WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1.AAA A AAA7ตรีอาเซียน

พม.จับมือนิด้า จัดประชุม'สตรีอาเซียน'ถกแก้ปัญหาลดเหลื่อมล้ำทางเพศอย่างยั่งยืน   

   กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จับมือศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคมนิด้า จัดประชุมกลุ่มสตรีอาเซียน ระหว่างวันที่ 3-4 ตุลาคมนี้ เร่งลดความเหลื่อมล้ำทางเพศ ทั้งระดับอาเซียนและนานาชาติ วอนปรับทัศนคตินิยามผู้หญิงใหม่เริ่มจากครัวเรือน-โรงเรียน หวังทลายกรอบความคิดแบบเดิมที่มองผู้หญิงอย่างด้อยค่ามายาวนาน โดยนำข้อมูลที่“หารือ-ตกผลึก”มาจัดทำสื่อและใช้สอน ผ่านเครื่องมือสื่อที่เหมาะกับทุกกลุ่ม

      รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ ประธานจัดเตรียมงานประชุมปฏิบัติการกลุ่มอาเซียน เปิดเผยว่า ค่านิยมแบบดั้งเดิมที่ถูกปลูกฝังมาอย่างยาวนาน ทำให้ผู้หญิงได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรม ซึ่งแฝงอยู่ในสังคมจนเกิดความเคยชิน โดยมีคำพูดที่อคติและถูกตอกย้ำอย่างสม่ำเสมอ เช่น ผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ มักใช้อารมณ์เป็นใหญ่ เป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ ชอบพูดมาก และควรอยู่แต่ในห้องครัว ไม่ควรออกนอกบ้าน จนกลายเป็นความเหลื่อมล้ำทางเพศและฝังอยู่ในหลากหลายวัฒนธรรม ส่งผลให้ผู้หญิงถูกตีกรอบในการกำหนดบทบาท ทั้งที่ผู้หญิงมีการเรียนรู้พัฒนาตัวเองจนมีศักยภาพในหลายด้านตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม แต่จนวันนี้ผู้หญิงก็ยังไม่ได้รับการยกย่องตามที่ควรจะเป็น สืบเนื่องจากค่านิยมและแนวปฏิบัติดังกล่าว คนส่วนใหญ่ในโลกถูกสอนมาตั้งแต่เกิด ให้มองค่านิยมแบบดั้งเดิมต่อผู้หญิงเป็นเรื่องปกติซึ่งทรงพลังที่สำคัญมาก จนทำให้ถูกหล่อหลอมให้ยอมรับและเชื่อโดยปราศจากเงื่อนไข

       “เราไม่เคยตั้งคำถามว่ามันเป็นเรื่องถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่ ในเรื่องความเสมอภาคทางเพศ เราเชื่ออย่างไม่กังขาว่าผู้หญิงเป็นดังที่ถ้อยคำเหล่านั้นกล่าว เพราะเราถูกสอนมาเช่นนั้น ดังนั้นในทุกวันนี้ เราจะเห็นว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ และต่อสู้อย่างหนักที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ คุณสมบัติทางสังคมของผู้หญิง เพื่อไม่ให้ถูกลงโทษจากสังคม ในขณะเดียวกันจะทำให้ผู้หญิงได้รับการยกย่อง” รศ.ดร.จุรี กล่าว และว่า

       สาเหตุที่ผู้หญิง มักถูกปฏิบัติอย่างมีอคติ เพราะทุกฝ่ายปล่อยให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถูกสอนให้เชื่อมาโดยตลอดว่า ความไม่เป็นธรรมดังกล่าวเป็นไปตามธรรมชาติและเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปไม่ว่าสังคมไหนก็มองว่าผู้หญิงเป็นคนไร้เหตุผล และเจ้าอารมณ์ทั้งนั้น ซึ่งการสอนเรื่องเหล่านี้ เกิดขึ้นตั้งแต่เรามีชีวิตจนเติบโต จึงทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเพศ นอกจากไม่สามารถขจัดได้หมดแล้วยังกลับขยายวงกว้างยิ่งขึ้น ถูกฝังรากลึก จนทำให้ผู้หญิงยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด และได้รับการปฏิบัติด้วยอคติมายาวนานอย่างไม่เห็นวันที่จะสิ้นสุดลงได้

       รศ.ดร.จุรี กล่าวอีกว่า การสอนเรื่องความเท่าเทียมกันของ ชาย หญิงจึงต้องเริ่มต้นจาก โรงเรียน สถาบันครอบครัว โดยเริ่มปลูกฝังค่านิยมกับเด็กตั้งแต่วัยเล็กสุด โดยให้แนวคิดเริ่มจากระดับอนุบาลและประถม ที่ต้องตระหนักถึงปัญหาค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิงที่แฝงอยู่ในบทเรียน และแนวปฏิบัติในสถานศึกษาต่างๆแบบผิดๆมาในอดีต และชี้ให้เห็นว่าความเหลื่อมล้ำทางเพศเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง

       ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จากความมุ่งมั่นในการติดตาม และแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระดับภูมิภาค พบว่ายังเกิดความเชื่อผิดๆ อีกมากมาย ที่แฝงตัวในบทเรียนของเด็ก ทั้งการใช้ภาษา และภาพประกอบต่างๆ ส่งผลให้เด็กๆ ซึมซับเรื่องราวเหล่านี้ต่อเนื่อง โดยไม่ได้มีการตั้งข้อสงสัยต่อค่านิยมเชิงลบดังกล่าวเลย จึงจำเป็นต้องเริ่มจากที่โรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนประถมและมัธยม เพื่อเป็นการตอกย้ำ และยกประเด็นปัญหานี้ให้เห็นชัดเจน เพื่อนำมาสู่แก้ปัญหาอย่างจริงจังและยั่งยืน

       รศ.ดร.จุรี กล่าวว่า การประชุมกลุ่มสตรีอาเซียนในครั้งนี้ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ด้านสตรีศึกษาจากทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน มาร่วมเสวนาและระดมความคิดร่วมกันว่าปัญหาดังกล่าวข้างต้นจะช่วยกันแก้ไขได้อย่างไร โดยผู้เชี่ยวชาญจะต้องวิเคราะห์ และวิพากษ์แบบเรียนจากทุกประเทศที่เข้ามาร่วมประชุม ซึ่งเป็นแบบเรียนที่เยาวชนศึกษาและอ่าน จับต้องและนำติดตัวไปในที่ต่างๆ

       สำหรับ ผลการระดมสมองในครั้งนี้ จะนำมาผลิตเป็นเนื้อหาและสร้างเครื่องมือการสื่อสารที่ทันสมัยสอดคล้องกับยุคปัจจุบันเพื่อนำไปเผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปทุกเพศ ทุกวัย และทุกสาขาอาชีพ ให้เห็นถึงปัญหาที่ไม่ถูกต้องและถูกฝังเป็นรากลึกมายาวนาน ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อผู้หญิงเพศแม่เสียใหม่ โดยหวังว่า เครื่องมือที่นำมาใช้จะทำให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจเรื่องความเหลือมล้ำทางเพศได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และความคาดหวังสูงสุดของคณะทำงานคือ ต้องการให้ผู้คนตระหนักว่า หญิงและชายนั้นเท่าเทียมกัน และช่องว่างระหว่างเพศควรต้องหมดไป

      อนึ่ง ในส่วนการดำเนินงานของประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม แห่งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศในกลุ่มอาเชียน เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการในวันที่ 3-4 ตุลาคม 2562 ที่โรงแรมไอบิส สไตล์ กรุงเทพ ข้าวสาร เวียงใต้ ซึ่งการระดมความคิดครั้งนี้ แต่ละประเทศจะนำเสนอภาพรวมเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ และจะนำตำราเรียนมานำเสนอ ความคิดของผู้เชี่ยวชาญจะตกผลึก ออกมาเป็นรายงาน ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดทางฝ่ายจัดทำสื่อจะนำไปสร้างสรรค์สื่อ เพื่อให้เกิดความเหมาะกับทุกเพศทุกวัยต่อไป โดยมีเนื้อหาที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง โดยมุ่งเน้นความคิดที่ว่า สตรีและบุรุษต้องเท่าเทียมกัน และจะถูกจารึกอยู่ในความทรงจำของผู้รับสื่อ และนำมาซึ่งความเท่าเทียมในที่สุด

       นอกจากนี้ รศ.ดร.จุรี ยังเน้นย้ำด้วยว่า ความเหลื่อมล้ำทางเพศไม่ใช่ประเด็นของแต่ละท้องที่ และการจะลดช่องว่างได้ ต้องเกิดจากความร่วมมืออย่าจริงจังจากทุกประเทศ จึงเกิดสนธิสัญญามากมายที่ถูกเขียนขึ้นโดยองค์กรสหประชาชาติพื่อแก้ปัญหานี้ ส่วนกลุ่มสตรีอาเซียน ก็ได้มีการรวมตัวกัน เพื่อพูดคุยถึงปัญหา และหาแนวการแก้ปัญหาในระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราทำได้และควรทำ โดยจะมีการวิเคราะห์บริบทต่างๆ เพราะเด็กเล็กถูกปลูกฝังค่านิยมแบบผิดๆ ซึ่งการวางแผนงานในครั้งมีจะดำเนินการอย่างรอบคอบ และด้วยความร่วมมืออย่างจริงจัง และจริงใจจากนานาประเทศในอาเซียน โดยหวังว่าโลกใบนี้จะเป็นมิตรกับผู้หญิงมากขึ้น เพื่อให้ผู้หญิงก้าวไปข้างหน้าได้เต็มศักยภาพและสร้างสรรค์โลกร่วมกันกับผู้ชาย

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 950x120

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!