

   นอกจากนี้ จะดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคน สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การสร้างความตระหนักและรู้เท่าทันสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่างทั่วถึง และเกิดประโยชน์ต่อประชาชน รวมถึงการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

   และเมื่อระเบียบฉบับนี้ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กระทรวงไอซีทีจะใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ไปจนกว่าร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ..... จะมีผลใช้บังคับ

บอร์ดดีอีควรเป็นโพลีซีเมคเกอร์

   นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ รองประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า การที่มีคณะกรรมการเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือคณะกรรมการดีอี โดยหลักการแล้วเป็นเรื่องที่ดีและถูกต้องในการกำหนดนโยบายต่างๆ ไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล แต่ด้วยโครงสร้างคณะกรรมการที่ออกแบบมาคิดว่ายังมีปัญหาอยู่หลายอย่าง ซึ่งเรื่องแรกที่มีปัญหานั้น คือ บทบาทของคณะกรรมการยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นโพลีซีเมคเกอร์, เรกูเลเตอร์ หรือเพลเยอร์

  ทั้งนี้ ในส่วนคณะกรรมการมีผู้ประกอบการเข้าไปอยู่ด้วย อาทิ ตัวแทนจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ซึ่งตนมองว่าคณะกรรมการดีอีควรทำหน้าที่เป็นโพลีซีเมคเกอร์ หรือดูแลในส่วนของนโยบายและทิศทางมากกว่า และควรเป็นผู้นำเสนอนโยบายนั้นๆ ไปสู่รัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลที่มาจากประชาชนนำเสนอสู่รัฐสภาให้ความเห็นชอบ

    อีกทั้ง ทางอนุกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนเองก็ได้พิจารณาศึกษากลไกดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีความเห็นเช่นเดียวกันว่า คณะกรรมการดีอีควรเป็นเพียงผู้กำหนดนโยบาย โดยแยกบทบาทการกำกับดูแลผู้ประกอบการออกจากกันให้ชัดเจน เมื่อได้แผนหรือทิศทางนโยบายแล้ว จึงส่งต่อไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้พิจารณาต่อไป

    "คิดว่าบอร์ดดีอีควรเป็นโพลีซีเมคเกอร์ ให้มองในการทำงานเชิงทิศทางที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลได้ ซึ่งต้องตั้งคำถามว่า ตกลงสิ่งที่กำลังทำอยู่จะเป็นการส่งเสริมหรือเป็นการทำงานที่สวน

    ทาง เพราะในภาคเอกชนถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล  แต่ในการแก้กฎหมายทั้ง 10 ฉบับนั้น เราไปให้ความสำคัญกับภาครัฐว่าต้องเป็นคนขับเคลื่อน มีการเอื้ออำนาจให้กับพนักงานภาครัฐมากเกินไป ขาดการถ่วงดุล  มองว่าแทนที่จะเป็นการส่งเสริมแต่อาจกลายเป็นการเหนี่ยวรั้ง" นายวสันต์กล่าว

   นายวสันต์ยังมองว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นั้น หากต้องทำงานประสานกับคณะกรรมการดีอี ก็ให้ดำเนินตามนโยบายที่ผ่าน ครม.แล้ว เพื่อป้องกันความสับสนและป้องกันการแทรกแซง ซึ่ง กสทช.ควรเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งมองว่าในการจัดสรรคลื่นความถี่นั้น ไม่ควรให้หน่วยงานอื่นเข้ามากำกับหรือเข้ามาแทรกแซงการทำงานได้ การจัดสรรคลื่นควรเป็นอำนาจโดยตรงขององค์กรอิสระ

