WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

11750 SpotlightInitiativeอียูไอแอลโอ - ยูเอ็น วูแมน ผนึกกำลัง

จัดแคมเปญส่องประกายคนรุ่นใหม่ หัวใจเท่าเทียม

หนุนคนรุ่นใหม่สร้างความเท่าเทียมทางเพศ-ขจัดความรุนแรงต่อแรงงานข้ามชาติหญิง

          อียูไอแอลโอ - ยูเอ็น วูแมน จัดแคมเปญส่องประกายคนรุ่นใหม่ หัวใจเท่าเทียมหวังกระตุ้นคนรุ่นใหม่เป็นแนวร่วมในการสร้างความเท่าเทียมทางเพศ และร่วมขจัดอคติและการใช้ความรุนแรงต่อแรงงานข้ามชาติหญิง โดยมี มธ. เป็นจุดเริ่มต้นของการรณรงค์เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อคนรุ่นใหม่

          นายแกรม บักเลย์ ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศประจำประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ เปิดเผยว่า จากการประมาณการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ปี 2561 พบแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีจำนวนกว่า 11.6 ล้านคน โดย 5.2 ล้านคนเป็นแรงงานหญิงซึ่งเข้ามาทำงานในภาคส่วนต่างๆ เช่น ลูกจ้างทำงานบ้าน อุตสาหกรรมบันเทิง อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ภาคก่อสร้างและอื่นๆ

 

11750 SpotlightInitiative2

 

          สำหรับประเทศไทย สถิติล่าสุดระบุว่ามีแรงงานข้ามชาติจำนวน 3.9 ล้านคน และส่วนใหญ่เดินทางมาจากประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ซึ่งช่วยเติมเต็มการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทย นอกจากนี้ สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่มาจากแรงงานข้ามชาติยังมีมากถึงร้อยละ 4.3 - 6.6

          ถึงแม้ว่าแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ จะเข้ามามีส่วนช่วยในการสร้างเศรษฐกิจและสังคม ทั้งประเทศต้นทางและประเทศปลายทาง แต่แรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะแรงงานหญิง ยังคงเผชิญกับปัญหาจากทัศนคติคนในสังคม จนเป็นเหตุให้ถูกกีดกัน ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านค่าจ้างแรงงานและสวัสดิการต่างๆ ถูกเลือกปฏิบัติ รวมถึงเกิดความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำต่อแรงงานหญิง

          ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาและขจัดการใช้ความรุนแรงต่อแรงงานข้ามชาติหญิง ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะ SDG 5 – ความเท่าเทียมทางเพศ SDG 8 – งานที่มีคุณค่า SDG – 10 การโยกย้ายอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ และ SDG 16.2 – การยุติการละเมิดการแสวงหาประโยชน์การค้ามนุษย์และความรุนแรงต่อเด็กทุกรูปแบบ จึงจำเป็นที่ทุกประเทศต้องมีการกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายแรงงานที่ปลอดภัยและเป็นธรรม รวมถึงการป้องกันความรุนแรงโดยผ่านการฝึกอบรมและการรณรงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างกลุ่มคนต่างๆ

