- Details
- Category: ศาสนา
- Published: Wednesday, 13 August 2014 11:01
- Hits: 5260
โครงการศูนย์การเรียนรู้ สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด) สงขลา ณ สวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม ประธานโครงการศูนย์การเรียนรู้สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด) จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นดินแดนของพระพุทธศาสนาทุกภาคของประเทศก็จะมีพระภิกษุ ที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณโด่งดัง ถ้าไม่ใช่ในทางวิทยาคม เป็นพระเกจิอาจารย์ชั้นสูง ก็จะเป็นพระภิกษุผู้มีสติปัญญาล้ำเลิศในทางธรรม และเมื่อพูดถึงภาคใต้พระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักตั้งแต่ในอดีตกาล มาจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้ออกนามท่านว่า หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี
แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังมีพระภิกษุผู้ทรงวิทยาคุณและมีสติปัญญาล้ำเลิศอีกรูปหนึ่ง อยู่ในช่วงสมัยใกล้เคียงหรือติดต่อกัน ออกนามเรียกโดยย่อว่า สมเด็จพะโคะ และเรียกในเอกสารหลายฉบับคือ สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ ตามความเชื่อของคนไทย ถือว่าทั้งสองรูปนี้ เป็นรูปเดียวกัน เรื่องเล่านี้เองที่สมควรจะนำขึ้นมาให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบ และประกาศเกียรติคุณยกย่องในแง่มุม หรือมิติที่หลายคนมองข้ามไป ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ร่วมกับประชาชนชาวจังหวัดสงขลา เล็งเห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์อันเป็นที่เคารพบูชาของคนไทยทั้งประเทศจึงดำริจะจัดสร้าง 'โครงการศูนย์การเรียนรู้สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด) จังหวัดสงขลา'ณ สวนประวัติศาสตร์ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
สำหรับ มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ตั้งขึ้นเพื่อจัดการดูแล สวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่จังหวัดสงขลา ต่อมาคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้องก็มีความเห็นว่าน่าจะได้มีการจัดกิจกรรม หรือจัดทำเรื่องต่างๆ ให้ชาวสงขลาได้มีโอกาสรับรู้เกียรติคุณของบุคคลสำคัญในอดีตที่เป็นแบบอย่างได้ และในที่สุดก็มีมติเอกฉันท์ว่าเรื่องราว สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ หรือ สมเด็จพระโคะแห่งวัดราชประดิษฐาน หรือวัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา นั้น เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ และถ้าหากว่าถือตามความเชื่อในปัจจุบันว่าท่านเป็นภาคแรก ชีวิตในช่วงเวลาแรก ก่อนที่จะมาเป็นหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดแห่งวัดช้างให้ จ.ปัตตานี ความสนใจยิ่งทวีขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงมีดำริที่จะจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดขึ้น ในบริเวณสวนประวัติศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์โครงการฯ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์ และเกียรติคุณหลวงพ่อทวด พระมหาเถระผู้มีชาติกำเนิดที่
เมืองสงขลา เมื่อ 400 ปีก่อน เป็นศูนย์ข้อมูลแสดงวัฒนธรรมและเส้นทางธรรมของคาบสมุทรสทิงพระ เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมของชุมชนเมืองแถบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิชาการที่สำคัญของจังหวัดสงขลา
กษณะของโครงการศูนย์การเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย หอประวัติของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด พระผู้กตัญญูต่อแผ่นดินเกิด ซึ่งจะแสดงลำดับความเป็นมาตั้งแต่กำเนิดของสมเด็จเจ้าพะโคะ ตั้งแต่ยังเป็นเด็กชายตัวน้อยๆ ชื่อเด็กชายปู จนกระทั้งได้รับการศึกเล่าเรียน บวชเป็นสามเณร อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ซึ่งในสมัยนั้นต้องถือว่าท่านรักดีรักเรียนเป็นอันมาก ถึงขนาดเดินทางเข้าไปศึกษาธรรมะ และบาลี ในพระนครศรีอยุธยา สามารถเข้าสอบแปลบาลีได้ และยังได้มีตำนานเล่าต่อไปว่าได้รับอาสาเข้าแปลปริศนาธรรม ที่พราหมณ์ ต่างชาติเข้ามาพนันจนกระทั่งได้ชัยชนะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ที่พระราชมุนี เป็นสมณศักดิ์และราชทินนามของพระราชาคณะที่ครองวัดภูเขาทองในพระนครศรีอยุธยา คำว่าสามีรามซึ่งเป็นสร้อยทินนามของท่าน เพื่อยกย่องให้เห็นว่าเป็นอาจารย์ที่มีคุณ มีความรู้อันยิ่งใหญ่ เรื่องทั้งหมดนี้จะได้รับการถ่ายถอดเป็นภาพวาด เป็นข้อเขียน รูปปั้น เป็นภาพยนตร์ ไว้ในศูนย์การเรียนรู้แหล่งนี้ ส่วนแสดงข้อมูลโบราณสถาน วัดที่สำคัญและเมืองโบราณในคาบสมุทรสทิงพระ ตามเอกสารแผนที่กัลปนาที่ดินให้วัด ในคาบสมุทรสทิงพระสมัยกรุงศรี อยุธยา ปัจจุบันเอกสารแผนที่กัลปนา จัดเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ และส่วนแสดงข้อมูลภาพวัฒนธรรมของชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ส่วนด้านหน้าของอาคาร ทางคณะกรรมการยังได้ดำริที่จะจัดสร้างรูปหล่อองค์สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด) หรือสมเด็จพะโคะ องค์ใหญ่ ขนาด 4.9 เมตร ตั้งอยู่บนอาคารส่วนหน้า และจัดทำเป็นพระเครื่อง พระบูชาองค์เล็ก เพื่อจะได้ให้ท่านที่มีจิตรศรัทธานำไปบูชาทั้งหมดนี้เป็นการกุศลสาธารณะที่สำคัญจะได้มีการชักชวนกันต่อไป โดยโครงการนี้สร้างบนเนื้อที่ประมาณ 9 ไร่ บริเวณสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งโครงการฯ นี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชนโบราณรอบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอันเป็นประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปในทุกๆ ด้าน