แนะเรียกคืนคลื่นไม่ควรให้เงินชดเชย

    จากกรณีที่มีกระแสข่าวออกมาว่า ในการประชุมคณะกรรมการดีอี ได้มีการหารือเสนอเพิ่มมาตราใหม่ตามที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรฯ พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ยังมีการแก้ไขอยู่ในขณะนี้ โดยเบื้องต้นอาจจะเสนอให้ กสทช.มีอำนาจไกล่เกลี่ยคลื่นมากกว่าเรียกคืนคลื่นความถี่มาจัดสรรใหม่ (รีฟาร์มมิ่ง) เพียงอย่างเดียว รวมถึงพิจารณาเรื่องการชดเชยให้แก่หน่วยงานในกรณีที่เรียกความถี่คืน โดยไม่ให้ความถี่ใหม่กลับไป ทั้งนี้ แนวความคิดดังกล่าวเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการนำความถี่ที่มีอยู่มาจัดสรรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการเพิ่มมาตราใหม่ ก็เพื่อเปิดทางการจัดสรรด้วยวิถีทางที่หลากหลายขึ้น ดังนั้น การแก้ไขควรเดินไปด้วยกัน

   นอกจากนี้ รายงานข่าวยังระบุอีกว่า พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี  ประธานคณะกรรมการ กสทช. ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการดีอี ยังยอมรับว่า กฎหมาย กสทช.ที่มีอยู่กำหนดอำนาจบทบาทไม่ชัดพอ แม้การเรียกคืนความถี่ก็ยังขาดประสิทธิผล เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่ดำเนินงานมาไม่กี่ปี แต่หน่วยงานต่างๆ ถือครองความถี่มานับสิบปี อีกทั้ง พ.ร.บ.กสทช.ที่มีอยู่กำหนดมาตรา 27 และ 28 ให้อำนาจ กสทช.ในการบริหารจัดการความถี่เพื่อประโยชน์สูงสุด และกำหนดให้ กสทช.ไปจัดทำแผนแม่บทบริหารคลื่นในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกันทั้งหมด

   โดยนายวสันต์มองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ และไม่แน่ใจว่าจะตอบโจทย์ปัญหาที่ผ่านมาได้หรือไม่ ซึ่งปัญหาการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ผ่านมา ไม่ได้อยู่ที่ กสทช.มีอำนาจหรือไม่มีอำนาจ แต่เป็นเพราะ กสทช.เองวางโรดแม็พการจัดสรรคลื่นไว้ค่อนข้างยาว คือ 5 ปี, 10 ปี และ 15 ปี ทั้งคลื่นที่ใช้ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

     ส่วนการนำเงินไปชดเชยนั้น ไม่แน่ใจว่าจะใช้เงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ที่มีไว้เพื่อพัฒนาด้านต่างๆ ไปใช้เพื่อจ่ายให้กับคลื่นความถี่ที่ต้องการเรียกคืนกลับมา ซึ่งโดยหลักการแล้ว ต้องถือว่าคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของชาติอยู่แล้ว แม้ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐอาจมีการครอบครองจำนวนมาก ซึ่งโดยรัฐธรรมนูญกำหนดชัดเจนว่าคลื่นความถี่เป็นของสาธารณะ ดังนั้นไม่ควรที่จะต้องจ่ายเงินเพื่อนำคลื่นกลับมา สามารถเรียกคืนกลับมาได้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว

ชี้กองทุนดิจิทัลอีโคโนมีให้คลังจัดงบแยก

   สำหรับ การแก้กฎหมาย 10 ฉบับ ซึ่งจะมีในส่วนของการนำเงินจาก กทปส.ไปใช้กับกองทุนเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น มองว่าที่มาของเงินกองทุนกับวัตถุประสงค์ที่จะใช้สวนทางกัน เพราะเงินที่เข้ากองทุนนั้นมาจากกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคม แต่จะนำเงินไปใช้ในเศรษฐกิจดิจิทัลอาจไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

  อย่างไรก็ตาม หากการนำเงินจาก กทปส.ไปใช้ในกองทุนใหม่แต่ยังคงวัตถุประสงค์เดิมไว้ตามที่ กทปส.ทำอยู่ คือ ใช้ในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการ ก็สามารถทำได้ ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการเองก็กำลังพิจารณากันอยู่ว่าจะนำเงินไปทั้ง 100% หรือ 25% หรือจะเป็นการให้ กทปส.ส่งเงินเข้าคลังในส่วนที่เป็นรายได้แผ่นดิน แล้วค่อยทำออกมาเป็นงบประมาณที่ชัดเจนให้กับกองทุนเศรษฐกิจดิจิทัล

