WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

4296 CEA CCI GrandMasterCEA จับมือ CCI เปิดโครงการ Grand Master เฟ้นหาและยกระดับช่างฝีมือไทยสู่ความเป็นเลิศ

พร้อมชิงเงินรางวัลกว่า 200,000 บาท สมัครฟรี! วันนี้ถึง 30 มิถุนายนนี้

          สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หรือ CCI เปิดตัว โครงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตงานฝีมือและงานหัตถกรรมสู่ความเป็นเลิศ (Grand Master) 

          สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หรือ CCI เปิดตัว โครงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการ กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตงานฝีมือและงานหัตถกรรมสู่ความเป็นเลิศ (Grand Master) อย่างเป็นทางการ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมงานฝีมือและหัตถกรรม ในสาขาอาชีพเครื่องถมประเภทเครื่องใช้ และสาขาอาชีพผ้าทอเทคนิคมัดหมี่ รวมถึงส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจแก่ช่างฝีมือไทย พร้อมเป็นเสมือนสื่อกลางที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการแลกเปลี่ยนทัศนะ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ผ่านกระบวนการอบรม ฝึกทักษะเชิงปฏิบัติการ และการประเมินวัดระดับมาตรฐานฝีมือ โดยเปิดรับสมัครผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้สนใจทั่วไป และนักเรียนนักศึกษา ร่วมกิจกรรมบ่มเพาะความรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาและต่อยอดอาชีพในรูปแบบ e-Learning โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 

 

4296 CEA CCI2

 

          นายอินทพันธ์ บัวเขียว รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า “CEA เป็นหน่วยงานภาครัฐฯ ที่มีภารกิจหน้าที่รับผิดชอบสำคัญด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งงานฝีมือและหัตถกรรมนับเป็นหนึ่งในจำนวน 15 รายสาขาที่ CEA ให้การส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการพัฒนา รวมถึง การสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรยากาศที่เหมาะสมของนิเวศอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่อการพัฒนาธุรกิจ ให้เกิดเป็นกลไกในการยกระดับและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ โดยการดำเนินโครงการ Grand Master ถือได้ว่าเป็นงานที่สอดคล้องกับภารกิจหลักของ CEA ซึ่งมุ่งยกระดับศักยภาพ ทักษะมาตรฐานฝีมือ และส่งเสริมบุคลากรในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

          ทั้งนี้ โครงการ Grand Master ได้เน้นความสำคัญของการสร้างความตระหนักรู้ และเข้าใจในศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาอาชีพงานฝีมือและหัตถกรรม กลุ่มผ้าทอเทคนิคมัดหมี่ และกลุ่มเครื่องถมประเภทเครื่องใช้ ให้ครอบคลุมความเชี่ยวชาญ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น ระดับเชี่ยวชาญ และระดับชั้นครู หรือ Grand Master เพื่อสร้างความโดดเด่นและมูลค่าเพิ่มแก่บุคลากรในกลุ่มงานสร้างสรรค์ ให้เป็นที่เชื่อถือ และยอมรับในระดับสากล พร้อมกันนี้ ได้มุ่งสร้าง และพัฒนาแนวทางการเรียนรู้ ผ่านเครื่องมือและกระบวนการในการถ่ายทอดทักษะและองค์ความรู้ตามมาตรฐานแนวทางการพัฒนาทักษะฝีมืออย่างเป็นระบบ และมีขั้นตอนที่เหมาะสม ในรูปแบบ e-Learning เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในความสำคัญและคุณค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน

          ผลสำเร็จของโครงการฯ ที่ CEA และ CCI คาดหวัง คือ การสร้างแนวทาง และมาตรฐานเพื่อยกระดับมาตรฐานองค์ความรู้และสมรรถนะฝีมือของบุคลากรในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติการ และการประเมินทดสอบวัดระดับฝีมือสู่ความเป็นเลิศ พร้อมสร้างการรับรู้ให้ประชาชนและสังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าของบุคลากรในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลุ่มงานฝีมือและหัตถกรรม อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในโครงการฯ นี้ เราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้ง สถานประกอบการ สมาคม สมาพันธ์ สถาบันการศึกษา และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ที่ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ เสนอแนะความเห็น รวมทั้งถ่ายทอดความเชี่ยวชาญชำนาญการในทักษะสาขาอาชีพเพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ และกระบวนการประเมินผลทดสอบมาตรฐานฝีมืออย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขจีพร วงศ์ปรีดี คณบดีวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า “CCI ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำ ที่เปรียบเสมือนหน่วยผลิต ผลิตบุคลากร ที่มีคุณภาพรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ทำหน้าที่เสริมสร้างความมั่นคงให้รากฐานอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มีความเข้มแข็ง ทั้งการบ่มเพาะและพัฒนาทักษะ เสริมประสบการณ์ให้บุคลากรในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ให้มีประสิทธิภาพ เป็นฟันเฟืองสำคัญที่สร้างให้เกิดการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจฃองประเทศได้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน CCI ก็มุ่งสร้าง และพัฒนา เครื่องมือหรือช่องทางในการเผยแพร่องค์ความรู้ เพื่อสร้างโอกาสให้บุคลากรที่มีความตั้งใจ ได้ร่วมกิจกรรม ฝึกฝนทักษะ เพิ่มประสบการณ์และยกระดับฝีมือ เพื่อสร้างศักยภาพความเป็นมืออาชีพในงานฝีมือและหัตถกรรม นอกจากนี้ ยังใช้ศักยภาพที่มีในการเชื่อมโยงโอกาสให้บุคลากรในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้ร่วมแสดงศักยภาพการผลิตผลงานที่มีคุณภาพและมาตรฐานระดับโลกผ่านการบูรณาการองค์ความรู้อย่างสมบูรณ์ ตลอดจนการร่วมเวิร์คชอปกับผู้เชี่ยวชาญระดับชั้นครู

 

4296 CEA CCI3

 

          โดยในโครงการ Grand Master ทาง CCI ได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษา รวบรวมข้อมูล และสังเกตสถานการณ์ปัจจุบันของกลุ่มอุตสาหกรรมงานฝีมือและหัตถกรรม และได้ทำการคัดเลือก 2 สาขาอาชีพที่สำคัญต่อท้องถิ่นมาเป็นแกนหลักในการยกระดับฝีมือผู้ประกอบการ ได้แก่ 1. สาขาอาชีพเครื่องถมประเภทเครื่องใช้ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ตามการออกแบบและระดับความวิจิตรของทักษะฝีมือ และ 2. สาขาอาชีพผ้าทอเทคนิคมัดหมี่ โดยทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากกว่า 20 ท่านทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย พร้อมทำความเข้าใจภาพรวมของความต้องการ ข้อจำกัด และแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการฯ เพื่อสร้างมาตรฐานอัตลักษณ์ด้านงานฝีมือและหัตถกรรม ผสมผสานความแตกต่างของเทคโนโลยีและความสร้างสรรค์ ยกระดับคุณภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการให้มีความเป็นมืออาชีพ ได้มาตรฐานระดับสากล เป็นที่เชื่อถือและเป็นที่ยอมรับระดับโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลอย่างตรงจุด

          สำหรับผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป และนักศึกษา ที่ต้องการพัฒนาทักษะมาตรฐานอาชีพในกลุ่มอาชีพงานผลิตผ้าทอเทคนิคมัดหมี่ และอาชีพผลิตเครื่องถมประเภทเครื่องใช้ สามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ Grand Master ได้ เพียงส่งประวัติ รายละเอียดผลงาน หรือ Portfolio ของท่านให้คณะทำงานฯ พิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ อบรม และทดสอบวัดระดับมาตรฐานอาชีพ ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ทั้งออนไลน์ และการทดสอบระดับมาตรฐานฝีมือจริง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2564 นี้ ทาง https://forms.gle/CG44m92oMEup5mKA8

          ทั้งนี้ ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม และผ่านการทดสอบวัดระดับมาตรฐานตามข้อกำหนดของโครงการฯ จะได้รับประกาศนียบัตร รวมทั้ง ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละสาขาอาชีพ จะได้รับเงินรางวัล รวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่มีแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย ยังได้รับสิทธิเข้าร่วมนำเสนอสินค้าและจัดแสดงผลงานเผยแพร่ในนิทรรศการ ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม 2564 อีกด้วย

          สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามความคืบหน้าของโครงการฯ ได้ทางเว็บไซต์ของ CEA ที่ www.cea.or.th คลิกหัวข้อข่าวประชาสัมพันธ์ หรือเว็บไซต์ของวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หรือ CCI ที่ https://cci.swu.ac.th โทร. 092-851-5445, 082-429-8229 หรืออีเมล [email protected]

 

A4296

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!