WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aพอเพยง

เปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนวิถีโลก ด้วย 'แนวคิดของความพอเพียง' ของขวัญจากประเทศไทยแด่โลกที่ไม่ยั่งยืน

  ประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ระบบเศรษฐกิจของไทยจึงมีขนาดเล็ก จึงเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงสำหรับคนต่างประเทศว่า ไทยจะมีโมเดลที่สำคัญอย่างปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่นนี้เกิดขึ้นที่เมืองไทย  ประเทศไทยเป็นผู้นำของโลกในการนำเอาหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปใช้ในภาคส่วนต่าง ๆ ทั่วประเทศจนประสบความสำเร็จ มีผลเป็นรูปธรรม ทั้งในกรณีของการประยุกต์ใช้ในองค์กรต่าง ๆ เช่น เอสซีจี หรือการพัฒนาพื้นดินที่แห้งแล้งที่แทบไม่มีใครใช้ประโยชน์จากตรงนั้นให้กลับมาเป็นผืนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น ที่เขาหินซ้อน นี่เป็นสิ่งที่ทำให้ดิฉันรู้สึกประทับใจมาก ประเทศอื่น ๆ จะต้องเรียนรู้จากประเทศไทยศาสตราจารย์ ดร.แกลย์ ซี เอเวอรี่ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน ประเทศออสเตรเลีย และบรรณาธิการร่วมของหนังสือ แนวคิดของความพอเพียง: ของขวัญจากประเทศไทยแด่โลกที่ไม่ยั่งยืนกล่าว

    หนังสือ'แนวคิดของความพอเพียง: ของขวัญจากประเทศไทยแด่โลกที่ไม่ยั่งยืน (Sufficiency Thinking: Thailand's gift to an unsustainable world)'ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2559 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.แกลย์ ซี เอเวอรี่ และ ศาสตราจารย์ ดร. ฮาราลด์ เบิร์กสไตเนอร์ เป็นบรรณาธิการ และได้มีการเปิดตัวหนังสือเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมาในการประชุมนานาชาติ ครั้งที่ 11 เรื่อง ภาวะผู้นำที่ยั่งยืนโดยหนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับ 'ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง'ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเป็นแนวทางในการนำพาประเทศไทยให้ข้ามผ่านวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของทวีปเอเชียที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 และหลายภาคส่วนในสังคมไทยได้น้อมนำหลักปรัชญานี้ไปเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างแพร่หลาย ซึ่งภายในหนังสือประกอบด้วยมุมมองจากนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญชาวไทยจำนวน 20 ท่านเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้แนวคิดของความพอเพียงเพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และองค์กรขนาดต่าง ๆ

    ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานกรรมการมูลนิธิมั่นพัฒนา กล่าวในงานเปิดตัวหนังสือ แนวคิดของความพอเพียง" ว่า หนังสือ 'แนวคิดของความพอเพียง'สะท้อนถึงประสิทธิภาพในเชิงวิทยาศาสตร์ของหลักแนวคิดของความพอเพียง โดยได้มีการรวบรวมกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่พิสูจน์ความสำเร็จของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในทุกภาคส่วน ทั้งในระดับบุคคล ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ อาทิ ภาคธุรกิจ การศึกษา สาธารณสุข และการเกษตร เป็นต้น ซึ่งการตีพิมพ์หนังสือออกจำหน่ายในขณะนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม หลังจากที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศถึงเจตจำนงระดับสากลในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมายตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2558 หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการแสดงความมุ่งมั่นของเราที่ต้องการแบ่งปันองค์ความรู้นี้สู่โลกภายนอก เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

     ศาสตราจารย์ ดร.แกลย์ ซี เอเวอรี่  กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหนังสือ 'แนวคิดของความพอเพียง' ว่า ได้มีโอกาสเข้าฟังการนำเสนอผลงานของนักวิจัยไทยที่ได้พูดถึงการนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้กับภาคการศึกษาของไทย รวมถึงธุรกิจในไทยจำนวนมาก และประสบความสำเร็จ รู้สึกประทับใจกับงานวิจัยชุดนั้นและเห็นว่า ควรนำเสนองานวิจัยดังกล่าวให้สังคมโลกได้รับรู้ จึงเป็นเรื่องที่ดีและน่าภาคภูมิใจมากที่เราทั้งสอง (ศ. ดร.แกลย์ ซี เอเวอรี และ ศ.ดร. ฮาราลด์ เบิร์กสไตเนอร์) ได้เป็นบรรณาธิการของหนังสือเล่มนี้ เพราะเราอยากให้ประเทศอื่น ๆ ได้เรียนรู้จากประเทศไทยที่เป็นต้นแบบของความสำเร็จตามแบบอย่างการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่โลก และหากเราใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงต่อไปในอนาคต สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนคือความสมดุลในทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และที่สำคัญที่สุดที่อาจยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงคือวัฒนธรรมดั้งเดิม นำไปสู่ความสมดุลที่ยั่งยืน

