WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aSACICT25

SACICT ร่วมงาน 25 ปี ความสัมพันธ์อาเซี่ยน-อินเดีย : ASEAN-India Expo and Forum เชิดชูหัตถกรรมครูศิลป์แผ่นดิน ปี 2560 ร่วมสืบสานมรดกของชาติ

            ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT แสดงศักยภาพงานหัตถกรรมไทยในงาน ‘ครบรอบ 25 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย’: ASEAN-India Expo and Forum’ ภายใต้แนวคิด ‘SACICT Hall of Fame 2017’ จัดแสดงผลิตภัณฑ์หัตถกรรมอันทรงคุณค่าจากครูศิลป์ของแผ่นดินปี 2560 จำนวน 10 ท่าน นำเสนอแนวทางการสืบสานงานหัตถกรรมไทยในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ในกิจกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือ ASEAN-India หวังโชว์ผลงานหัตถกรรมไทยสู่สายตาประเทศสมาชิกอาเซียนและอินเดีย พร้อมส่งเสริมสนับสนุนงานหัตถกรรมไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ขยายผลสู่ความร่วมมือด้านอื่นๆ ต่อไป ระหว่างวันที่ 2-5 สิงหาคม 2560 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

        นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า”งานหัตถศิลป์ที่สร้างสรรค์จากการสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ความชำนาญในงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น นับเป็นหนึ่งในสมบัติของชาติ  ผู้สร้างสรรค์งานหัตถศิลป์อย่างทุ่มเทและมุ่งหวังสืบสานให้งานหัตถศิลป์ยังคงอยู่คู่คนไทยตราบนานเท่านาน จึงสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูในฐานะ ‘ครูศิลป์ของแผ่นดิน’มรดกทางวัฒนธรรมที่คนไทยภาคภูมิใจ SACICT ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนงานหัตถกรรมไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งในและต่างประเทศ และขยายผลสู่ความร่วมมือด้านอื่นๆ ระหว่างกัน จึงเข้าร่วมกิจกรรมอันอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือ ASEAN-India ดำเนินการจัดแสดงศักยภาพงานหัตถกรรมไทยในงาน’ครบรอบ 25 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย : ASEAN-India Expo and Forum’บนพื้นที่ขนาด 24 ตารางเมตร ภายใต้แนวคิด ‘SACICT Hall of Fame 2017’เพื่อจัดแสดงผลิตภัณฑ์หัตถกรรมอันทรงคุณค่าจากครูศิลป์ของแผ่นดินปี 2560 และนำเสนอแนวทางการสืบสานงานหัตถกรรมไทยในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ครูทุกท่านเป็นผู้สร้างสรรค์งานหัตถศิลป์อย่างทุ่มเทและมุ่งหวังสืบสานให้งานหัตถศิลป์ยังคงอยู่คู่คนไทยตราบนานเท่านาน”  

        นางอัมพวันกล่าวต่อไปถึง ครูศิลป์ของแผ่นดินประจำปี 2560 ว่า “ในปีนี้เราคัดเลือกมา 10 ท่าน จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย  ได้แก่ นายแวฮามิ วานิ งานหัตถกรรม ‘ว่าวเบอร์อามัส’ว่าวพื้นถิ่นจากชายแดนใต้ที่แสดงความเชื่อ ภูมิปัญญา ทักษะ ฝีมือและวัฒนธรรมของชาวมลายู นางจำปี ธรรมศิริ งานหัตถกรรมผ้าทอลาวครั่ง ความรู้และทักษะการทอผ้าที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ จากลายผ้าโบราณแบบลาวครั่งพร้อมคิดทอลายผ้าในลักษณะของ ‘สมองสั่งลาย หัวใจสั่งทอ’คงลายโบราณ และลายที่คิดประยุกต์ขึ้นใหม่ นางปราณีต วรวงสานนท์   งานหัตถกรรมผ้าทอไท-ยวน (สีคิ้ว) สะท้อนมรดกภูมิปัญญาที่สะท้อนถึงอัตตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตของชาวไทยวนตั้งแต่เกิดจนตาย ชาวไทยวนจะทอผ้าไว้ในในพิธีกรรมต่างๆ ตามประเพณี วัฒนธรรมและศรัทธาความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมา

