WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DEพเชฐ ดรงคเวโรจนเอกชนแห่ร่วมทุนสถาบัน IoT DE มั่นใจสมาร์ทวีซ่าหนุนตปท.ตั้งกิจการสานต่อดิจิทัลพาร์ค

     ไทยโพสต์ : แจ้งวัฒนะ * กระทรวงดีอีปลื้ม'สถาบันไอโอที'ใกล้เป็นจริง ดีลเอกชนไอทีรายใหญ่สำเร็จ มั่นใจแรงหนุนจากสมาร์ทวีซ่าที่เริ่มตีตรา 1 ก.พ.นี้ ช่วยเปิดทางคนต่างชาติทำงานไทยใน 10 อุตสาหกรรมหลัก ช่วยสานต่อนโยบายรัฐหนุนไทยแลนด์ดิจิทัลพาร์ค-อีอีซี

      นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอี เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้ร่วมหารือกับบริษัทเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีไอโอที (IoT : Inter net of Things) ประมาณ 10 บริษัท อาทิ ไอบีเอ็ม, ไมโคร ซอฟต์, โนเกียโซลูชั่น เป็นต้น รวมถึงจะมีมหาวิทยาลัยไทยเข้าร่วมอีก 16 แห่ง เพื่อสร้างความร่วมมือกันในการจัดตั้งสถาบันไอโอที บนพื้นที่ของโครงการไทยแลนด์ดิจิทัลพาร์ค ที่จะตั้งอยู่ในเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี (EEC) โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพคน และยกระดับความรู้และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การร่วมกันสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

       โดยคาดว่าภายในเดือน ก.พ.2561 จะเปิดตัวพันธมิตรทั้ง หมดได้ ซึ่งตอนนี้การออกแบบตัวอาคารได้แล้วเสร็จ และจะมีการดำเนินการก่อสร้างต่อไปตามขั้นตอน ส่วนสิทธิประโยชน์ที่เอกชนและหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมนั้น ยังคงมีการพิจารณากันอย่างละเอียด เชื่อว่าจะมีข้อสรุปก่อนการเปิดตัวพันธมิตรแน่ นอน

     ทั้งนี้ การที่โครงการสมาร์ท วีซ่าได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐ มนตรี (ครม.) ในการประชุมครั้งที่ผ่านมานั้น ให้เริ่มได้ตั้งแต่ 1 ก.พ.2561 จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและการเข้ามาทำงานจากต่างชาติในไทยมากขึ้น เนื่องจากจะ ได้วีซ่าสูงสุดไม่เกิน 4 ปี ต่อ  1 ครั้ง สามารถทำงานในอุตสาห กรรมที่ได้รับการรับรองโดยไม่ต้องขออนุญาต ซึ่งมี 10 กลุ่ม อุตสาหกรรม ได้แก่ 1.ยานยนต์ สมัยใหม่ 2.อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3.การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4.การเกษตรและเทคโนโลยี ชีวภาพ 5.การแปรรูปอาหาร 6.หุ่นยนต์ 7.การบินและโลจิสติกส์ 8.เชื้อเพลิงชีวภาพ และเคมีชีว ภาพ 9.ดิจิทัล และ 10.การแพทย์ ครบวงจร

     อีกทั้ง จะได้รับการขยายระยะเวลาการรายงานตัวจาก 90 วัน เป็น 1 ปี เมื่อออกจากประเทศไทยแล้วกลับมาก็ไม่ต้องขอใบอนุญาตใหม่ รวมถึงคู่สมรสและบุตรสามารถทำงานที่ประเทศไทยได้ (ยกเว้นวีซ่ากลุ่มนักบริหารและสตาร์ทอัพ บุตรไม่สามารถทำงานได้)

       สำหรับ สมาร์ทวีซ่ามีทั้ง หมด 4 ประเภท คือ 1.สมาร์ทที (Talent) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เฉพาะด้าน 2.สมาร์ทไอ (In vestor) กลุ่มนักลงทุนที่ใช้เทคโน โลยีเป็นฐานและอยู่ในอุตสาห กรรมเป้าหมาย 3.สมาร์ทอี (Ex ecutive) กลุ่มผู้บริหารที่ทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 4.สมาร์ทเอส (Startup) ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

       "มั่นใจว่า สิทธิประโยชน์ที่รัฐสนับสนุนในสมาร์ทวีซ่า และที่จะได้รับเพิ่มเติมหากเข้ามาลงทุนในสถาบันไอโอที ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแรงจูงใจที่ช่วยให้นักลงทุนต่างชาติสนใจและตัดสินใจเข้าร่วม หากมีการลงทุนจากเอกชนรายใหญ่จำนวนมาก เกิดการขยายงานในภูมิภาค โอ กาสที่ไทยจะได้เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีไอโอทีของอา เซียนก็เป็นไปได้สูง"รัฐมนตรีดีอี กล่าว.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!