- Details
- Category: ศิลปวัฒนธรรม
- Published: Friday, 18 March 2016 18:57
- Hits: 9162
SACICT เปิดตัว 7 เส้นทางสายผ้าทอ ต่อยอดภูมิปัญญาหัตถศิลป์ สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน) หน่วยงานในกำกับกระทรวงพาณิชย์ ขานรับนโยบายรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจจากฐานราก จัดโครงการ ‘Craft Destination-เส้นทางสายผ้าทอ’มุ่งฟื้นฟูองค์ความรู้และเผยแพร่คุณค่าแห่งภูมิปัญญาช่างทอผ้าและอัตลักษณ์อันงดงามของผ้าทอท้องถิ่นให้สาธารณชนได้รับรู้และร่วมสนับสนุนผ้าทอไทย ต่อยอดสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชนสู่ความยั่งยืน
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า “สืบเนื่องจากนโยบายประชารัฐของรัฐบาล โดยท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ให้ภาครัฐ เอกชน และชุมชนได้ร่วมกันสร้างความเข้มแข็งจากภายในของชุมชนเอง อันจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มั่นคงสู่ความยั่งยืน ซึ่งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT เป็นหน่วยงานหลักในการสืบสานความเป็นไทยสู่สากลผ่านงานศิลปหัตถกรรม เพื่ออนุรักษ์คุณค่าแห่งศิลปาชีพ และต่อยอดมูลค่าเชิงพาณิชย์นั้น เล็งเห็นว่า ผ้าทอท้องถิ่นของไทยนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นผลงานสะท้อนภูมิปัญญาที่สั่งสมสืบเนื่องมาหลายชั่วอายุ โดยผ้าทอแต่ละท้องถิ่น แต่ละผืนจะสามารถสะท้อนถึง ประเพณี ความเชื่อ ชาติพันธุ์ และวิถีชีวิตของคนในชุมชน เฉกเช่นผ้าทอมือจากการสร้างสรรค์ของศิลปินชุมชนที่เป็นครูศิลป์แห่งแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทรงฝีมือที่ต้องใช้ความอุตสาหะ และความประณีตอย่างยิ่งในการรังสรรค์ผ้าทอมือแต่ละผืนให้บรรจบงดงาม ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน
ด้วยความปราณีตและใจรักษ์จนเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก จึงเปิดโครงการ 'Craft Destination - เส้นทางสายผ้าทอ” ขึ้นตามความมุ่งมั่นในการเปิดประตูสู่องค์ความรู้แห่งหัตถศิลป์ไทยเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน สนับสนุนผ้าทอไทยและองค์ระบบโดยรวม อันนับเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีขีดความสามารถสร้างรายได้ในระดับสูงให้แก่ชุมชนด้วยคุณค่าทาง อัตลักษณ์ที่งดงาม รวมถึงการสร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ชาวชุมชนแล้วยังเป็นจุดขายในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี”
ในการจัดงานแถลงข่าวครั้งนี้ ได้เปิดตัว ‘เส้นทางสายผ้าทอ’ ที่ SACICT ได้คัดเลือกชุมชนหัตถกรรมผ้าทอที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย รวม ๒๙ จังหวัด แบ่งเป็น 4 สายหลัก 3 ตอน รวม 7 เส้นทางได้แก่ อีศานกาญจนา เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน ขอนแก่น กาฬสินธ์ สกลนคร นครพนม เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี มุกดาอุดร เส้นทางภาคเหนือ ตอนบน แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน เส้นทางภาคเหนือ ตอนล่าง สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน ทักษิณนิลนที เส้นทางภาคใต้ ตอนบน สุราษฎ์รธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรังเส้นทางภาคใต้ ตอนล่าง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส มณีมณฑล เส้นทางภาคกลาง อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี โดยมีการนำผลงานของครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม มาจัดแสดงภายใต้แนวคิด ‘เพชรแผ่นดิน สินชุมชน’ ผ่านการนำเสนอ “เชิดผ้า” และการจัดนิทรรศการองค์ความรู้ผ้าไทย โดยหวังส่งต่อมรดกทางภูมิปัญญาแห่งงานผ้าทอและผู้สร้างสรรค์นั้นเปรียบประดุจเพชรอันล้ำค่าของแผ่นดิน และยังก่อเกื้อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างมหาศาล
