WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

01 CFABa

'พม.-กรมกิจการสตรีฯ'หวังวงหารืออาเซียนรอบนี้ ตกผลึกแก้เหลื่อมล้ำทางเพศ-จัดทำคู่มือปูพื้นเด็กใหม่

       'พม.-กรมกิจการสตรีและครอบครัว' มุ่งหวังการถกปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศอาเซียรอบนี้ 'ค้นพบต้นตอปัญหา-สรุปผลแนวทางแก้’ เพื่อเขียน Best Practice ทำเป็นคู่มือให้ทุกประเทศนำไปใช้ ช่วยขจัดปัญหาอย่างยั่งยืน และก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกประเทศ

       รศ.ดร.จุรี วิทจิตรวาทการ ประธานจัดการประชุมเชิงปฎิบัติการ ASEAN Woman และประธานศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม เปิดเผยว่า สำหรับประเทศในอาเซียนแล้ว ล้วนมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศหญิงและชายเหมือนกัน เพียงแต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำนั้น บางประเทศระดับของปัญหาจะมีมาก และบางประเทศระดับของปัญหาก็จะมีน้อย แตกต่างกัน

      ดังนั้น การงานประชุมเชิงปฎิบัติการ ASEAN Woman ในวันที่ 3-4 ตุลาคม 2562 นั้น ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกรมที่รับผิดชอบคือ กรมกิจการสตรีและครอบครัว ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องและหาทุนมาสนับสนุน อีกทั้งทางกรมยังเป็นสมาชิกของอาเซียน ผู้หญิงอาเซียน และสตรีอาเซียน จึงมีความร่วมมือกันในการจัดงานครั้งนี้ เนื่องจากปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน

ค้นหาต้นต่อของสาเหตุความเ หลื่อมล้ำ

      ส่วนประเด็นในการประชุมครั้งนี้ รศ.ดร.จุรี ระบุว่า เป็นการร่วมหารือเพื่อพยายามค้นหาสาเหตุของความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นจากตรงส่วนไหน เพราะถ้าดูอย่างผิวเผินแล้วจะมองไม่มีถึงปัญหา แต่ถ้าเจาะลึกลงไปอีก จะพบความจริงว่ามีปัญหา แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ

     ตัวอย่างเช่น ตำแหน่งผู้บริหาร ทั้งในภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐ ฝ่ายการเมืองของทุกๆ ประเทศ มักพบว่าผู้หญิงก็จะมีส่วนร่วมในตำแหน่งดังกล่าวน้อยมาก โดยเฉพาะตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง แต่ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นผู้บริหารระดับกลางมากกว่าในหลายๆ ประเทศ

      “ในประเทศไทย ผู้หญิงที่เป็นผู้บริหารระดับกลางมีจำนวนมาก แต่ถ้าเป็นผู้บริหารระดับสูงจะมีจำนวนน้อยมากจากผลการวิจัย” รศ.ดร.จุรี กล่าว

       รศ.ดร.จุรี กล่าวต่อว่า หากมองเรื่องค่าตอบแทนในหน้าที่การงานของผู้หญิง ก็จะได้ค่าตอบแทนน้อยกว่า แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา หรืออังกฤษ เป็นต้น โดยผู้หญิงจะได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้ชายในตำแหน่งที่คล้ายกัน ซึ่งประเด็นเหล่านี้ปัจจุบันก็ยังเกิดขึ้นอยู่

     นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำไม่ค่อยเสมอภาคกัน อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ผู้ชายมักเป็นใหญ่ โดยในเรื่องความสัมพันธ์ภายในครอบครัว แม้ผู้ชายอาจจะดูแลในเรื่องการเงินก็จริง แต่ผู้ชายอาจจะไม่ช่วยงานภาย ในบ้าน เช่น การดูแลลูก หรือการดูแลทุกข์สุขของคนในครอบครัว

 

แก้ไขปัญหาต่อเนื่องแต่ความเหลื่อมล้ำยังคงอยู่

     รศ.ดร.จุรี ย้ำว่า ขณะที่ผู้หญิงนอกจากต้องทั้งทำงานแล้ว ยังต้องดูแลลูก จึงเป็นสิ่งที่ฝรั่งเขาบอกว่า Double Burden หรือผู้หญิงมีภาระสองด้าน หรือมีภาระสองเท่า แต่สำหรับผู้หญิงไทย อาจจะต้องทำงานมากกว่านั้นหลายเท่า เพราะต้องดูแลเครือญาติ และเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งถือว่าหนักมากในหลายๆ ด้าน