คืบหน้าแก้กฎหมาย 5 ฉบับ รอใช้ พ.ค.นี้

    ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 เม.ย.58 ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ได้เปิดเผยว่า กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลเตรียมประกาศใช้ 5 ฉบับ ในเดือน พ.ค.58 นี้ โดยนางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สพธอ. กล่าวว่า ความคืบหน้าในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล โดยการออกกฎหมายจำนวนทั้งสิ้น 10 ฉบับ ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ...., ร่างประกาศ พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ.... และร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่ง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ จะดำเนินการรวมเป็น พ.ร.บ. 1 ชุด

     อีกทั้ง ครม.ยังเห็นชอบ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ...., พ.ร.บ.จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่...) พ.ศ.... และองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่...) พ.ศ.... หรือ (พ.ร.บ.กสทช.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในขั้นตอนต่อไป ครม.จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 5 ฉบับดังกล่าว ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาในขั้นตอนสุดท้ายก่อนประกาศใช้กฎหมายต่อไป

   อย่างไรก็ตาม ในร่างกฎหมายดังกล่าว เร็วๆ นี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะดำเนินการเผยแพร่ข้อมูล แต่จะเผยแพร่เฉพาะในส่วนของชุดกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล 3 ฉบับ  และ พ.ร.บ.กสทช.เท่านั้น เนื่องจากกฎหมายฉบับอื่นยังคงเป็นเรื่องอ่อนไหวเกินกว่าจะเผยแพร่ ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ากฎหมายทั้ง 3 ฉบับจะสามารถเสร็จสิ้นการพิจารณาจาก สนช.ได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ก่อนเดินหน้าประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวต่อไป

เสียงค้านแก้กฎหมาย

    ส่วนที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวันที่ 8 เม.ย.58 มีการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ เกี่ยวกับกฎหมายดิจิทัล 10 ฉบับ โดย นายจุมพล รอดคำดี ประธานกรรมาธิการ กล่าวว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและสังคม รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการสำนักงานและองค์กรขึ้นมาใหม่หลายคณะและหลายหน่วยงาน เพราะยังขาดความชัดเจนในเรื่องสถานะความรับผิดชอบ และรูปแบบขององค์กร ว่าเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน

    อีกทั้ง พบอีกว่า ในการบริหารจัดการมีการกำหนดให้สามารถเข้าเป็นหุ้นส่วน หรือเข้าร่วมทุนกับบุคคลอื่น โดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการหรือหลักเกณฑ์ นอกจากนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวทั้ง 10 ฉบับมีบทบัญญัติที่เพิ่มอำนาจหน้าที่เหมือนตำรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างไร้ขอบเขต และไม่มีมาตรการหรือกลไกปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งขัดต่อหลักการตามรัฐธรรมนูญ โดยหลังจากนี้กรรมาธิการจะนำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสมาชิกไปปรับปรุงเพื่อเป็นรายงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนนำเสนอต่อ ครม.เพื่อประกอบการพิจารณาและดำเนินการต่อไป

    ด้าน นายสุภาพ คลี่ขจาย ประธานชมรมผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลภาคพื้นดิน กล่าวว่า ผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดิจิทัล ต่างให้ความกังวลเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลทั้ง 10 ฉบับ ที่กำลังจะออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำ กสทช.ไปเป็นอีก 1 องค์ประกอบของคณะกรรมการดีอี เนื่องจากรูปแบบของกฎหมายดังกล่าว เปรียบเสมือนให้ กสทช.กลับเข้าไปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่มีฝ่ายการเมืองครอบงำอีกชั้นหนึ่ง ส่งผลให้ กสทช.หมดความเป็นองค์กรอิสระอย่างที่ควรจะเป็นตามที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 ระบุไว้ ทั้งนี้ เบื้องต้นได้มีการปรึกษากับ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย  หรือทีดีอาร์ไอ ซึ่งนายสมเกียรติได้แนะนำว่า การที่สื่อจะปราศจากการครอบงำจากที่ฝ่ายการเมืองได้ จะต้องมีกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนออกมาป้องกัน