นอกจากการได้ร่วมสัมผัสความงดงามมากคุณค่าของผ้าทอแล้ว SACICT ยังได้จัดกิจกรรมในพื้นที่แต่ละเส้นทางสายผ้าทอ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเส้นทางสายหัตถกรรม (Craft Destination) อาทิ
1.'เปิดบ้านครู เรียนรู้ภูมิปัญญา'ผ่านกิจกรรม “สาวเส้นไหม สืบสายใยพระราชปณิธาน” ระหว่างวันที่ 8-9 เมษายน 2559 ณ จ. อุบลราชธานี และ จ. สุรินทร์ - การนำคณะทูตานุทูตและภริยากว่า 50 ท่านร่วมสัมผัสความงดงามแห่งผืนผ้าทอแห่งอีสานใต้ ได้แก่ ผ้ากาบบัว และ ผ้าไหมยกทอง
2. “เรียนรู้คุณค่า ภูมิปัญญาชาติพันธุ์” ผ่านกิจกรรม “การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์หัตถกรรม”
ประสานความร่วมมือกับพันธมิตรในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ชาติพันธุ์โดยมีพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่ บ้านโคกหม้อ และ บ้านนาตาโพ จ.อุทัยธานี และ จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว จ. ราชบุรี
3. 'ส่งเสริมคุณค่า พัฒนาชุมชนหัตถกรรม' จำนวน 9 ชุมชน
โดยการพัฒนา ช่าง ผลิตภัณฑ์ และสถานที่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และเชื่อมโยงเป็นแหล่งท่องเที่ยวงานหัตถกรรม
4. 'สัมผัสภูมิปัญญา เสริมคุณด้านวัตศิลป์: Touch of Wisdom'
ผลักดันให้แหล่งผลิตงานหัตถกรรมเป็นเส้นทางสายผ้าทอ Craft Destination ที่มีความยั่งยืนในทุกมิติทางการตลาดทั้งด้าน Product หรือผลิตภัณฑ์หัตถกรรม People หรือผู้ผลิตงานหัตถกรรม และ Place หรือการเป็นแหล่งผลิต โดย SACICT ได้แสวงหาพันธมิตรทั้งภาครัฐ และเอกชนในการเสริมสร้างศักยภาพ อาทิ การร่วมมือกับนักออกแบบชาวไทยที่ไปเติบโตในต่างประเทศ และการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาที่เป็นแกนสำคัญในภูมิภาค
“เราทุกคนจึงควรอนุรักษ์และสนับสนุนงานผ้าทอท้องถิ่นเพื่อคงไว้ซึ่งมรดกแห่งหัตถศิลป์ไทยที่งดงามพร้อมทั้งสร้างรายได้ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีแก่ชุมชน จากทรัพย์สินทางความคิดของชุมชนแต่ละถิ่น อันเป็นส่วนหนึ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนทั้งยังดำรงไว้ซึ่งเอกอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่ล้ำค่าของชาติให้วิวัฒนาสืบไป” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว
ภาคภูมิใจแห่งมรดกทางวัฒนธรรม ในฐานะ 'เพชรแผ่นดิน สินชุมชน'และขอขอบคุณสื่อมวลชนทุกท่านที่จะร่วมกันนำเสนอ เผยแพร่ “เส้นทางสายผ้าทอ” ให้เป็นรู้จักแก่ประชาชนโดยทั่วกัน อันจะนำไปสู่การเรียนรู้คุณค่า ร่วมสนับสนุนภูมิปัญญาครูช่าง และร่วมสืบสานหัตถศิลป์ไทย และขยายผลไปสู่เส้นทางสายหัตถกรรม (Craft Destination) ต่อไป
ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวคิดโครงการประชารัฐ ผ่านการจัดกิจกรรมเส้นทางสายผ้าทอนี้ จะก่อให้เกิดพลังความร่วมมือของทุกภาคส่วนอย่างแข็งขันในการสร้างความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” แก่ชุมชนและประชาชนสืบไป