      นางสมคิด หลาวทอง งานปักโบราณ (ชุดโขน-ละคร) แม่ครูผู้มีทักษะการปักชุดโขน/ละครแบบโบราณดั้งเดิมที่วิจิตรงดงามกับความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์รูปแบบงานของช่างปักแบบโบราณมิให้สูญหาย นายกุศล เรณุนันท์ ณ อยุธยา งานหัตถกรรมแทงใบลาน ในอดีตจะใช้ตกแต่ง เขียนชื่อผู้ตายลงไปในใบลาน ใช้ในพระราชพิธีศพ นิยมใช้ในสำนักพระราชวัง ปัจจุบันนำมาต่อยอด นำการแทงใบลานมาทำเป็นรูปภาพต่างๆ เพื่อรักษาให้การแทงใบลานยังคงอยู่ จ่าสิบเอก ดร.ทวี บูรณเขตต์ งานปั้น-หล่อพระพุทธรูป ผู้สร้างสรรค์งานหัตถศิลป์การปั้น-หล่อ’พระพุทธชินราช’ที่ใด้รับการยอมรับทั้งประเทศว่ามีความงดงามมาก หนึ่งในบุคคลผู้สืบทอดงานหัตถกรรมเชิงพุทธศิลป์ด้วยการอุทิศตนเป็นผู้อนุรักษ์ถ่ายทอดเทคนิคภูมิปัญญาการหล่อปั้นพระพุทธรูปให้คงอยู่

        นายสูดิน ดอเลาะ งานหัตถกรรมกลองบานอ ปราชญ์ชาวบ้านแห่ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลที่มีฝีมือทักษะ เชี่ยวชาญในภูมิปัญญาการทำกลองบานอที่ใกล้จะสูญหาย กับบทการสืบสานการละเล่นและการทำกลองบานอ เพื่ออนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทยมุสลิมไม่ให้สูญหาย นางสุนา ศรีบุตรโคตร งานหัตถกรรมผ้าขิดไหม ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทออนุรักษ์ฟื้นฟูลายโบราณที่ใกล้จะสูญหาย รวมถึงความมุ่งมั่นในการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าขิดแก่คนในชุมชน และคนรุ่นใหม่เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อไป 

       นายใจคำ ตาปัญโญ หรือ ‘อุ้ยใจคำ’ งานหัตถกรรมของเล่นไม้ล้านนา(ของเล่นโบราณ) ประดิษฐ์เป็นของเล่น ได้รับการถ่ายทอดได้เรียนรู้จากคุณปู่ในการทำของเล่นพื้นบ้านที่ อุ้ยใจคำ ริเริ่มรื้อฟื้นการประดิษฐ์ของเล่นในท้องถิ่นล้านนาอย่างจริงจังเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น บ่างข่าง (ลูกข่าง) กังหันลมจักสานรูปสัตว์ นกหวีดจากไม้ไผ่ ออมสินจากกะลามะพร้าว และนายกริ้ม สินธุรัตน์ งานหัตถกรรมผ้าทอเกาะยอ มีทักษะฝีมือ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการทอผ้า และคิดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของเกาะยอตั้งโรงทอผ้าเป็นของตัวเอง สอนศิลปะการทอผ้าแก่ชาวบ้านและลูกหลาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2516 จนปัจจุบัน แม้วัยจะล่วงเลยมาถึง 93 ปีแล้ว อยู่ในงานทอผ้ามาถึง73 ปี  ยังคงทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากลุ่มทอผ้า อีกทั้ง ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไปอย่างไม่คิดจะหยุด

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!