     “ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ทางกลุ่มอาเซียน จึ่งมาร่วมกันคิดว่า อะไรคือหัวใจของปัญหาเหล่านี้ เพราะที่ผ่านมาพวกเราพยายามแก้ไขปัญหาในหลายๆ อย่าง แต่ความเหลื่อมล้ำก็ยังคงอยู่และไม่หายไป” รศ.ดร.จุรี กล่าว 

      ตามหลักวิชาการนั้น รศ.ดร.จุรี คิดว่า ในโรงเรียน บทเรียน หนังสือเรียน ตำราเรียน ควรจะมีอะไรไหมที่ก่อให้เกิดการตอกย้ำค่านิยมเดิมๆ ในอดีต โดยต้องไปดูตั้งแต่ระดับอนุบาล ซึ่งเรื่องนี้ทั่วโลกเขาก็ศึกษากันอยู่ โดยในหลายๆ แห่ง ก็มองว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าในโรงเรียนนั้น ตำราเรียนมองว่าผู้หญิงต้องอยู่ในตำแหน่งที่ด้อยกว่าหรือเปล่า ผู้ชายต้องเป็นผู้นำ

     “ซึ่งอันนี้ จะเป็นการถ่ายทอดโดยไม่รู้ตัว โดยไม่มีใครต้องการแกล้ง และผู้ชายเองเขาก็ไม่ได้ต้องการกดขี่ผู้หญิง แต่อาจเกิดจากความเคยชินที่มีมาจากอดีต แล้วก็มีการตอกย้ำต่อเนื่องโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นถ้าเราไม่ระวังบทเรียนเหล่านี้ ปัญหาเ หล่านี้ ก็อาจจะเกิดขึ้นมาอีก” รศ.ดร.จุรี กล่าว

        รศ.ดร.จุรี บอกต่อว่า เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทีมเราได้มีการทำวิจัย โดยพบว่า ในตำราเรียนของไทยจะมีจำนวนมากเลย ที่ผู้ชายจะเป็นผู้นำ โดยยืนถือไมค์โครโฟน ผู้ชายใส่เสื้อกาวน์เป็นหมอ ส่วนมผู้หญิงมีหน้าที่แค่เป็นผู้ช่วย เป็นเลขา ผู้หญิงใส่ชุดเป็นพยาบาล

     “จากภาพเหล่านี้ ต้องยอมรับว่า เป็นภาพที่เด็กๆ ได้พบเห็นมาตั้งแต่เล็กเลย ซึ่งภาพเหล่านี้ จะมีผลต่อเด็กผู้หญิงที่ว่าตัวเองจะไปได้ไกลแค่ไหน เพราะรูปแบบที่เป็นภาพติดตา นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของคำพูดที่ใช้ หรือภาษา และการเขียนอะไรต่างๆ ซึ่งบางทีใช้โดยไม่ระมัดระวัง”รศ.ดร.จุรี กล่าว

ประชุมครั้งนี้เกิดประโยชน์กับทุกประเทศ

       ทั้งนี้ ทุกประเทศก็จะมีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเช่นกัน ดังนั้นในการประชุมครั้งนี้ กลุ่มอาเซียน เราก็จะมาร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อมาถกในประเด็นเหล่านี้ จากนั้นก็จะนำมาเปรียบเทียบกันดูว่า จะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร หรือนำหนังสือ หรือตำรามาคลี่ดูกันว่า ยังมีเนื้อหาเหล่านี้อยู่ในบทเรียน หรือยังมีอยู่ในตำราต่างๆ จะทำให้เกิดปัญหา ถ้าเราช่วยกันขจัดปัญหาเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยกันแก้ไขปัญหาได้เยอะ

        รศ.ดร.จุรี ย้ำด้วยว่า การประชุมครั้งนี้ จะเกิดประโยชน์กับทุกประเทศ เพราะความเหลื่อมล้ำในแต่ละประเทศที่เกี่ยวกับหญิงและชายจะไม่เหมือนกัน โดยในบางประเทศหนักกว่าประเทศไทย หรือบางประเทศน้อยกว่าประเทศไทย

