- Details
- Category: DES
- Published: Sunday, 29 July 2018 14:19
- Hits: 5488
ETDA คาดมูลค่า e-Commerce ไทยปี 61 โตมาที่ 3.06 ล้านลบ. ขยายตัว 8.76% จากปี 60
นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คาดว่ามูลค่า e-Commerce ในปี 61 คิดเป็น 3,058,987.04 ล้านบาท ขยายตัว 8.76% จากปี 60 ที่มีมูลค่า e-Commerce ทั้งสิ้น 2,812,592.03 ล้านบาท
สำหรับ มูลค่า E-Commerce ในปี 60 ส่วนใหญ่เป็นมูลค่าประเภท B2B ประมาณ 1,675,182.23 ล้านบาท หรือคิดเป็น 59.56% รองลงมา เป็นมูลค่าประเภท B2C จำนวนมากกว่า 812,612.68 ล้านบาท หรือ 28.89% และส่วนที่เหลือราว 324,797.12 ล้านบาท หรือ 11.55% เป็นมูลค่าตามธุรกิจประเภท B2G ซึ่งเมื่อเทียบมูลค่าอีคอมเมิร์ซของปี 2560 กับปี 2559 จะพบว่ามูลค่าของประเภท B2B มีการเติบโตขึ้น 8.63% เช่นเดียวกับประเภท B2C ที่โตขึ้น 15.54%
"แนวโน้ม e-Commerce ในปี 2561 จะเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะการซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่กำลังเติบโตคือ วิดีโอช็อปปิ้ง, การใช้บิ๊กดาต้าวิเคราะห์ผู้บริโภค และการซื้อขายสินค้าและทรัพย์สินทางปัญญาด้วยบล็อกเชน ซึ่งเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปเจาะตลาดต่างประเทศ หากมีการส่งเสริมการขายและเลือกสรรผู้ประกอบการที่ได้รับการยอมรับในตลาดต่างประเทศในเชิงยุทธศาสตร์
ขณะเดียวกัน พบว่า ห้างสรรพสินค้ามีการปรับตัวเพื่อขายออนไลน์มากขึ้น รองลงมาคือ อาหาร อาหารแปรรูป เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ทำให้ e-Commerce ในภาคค้าปลีกมีแนวโน้มการเติบโต นอกจากนี้การเติบโตของดิจิทัลคอนเทนท์ อาทิ การซื้อสติ๊กเกอร์ไลน์ การดาวน์โหลดเพลง ดูหนัง ซื้อไอเทมเกมออนไลน์ ทำให้เกิดการซื้อออนไลน์เพิ่มขึ้นโดยผู้บริโภคไม่รู้สึกตัว
ขณะที่ในส่วนของการแบ่งมูลค่า e-Commerce ตามประเภทอุตสาหกรรมทั้ง 8 กลุ่ม พบว่าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงที่สุด ได้แก่ อันดับที่ 1 อุตสาหกรรมการค้าปลีกและการค้าส่ง มีมูลค่า 869,618.40 ล้านบาท (30.92%) อันดับที่ 2 อุตสาหกรรมการให้บริการที่พัก มีมูลค่า 658,131.15 ล้านบาท (23.40%) อันดับที่ 3 อุตสาหกรรมการผลิต มีมูลค่า 417,207.07 ล้านบาท (14.83%) อันดับที่ 4 อุตสาหกรรมข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร มีมูลค่า 404,208.00 ล้านบาท (14.37%) อันดับที่ 5 อุตสาหกรรมการขนส่ง มีมูลค่า 104,904.28 ล้านบาท (3.73%) อันดับที่ 6 อุตสาหกรรมศิลปะความบันเทิงและนันทนาการ มีมูลค่า 19,716.04 ล้านบาท (0.70%) อันดับที่ 7 อุตสาหกรรมบริการอื่น ๆ มีมูลค่า 11,280.33 ล้านบาท (0.43%) และอันดับที่ 8 อุตสาหกรรมการประกันภัย มีมูลค่า 2,729.65 ล้านบาท (0.10%)