          ซาร่าห์ นิบส์ รักษาการผู้อำนวยการ ยูเอ็น วูแมน สำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก และผู้แทนประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา พบว่าแรงงานข้ามชาติในหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยได้รับความเดือดร้อน ทั้งจากการถูกเลิกจ้างงานโดยไม่เป็นธรรม ปัญหาการขอรับบริการสุขภาพและสังคมที่ไม่เท่าเทียม เป็นต้น โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติหญิง ซึ่งต้องเผชิญความเสี่ยงและความเปราะบางสูง ด้วยสิ่งกดทับในสองมิติ ด้านหนึ่งคือ อำนาจที่ไม่เท่าเทียมระหว่างชายและหญิง และอำนาจที่ไม่เท่าเทียมระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และอีกด้านหนึ่งคือ การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ซึ่งแสดงออกผ่านการกระทำที่เลือกปฏิบัติ เช่นการกีดกันการเข้าถึงบริการหรือการคุ้มครองต่างๆ รวมถึงการคุ้มครองทางสังคม สอดคล้องกับผลการศึกษาของโครงการเซฟ แอนด์ แฟร์ (Safe and Fair) ร่วมกับองค์การยูนิเซฟ ที่ทำการสำรวจทัศนคติของเยาวชนไทยต่อแรงงานข้ามชาติ โดยพบข้อมูลที่น่าตกใจว่า ร้อยละ 30 ของเยาวชนที่ร่วมทำการสำรวจมีความคิดว่า แรงงานข้ามชาติที่ประสบความรุนแรง ไม่ควรได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ หากไม่มีสถานะการย้ายถิ่นที่ถูกต้อง

          ดังนั้น เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ อันจะมีส่วนช่วยยุติการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานหญิงข้ามชาติและยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง โครงการเซฟ แอนด์ แฟร์ จึงได้จัดแคมเปญ ส่องประกายคนรุ่นใหม่หัวใจเท่าเทียม : Spotlight on Generation Equality” ขึ้น โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การจัดบรรยายพิเศษเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ การจัดแคมป์อบรมสำหรับผู้นำเยาวชน และ การจัดเวทีสาธารณะ “Spotlight on Generation Equality” ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ที่มุ่งเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการขจัดความรุนแรงต่อแรงงานหญิงข้ามชาติ

          ด้าน รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า มธ. เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่มีนโยบายป้องกันและตอบสนองต่อความรุนแรงต่อผู้หญิง รวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศ และส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศอย่างจริงจัง โดยได้รับการสนับสนุนข้อแนะนำและเทคนิคจากยูเอ็น วูแมนระดับภูมิภาค และยังเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียที่ ยูเอ็น พิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเป็นทางการในการประกาศสัตยาบันเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ในปี 2562 ที่ผ่านมา

          ในปี 2563 มธ. ได้ขยายความร่วมมือกับโครงการ เซฟ แอนด์ แฟร์ ดำเนินโครงการ Spotlight Initiative ขยายผลเรื่องการยุติการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานหญิงข้ามชาติและยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง ผ่านกิจกรรมการอบรมหลักสูตร สปอตไลท์ เทรนนิ่ง แคมป์ ระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งนักศึกษาที่เข้ารับการอบรมนอกจากจะได้รับความรู้ความเข้าใจ และเกิดทัศนคติที่ดีต่อแรงงานข้ามชาติแล้ว ยังได้มีโอกาสทำงานร่วมกับแรงงานข้ามชาติหญิง ในการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อแรงงานข้ามชาติหญิงอีกด้วย

          มธ.มีความยินดีที่ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการรณรรงค์เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อคนรุ่นใหม่ และจะยังคงเดินหน้าทำงานร่วมกับยูเอ็น ในการผลักดันและสร้างความตระหนักเรื่องความเท่าเทียมทางเพศและยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงให้กับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ และในปีหน้า 2564 มธ. และยูเอ็น จะขยายความร่วมมือเพื่อผลักดันประเด็นความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศสภาพและการยุติความรุนแรงต่อแรงงานหญิงข้ามชาติมากขึ้นอธิการบดี มธ. กล่าว

 

******************************************

โครงการปลอดภัยและยุติธรรม (เซฟ แอนด์ แฟร์) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Spotlight Initiative ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรป (อียู) และสหประชาชาติ (ยูเอ็น) โดยมี ไอแอลโอ ร่วมกับองค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น วูแมน เป็นผู้ดำเนินการหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางการเข้าถึงบริการและข้อมูลความช่วยเหลือสำหรับแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติหญิงที่ประสบปัญหาความรุนแรง และการแสวงหาประโยชน์ในที่ทำงาน

 

A11750

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!