         สำหรับ ฟิลิปปินส์ หรือสิงคโปร์ ประเทศเหล่านี้ ค่อนข้างก้าวหน้ากว่า โดยในฟิลิปปินส์ จะมีให้ความสำคัญกับเรื่องบทบาทของผู้หญิง โดยมีการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งคำนึงถึงความต้องการของผู้หญิง และยังมีการตั้งคณะกรรมการดูแลเรื่องความเป็นธรรมทางเพศ ซึ่งเขาจะให้ความสำคัญมากกว่าประเทศไทย แต่ประเทศไทยก็ยังมีเรื่องเหล่านี้มากกว่าในอีกหลายๆ ประเทศ เป็นต้น

       “แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะการประชุมครั้งนี้ เราก็จะมาช่วยกันคิด มาพิจารณา วิเคระห์กัน และช่วยกันนำเสนอ และหาตัวอย่างที่ดีออกมาในการกระชุมครั้งนี้ เพื่อให้แต่ละประเทศนำกลับไป เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ ว่าจะทำอย่างไรให้ดีขึ้นได้”

 

เตรียมเขียนBest Practiceทำเป็นคู่มือ

      รศ.ดร.จุรี ตอกย้ำว่า ในการะชุมครั้งนี้ ตัวแทนกลุ่มอาเซียนจะมาแรกเปลี่ยนกัน จากนั้นก็จะมาเขียนเป็น Best Practice โดยก็จะดูว่า Case หรือกรณีศึกษาที่ดีเป็นอย่างไร โรงเรียนที่ดีเขาทำอย่างไร ผลเป็นอย่างไร เด็กๆ มีโอกาสอย่างไร ต่อมาก็จะมาดูด้วยกัน กลั่นกรองออกมา และเขียนออกมาเป็นตัวอย่างเป็นที่ดี หรือ Case Study ซึ่งเป็น Best Practice

       สำหรับ งบประมาณปีหน้า รศ.ดร.จุรี บอกว่า ก็จะมีการทำออกมาเป็นคู่มือ จะส่งเสริมความเสมอภาคได้อย่างไร ในบริบทของโรงเรียน โดยจะมุ่งเน้นที่เด็ก และบริบทของโรงเรียน คุณครูปฏิบัติต่อเด็กอย่างไร โอกาสของเด็กหญิงกับเด็กชายเหมือนกันไหมในโรงเรียน

         ตามงานการวิจัย พบว่าสิ่งเหล่านี้สำคัญมาก ไม่ใช่เฉพาะตำราเรียนอย่างเดียว เพราะยังมีมุมของครูมีวิธีปฏิบัติต่อเด็กนักเรียน การให้โอกาสเด็กเป็นผู้นำของโรงเรียนหรือไม่ เด็กมีโอกาสเล่นกีฬาเหมือนกันหรือไม่ ซึ่งลิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลทั้งนั้น

       “การแข่งกีฬาทำให้คนกล้าสู้ กล้าที่จะเผชิญปัญหา แต่โรงเรียนไทยถ้าเป็นสหศึกษา พบว่าเด็กผู้หญิงใม่ค่อยได้เล่นกีฬา คือผู้หญิงจะไปอยู่ชายขอบตีปิงปอง เป็นกองเชียร์ ส่วนสนามกีฬาจะถูกเด็กผู้ชายยึดไปหมด” รศ.ดร.จุรี กล่าว

     สิ่งเหล่านี้ถ้าไม่ได้ศึกษาจริงๆ เราไม่ค่อยรู้สึก หรือค่านิยมของสังคมที่ไปมองว่าผู้หญิงต้องสวย ขาว เล่นกีฬาเดี๋ยวผิวดำ ผิวไม่สวย เหงื่อตกแล้วไม่ดี ซึ่งค่านิยมพวกนี้ได้ไปครอบงำทำให้ผู้หญิงไม่กล้าเล่นกีฬา

