- Details
- Category: ศิลปวัฒนธรรม
- Published: Sunday, 31 March 2024 22:49
- Hits: 5294
เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการสร้างการรับรู้ และเผยแพร่พระอัจฉริยภาพทางด้านการอนุรักษ์และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาการทอผ้าของไทยฯ จ.เชียงใหม่
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการสร้างการรับรู้ และเผยแพร่พระอัจฉริยภาพทางด้านการอนุรักษ์และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาการทอผ้าของไทย” ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยได้รับเกียรติจาก นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง เข้าร่วมพิธีเปิด โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวรายงานต้อนรับ และหัวหน้าส่วนงานราชการจังหวัดเชียงใหม่ และหัวหน้าส่วนงานราชการจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมพิธีเปิด ณ ห้องประชุมเจนีวา ชั้น 2 โรงแรมเมอร์เคียว อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะในการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ยั่งยืน ด้วยพระอัจฉริยภาพพระองค์ทรงต่อยอดผสมผสานด้านแฟชั่นที่ร่วมสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งการสืบสานอัตลักษณ์ เรื่องราวประจำภูมิภาค ทรงมีแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือความสุข ที่ได้เลือกใช้ศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้กลับสู่ชุมชน ส่งเสริมและกระตุ้นผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศทุกวัยและทุกโอกาส พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระกรณียกิจ และเยี่ยมราษฎร 4 ภูมิภาค
โดยได้มีการบรรยายในหัวข้อ “พระอัจฉริยภาพด้านการอนุรักษ์และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาการทอผ้าของไทย” โดย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.ศรินดา จามรมาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตถกรรมสู่ตลาดสากล และที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก
นายศิริชัย ทหรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตถกรรมสู่ตลาดสากล ผู้ก่อตั้งและนักออกแบบแบรนด์ THEATRE อาจารย์ ดร.กรกลด คำสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ้า และงานหัตถกรรมตามเทรนด์แฟชั่นที่ร่วมสมัย โดยกิจกรรมในครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าไทยในภูมิภาคต่างๆ ให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากภูมิปัญญาการทอผ้าของไทย และงานหัตถกรรมไทยตามเทรนด์แฟชั่นที่ร่วมสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งการสืบสานอัตลักษณ์ ส่งเสริมและกระตุ้น ผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล
31116