จากผลสำรวจมูลค่า e-Commerce ในไทยที่พบว่ามูลค่าสูงขึ้นทุกปี ETDA จึงเตรียมจัดตั้ง e-Commerce Park เพื่อพัฒนาบุคลากรที่จะเป็นแรงงานในตลาดอีคอมเมิร์ซต่อไปในอนาคต ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคธุรกิจ สำหรับการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการด้านธุรกิจ e-Commerce ในระดับประเทศอย่างครบวงจร นอกจากนี้ยังมีการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดตั้ง e-Commerce Park ระหว่าง ETDA กับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่จะร่วมมือกันส่งเสริมและสนับสนุนด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งดำเนินกิจกรรมในรูปแบบ e-Commerce Park อันจะเป็นเครื่องมือสนับสนุนและอำนวยความสะดวกต่อผู้ประกอบการ SMEs ผู้ผลิตสินค้า ผู้ให้บริการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรม e-Commerce ตลอดจนธุรกิจ SMEs ทั้งยังเป็นการสร้างแรงจูงใจในการรวมตัวกันของผู้ประกอบการในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างระบบนิเวศที่ดีอันจะช่วยยกระดับการแข่งขันให้มีมาตรฐานและทัดเทียมระดับสากล
อินโฟเควสท์
อีคอมเมิร์ซ แรงไม่หยุดมูลค่าแตะ 3 ล้านล้าน
ไทยโพสต์ : พารากอน * อี-คอมเมิร์ซโตไม่หยุด ปี 61 มูลค่าแตะ 3 ล้านล้านบาท แต่ยังกระจุกตัวที่ B2B ด้าน ETDA ฟันธงซื้อขายสินค้าออนไลน์มาแรง
นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์ การมหาชน) หรือ ETDA กระ ทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คาดว่ามูลค่าธุรกรรมพา ณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อี-คอมเมิร์ซ) ในปี 61 คิดเป็น 3,058,987.04 ล้านบาท ขยายตัว 8.76% จากปี 60 ที่มีมูลค่า e-Commerce ทั้งสิ้น 2,812,592.03 ล้านบาท
สำหรับ มูลค่า E-Com merce ในปี 60 ส่วนใหญ่เป็นมูลค่าประเภท B2B ประมาณ 1,675,182.23 ล้านบาท หรือคิดเป็น 59.56% รองลงมาเป็นมูลค่าประเภท B2C จำนวนมากกว่า 812,612.68 ล้านบาท หรือ 28.89% และส่วนที่เหลือราว 324,797.12 ล้านบาท หรือ 11.55% เป็นมูลค่าตามธุรกิจประเภท B2G ซึ่งเมื่อเทียบมูล ค่าอี-คอมเมิร์ซของปี 2560 กับปี 2559 จะพบว่ามูลค่าของประเภท B2B มีการเติบโตขึ้น 8.63% เช่นเดียวกับประเภท B2C ที่โตขึ้น 15.54%
"แนวโน้ม e-Commerce ในปี 2561 จะเติบโตต่อเนื่อง โดย เฉพาะการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ที่กำลังเติบโต คือ วิดีโอช็อปปิ้ง, การใช้บิ๊กดาต้าวิเคราะห์ผู้บริโภค และการซื้อขายสินค้าและทรัพย์สินทางปัญญาด้วยบล็อกเชน ซึ่งเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปเจาะ ตลาดต่างประเทศ หากมีการส่งเสริมการขายและเลือกสรรผู้ประกอบการที่ได้รับการยอมรับในตลาดต่างประเทศในเชิงยุทธ ศาสตร์"นางสุรางคณากล่าว
จากผลสำรวจมูลค่า e-Commerce ในไทยที่พบว่ามูลค่าสูงขึ้นทุกปี ETDA จึงเตรียมจัดตั้ง e-Commerce Park เพื่อพัฒนาบุคลากรที่จะเป็นแรงงานในตลาดอี-คอมเมิร์ซต่อไปในอนาคต.