       ค่านิยมเหล่านี้ตอกย้ำให้เกิดการซึมซับมาตั้งแต่เด็ก โดยเราเองก็ไม่รู้ตัว ในทางปฏิบัติทำให้สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนว่าแก้ยาก ซึ่งจริงต้องไปแก้ที่ต้นตอ โดยเราก็มองว่าบริบทของโรงเรียนจะช่วยแก้ไขอะไรได้เยอะ เราจะค่อยๆ ไปคลี่ทีละปมๆ ได้ไหม โดยต้องไปเปลี่ยนตั้งแต่เด็ก โดยจะออกมาเป็นคู่มือ

      ปีนี้เราจะดูแต่เรื่องตำราเรียนอย่างเดียว แต่ในปีหน้าเราจะไปเฟสหนึ่ง ซึ่งในส่วนตรงนั้นจะเจาะลึกไปอีก เพราะนี่เป็นนี้เป็นปีแรกที่เรามาเจอกัน และคุยกัน และจะนำตำรามาวิเคราะห์ มาเสนอปัญหาในภาพรวมก่อน แล้วเราก็ดูแล้วจะปรับแก้อย่างไร

 

เชิญ 2 แขกพิเศษ “มีชัย-ศาสตราจารย์ ยงยุทธ”ร่วมงาน

         ขณะเดียวกัน ในงานนี้ จะเชิญแขกพิเศษผู้ชาย 2 ท่านมาร่วมให้มุมมองและความคิดเห็น เนื่องจากท่านเป็นบุคคลสำคัญ ได้แก่ ท่านมีชัย วีระไวทยะ เนื่องจากท่านทำโรงเรียนทางเลือก ซึ่งโรงเรียนของท่านเด็กทุกคนในโรงเรียนจะมีความเสมอภาคกันมา และอยากให้ท่านมาเล่าให้ฟังว่า เด็กผู้หญิงมีโอกาสทำอะไรบ้าง เขาเติบโตมาอย่างไร ซึ่งจะเป็น Best Practice อย่างหนึ่ง ของโรงเรียนทางเลือก

        ส่วนอีกท่านหนึ่งคือ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ศาสตราจารย์ ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ท่านอยู่ในแวดวงการวิทยาศาสตร์ ได้เรียนเชิญท่านมาพูดคุยว่า จะส่งเสริมให้ผู้หญิงเรียนเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ Math และEngineering ได้อย่างไร

     “เพราะผู้หญิงจะเข้าสู่เรื่อง Tech และวิทยาศาสตร์ได้น้อยกว่าผู้ชาย จะเปิดโอกาสอย่างไร สังคมจะเกื้อหนุนช่วยได้อย่างไร เพื่อไม่ให้มีความเหลื่อมล้ำ ถ้าผู้หญิงอยากเรียนให้ได้เรียนและจะส่งเสริมอย่างไร

       ส่วนกลุ่มอาเซียนที่มาร่วมประชุมเชิงกฎิบัติการในครั้งนี้ แต่ละประเทศ จะส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมประเทศละ 2 ท่าน โดยท่านหนึ่งจะเป็นผู้แทนเชี่ยวชาญด้านสตรีเรื่องความเสมอภาค และอีกท่านหนึ่งจะเป็นตัวแทนความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา เพราะเราจะดูบทเรียนเรื่องโรงเรียน เพื่อจะมาถกและแลกเปลี่ยนกัน

        “ประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งนี้ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ตกผลึกและมีผลลัพธ์ออกมา เพื่อจะดูว่าบทเรียนครั้งนี้ จะแก้อย่างไรให้ดีที่สุด และก็จะมีการผลิตสื่อ จากผลการประชุมครั้งนี้ด้วย เพื่อให้คนดูสื่อแล้วจะรู้ทันทีว่าเกิดความเหลื่อมล้ำ แต่เป็นสื่อที่ทำแบบดูง่ายๆ ไม่ต้องใช้ภาษา เป็นแอนนิเมชั่นแบบเคนิเมชั่น เป็นสื่อแบบใหม่ที่ดูแล้วมีความน่ารัก อาจจะมีละครด้วย โดยเราตั้งใจผลิต 6 เรื่อง และนำไปใช้กับทุกประเทศ เพื่อนำไปเปิดให้คนของในทุกประเทศดูได้เลย ให้เกิดแรงบันดาลใจ และเข้าใจได้มากขึ้น ให้เกิดการเรียนรู้ ให้รับรู้ และเกิดการกระตุ้นให้คิด อันนี้มีความภูมิใจที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ”รศ.ดร.จุรี กล่าว

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 950x120

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!