   ดร. ปรียานุช ธรรมปิยา กรรมการมูลนิธิมั่นพัฒนา และหนึ่งในผู้วิจัยในหนังสือ 'แนวคิดของความพอเพียง'กล่าวว่า แนวคิดของความพอเพียง เกิดจากการผสมผสานระหว่างคุณธรรมและปัญญา เพื่อให้บุคคล องค์กร และสังคมเกิดการเปลี่ยนแนวคิดแบบใหม่ ให้มีตัดสินใจที่ชาญฉลาด มีเหตุมีผล และเกิดการกระทำที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี คือ การมีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง มีภูมิคุ้มกันในการฟันฝ่าอุปสรรค มีความสามารถในการเผชิญปัญหาและการปรับตัวตามสถานการณ์ และเหนือสิ่งอื่นใด คือ การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ในหนังสือ แนวคิดของความพอเพียงได้รวบรวมผลงานเชิงประจักษ์ว่าแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้ได้ผลจริง ก่อให้เกิดการพัฒนาและความสำเร็จที่ยั่งยืนในแต่ละภาคส่วน

     อาทิ เกษตรกรรม ธุรกิจทั้งเล็กและใหญ่ ทัณฑสถาน การพัฒนาชุมชน การจัดการทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และที่สำคัญคือการศึกษา เพราะการศึกษาคือการสร้างคนขึ้นมา คืออนาคตของชาติ เราดำเนินการส่วนนี้ผ่านการจัดตั้งมูลนิธิยุวสถิรคุณ เพื่อพัฒนาโรงเรียนทั่วประเทศให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง ผลจากการวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับการบ่มเพาะด้วยแนวคิดของความพอเพียงจะมีจิตสาธารณะ มีวินัย มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีแนวคิดอยู่อย่างพอเพียง คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ทำให้เป็นคนที่ไม่เพียงแต่เก่งวิชาการ แต่ยังมีความสุขและมีภูมิคุ้มกันที่ดีด้วย

     รศ.ดร.สุขสรรค์ กันตะบุตร กรรมการสถาบันมั่นพัฒนา และหนึ่งในผู้วิจัยในหนังสือ แนวคิดของความพอเพียงกล่าวว่า หลายคนอาจสงสัยว่า หลักเศรษฐกิจพอเพียงสามารถใช้ได้กับภาคธุรกิจจริงหรือ จะไม่ทำให้ธุรกิจย่ำอยู่กับที่และไม่เติบโตหรือเปล่า จากการที่เราได้ทำงานวิจัยมาตั้งแต่ปี 2546 ได้พบคำตอบพร้อมผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนแล้วว่า หลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมให้ธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็ก เช่น บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด ในจังหวัดเชียงใหม่ หรือธุรกิจขนาดใหญ่ อาทิ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งยังอยู่ในกลุ่มดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ สามารถสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน สร้างผลกำไรที่เป็นธรรม และมีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ บทสรุปของงานวิจัยตั้งแต่ปี 2546 ถึงปัจจุบัน พิสูจน์ให้เห็นว่า องค์กรที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยล้วนปฏิบัติตามหลักการภาวะผู้นำอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด คนที่ควรอ่านหนังสือเล่มนี้ คือ คนที่มีความคลางแคลงสงสัยว่า เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ได้จริงหรือไม่ และหากจะนำไปใช้ จะต้องทำอย่างไร

     นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารสนเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจัดทำเป็นหนังสือเรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นภาษาอังกฤษ โดยได้รวบรวมข้อมูลของผลที่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาฯ ในทุกสาขา ไม่เฉพาะในภาคเกษตรกรรม ซึ่งในขณะนี้ถ้าเราติดตามข่าว นานาประเทศในโลกนี้ก็กำลังเผชิญสิ่งท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขจัดความยากจน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โรคระบาด ภัยพิบัติ สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายที่นานาประเทศกำลังจะต้องก้าวผ่านไปให้ได้ หนังสือเล่มนี้จะให้ข้อมูลที่ชัดเจนถึงการนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ และจะช่วยตอบโจทย์เรื่องวิธีการแก้ไข

     โดยเฉพาะประเทศในตะวันตกที่กำลังเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพราะหนังสือเล่มนี้รวบรวมตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมจากการบริหารจัดการขององค์กรต่าง ๆ ทั้งบริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติที่มีการลงทุนในประเทศไทย นี่น่าจะเป็นแนวทางให้บริษัทในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศตะวันตกสามารถประยุกต์ใช้ว่าจะบริหารจัดการธุรกิจของตนอย่างไรให้มีความยั่งยืน อย่างไร หนังสือแนวคิดของความพอเพียงจึงเป็นหนังสือที่จะสร้างความสนใจจากทุกภาคส่วน และเป็นที่น่าภาคภูมิใจว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

  “สิ่งที่สำคัญที่สุดนอกเหนือจากหลักในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทั้ง 4 มิติที่หนังสือแนวคิดของความพอเพียงได้มอบให้กับผู้อ่านแล้ว ของขวัญที่หนังสือเล่มนี้ตั้งใจมอบให้คนทั่วโลกก็คือ 'วิธีคิดและวิธีการ' เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเราต้องกล้า เปลี่ยนวิธีคิดของเรา ทำอะไรต้องไม่มากไป ไม่น้อยไป ไม่เร็วไป ไม่ช้าไป ต้องมีเหตุมีผลอยู่บนหลักวิชาการ มีความไม่ประมาท สุดท้ายแล้วความรู้และคุณธรรมจะกลายเป็นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนดร. ปรียานุช ธรรมปิยา กล่าวสรุป

     หนังสือ "แนวคิดของความพอเพียง: ของขวัญจากประเทศไทยแด่โลกที่ไม่ยั่งยืน (Sufficiency Thinking: Thailand's gift to an unsustainable world)” มีจำหน่ายแล้วตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป และสามารถสั่งซื้อทางออนไลน์ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม www.instituteforsustainableleadership.com

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!