    สำหรับ สาระสำคัญของร่างกฎหมายที่มีการปรับปรุงแก้ไขในส่วน กสทช.นั้นคือ การปรับปรุงองค์ประกอบ คุณสมบัติ และกระบวนการสรรหา กสทช. มีการปรับลดจำนวนองค์ประกอบของ กสทช.เหลือ 7 คน จาก 11 คน โดยไม่กำหนดด้านความเชี่ยวชาญและจำนวนคนในแต่ละด้าน เช่น กฎหมายปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสรรหากำหนดขึ้นใหม่จะเป็นผู้กำหนดลักษณะความเชี่ยวชาญและจำนวนกรรมการของแต่ละด้าน

   ส่วนการปรับปรุงคุณสมบัติทั่วไป มีดังนี้ ต้องมีอายุระหว่าง 45-65 ปี, กำหนดตำแหน่งขั้นตามที่สามารถเป็นได้  กล่าวคือ 1.กรณี หน่วยงานของรัฐต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไปหรือหน่วยงานของรัฐอื่นที่เป็นนิติบุคคล  2.กรณีภาคเอกชน ต้องเป็นผู้บริหารที่ไม่ต่ำกว่ารองกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทมหาชน ที่มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ไม่น้อยกว่า 3 ปี 3.กรณีภาควิชาการ ต้องรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 4.กรณีข้าราช การทหารต้องมียศตั้งแต่พลโทขึ้นไป 5.กรณีข้าราชการตำรวจ ต้องมียศตั้งแต่พลตำรวจโทขึ้นไป และ 6.กรณีภาคผู้บริโภค ต้องมีประสบการณ์การทำงานมาไม่น้อยกว่า 20 ปี

   สำหรับ การปรับปรุงกระบวนการสรรหา กสทช. มีดังนี้ 1.ตัดการสรรหาด้วยวิธีการคัดเลือกกันเองออก 2.กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหา ทำหน้าที่คัดเลือก กสทช. ประกอบด้วย ประธาน 3 ศาล คือ ประธาน ป.ป.ช., ประธาน คตง. และประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ โดยมีสำนักงาน กสทช.เป็นหน่วยธุรการโดยคณะกรรมการสรรหาจะสรรหาบุคคลที่สมควรได้รับการคัดเลือกเป็นจำนวน 2 เท่า เพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาคัดเลือกต่อไป และในส่วนประธานกรรมการ ให้กรรมการที่ได้รับการสรรหาคัดเลือกกันเองก่อนโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ซึ่งบทเฉพาะกาลกำหนดให้ กสทช.ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ต่อ จนกว่าจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง

      อย่างไรก็ตาม ทั้งเรื่องอำนาจหน้าที่การทำงานของคณะกรรมการดีอี การแก้กฎหมาย รวมถึงบทบาทของ กสทช.ต้องมีแนวทางที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น หากคลุมเครือและไม่สามารถหาจุดยืนของตนเองได้ อาจส่งผลต่อเนื่องได้ในอนาคต. คิดว่า บอร์ดดีอีควรเป็นโพลีซีเมคเกอร์ ให้มองในการทำงานเชิงทิศทางที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลได้ ซึ่งต้องตั้งคำถามว่า ตกลงสิ่งที่กำลังทำอยู่จะเป็นการส่งเสริมหรือเป็นการทำงานที่สวนทาง เพราะในภาคเอกชนถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล แต่ในการแก้กฎหมายทั้ง 10 ฉบับนั้น เราไปให้ความสำคัญกับภาครัฐว่าต้องเป็นคนขับเคลื่อน มีการเอื้ออำนาจให้กับพนักงานภาครัฐมากเกินไป ขาดการถ่วงดุล มองว่าแทนที่จะเป็นการส่งเสริมแต่อาจกลายเป็นการเหนี่ยวรั้ง" นายวสันต์กล่าว.

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!