WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

ไอบีเอ็ม ทุบสถิติจดสิทธิบัตรในสหรัฐฯ กว่า 8,000 รายการ ครองแชมป์ต่อเนื่อง 24 ปี"เฉพาะสิทธิบัตรด้านปัญญาประดิษฐ์ ค็อกนิทิฟและคลาวด์คอมพิวติ้งรวมแล้วกว่า 2,700 รายการ

    ไอบีเอ็ม ประกาศคว้าแชมป์บริษัทที่จดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาสูงสุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 24 พร้อมทำลายสถิติด้วยยอดสิทธิบัตร 8,088 รายการในปี 2559 ครอบคลุมการค้นพบด้านปัญญาประดิษฐ์ ค็อกนิทิฟคอมพิวติ้ง เทคโนโลยีค็อกนิทิฟเพื่อการดูแลสุขภาพ คลาวด์ ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ เป็นต้น

     นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ไอบีเอ็มมีความภูมิใจอย่างยิ่งที่นักวิจัยกว่า 8,500 คน ใน 47 ประเทศทั่วโลกของเรา ได้มีส่วนสำคัญในการคิดค้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชากรโลก การริเริ่มนวัตกรรมมากมายที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ชาญฉลาดอันเป็นก้าวย่างสำคัญสู่ยุคค็อกนิทิฟ

สำหรับ 10 บริษัทที่มียอดจดสิทธิบัตรในสหรัฐฯ สูงสุดในปี 2559 [1] ประกอบด้วย

1. ไอบีเอ็ม 8,088 รายการ

2. ซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ 5,518 รายการ

2. แคนอน 3,665 รายการ

4. ควอลคอมม์ 2,897 รายการ

5. กูเกิล 2,835 รายการ

6. อินเทล 2,784 รายการ

7. แอลจี อีเลคทรอนิคส์ 2,428 รายการ

8. ไมโครซอฟท์2,398 รายการ

9. ไต้หวัน เซมิคอนดัคเตอร์ เมนูแฟคเจอริ่ง 2,288 รายการ

10. โซนี่ 2,181 รายการ

 1IBM

ตัวอย่างสิทธิบัตรด้านค็อกนิทิฟคอมพิวติ้งและปัญญาประดิษฐ์ อาทิ

     การพัฒนาแมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อให้คำตอบที่ดีที่สุด:การให้คำตอบที่ถูกต้องแม่นยำถือเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบค็อกนิทิฟคอมพิวติ้ง โดยนักวิจัยของไอบีเอ็มได้คิดค้นแนวทางที่ทำให้ระบบสามารถแสดงทางเลือกคำตอบสำหรับแต่ละคำถาม พร้อมระบุได้ว่าแต่ละคำตอบมีความถูกต้องและสอดคล้องกับคำถามแค่ไหน และเมื่อกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำๆ กัน ความแม่นยำของคำตอบจะเพิ่มขึ้นจนสามารถระบุคำตอบที่ถูกต้องและป้อนเข้าไปยังระบบแมชชีนเลิร์นนิ่ง โดยโมเดลนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่บริการทางการเงินไปจนถึงค้าปลีก (สิทธิบัตรสหรัฐฯ หมายเลข 9,384,450)

     การวางแผนเส้นทางที่ดีที่สุดโดยคำนึงถึงสภาวะทางจิตใจของผู้เดินทาง: ระบบนำทางในปัจจุบันถูกกำหนดให้เปลี่ยนเส้นทางตามสภาพการจราจรของถนนต่างๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ นักประดิษฐ์ของไอบีเอ็มได้พัฒนาแนวทางการวางแผนการเดินทางที่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเดินทางมากที่สุด นั่นก็คือสภาวะทางจิตใจ ตัวอย่างเช่น หากวันนั้นเป็นวันที่ผู้ขับขี่ผ่านภาระงานหนักหรือรู้สึกอ่อนเพลีย ระบบก็จะแนะนำให้ใช้เส้นทางที่ก่อให้เกิดความเครียดน้อยที่สุดแทน (สิทธิบัตรสหรัฐฯ หมายเลข 9,384,661)

 

ตัวอย่างสิทธิบัตรเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพ อาทิ

     การใช้ภาพเพื่อประเมินสภาวะของหัวใจ: การจำแนกโรคที่เกี่ยวกับหัวใจถือเป็นเรื่องที่ท้าทายเพราะหัวใจมีระบบที่ซับซ้อน นักวิจัยของไอบีเอ็มจึงได้พัฒนาแนวทางในการใช้ภาพถ่ายทางการแพทย์เพื่อวิเคราะห์รูปร่างและการเคลื่อนไหวของหัวใจ เพื่อช่วยจำแนกขั้นต่างๆ ของโรคหัวใจ วิธีนี้จะมีส่วนช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยอาการของโรคหัวใจชนิดต่างๆ (สิทธิบัตรสหรัฐฯ หมายเลข 9,311,703)

    เครื่องมือช่วยฟังอัจฉริยะที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล: นักประดิษฐ์ของไอบีเอ็มได้พัฒนาเครื่องช่วยฟังที่สามารถแยกระหว่างเสียงพูดและเสียงอื่นๆ ตัวอย่างเช่น สามารถฝึกฝนให้อุปกรณ์นี้จำแนกเสียงสัญญาณเตือนไฟ หรือสามารถเลือกกรองบางเสียงออกไป และขยายบางเสียงให้ดังขึ้นแทน (สิทธิบัตรสหรัฐฯ หมายเลข 9,374,649)

      การใช้โดรนฆ่าเชื้อโรคในโรงพยาบาลและแหล่งเพาะปลูกทางการเกษตร: เป็นการใช้โดรนที่ควบคุมด้วยระบบค็อกนิทิฟในการสำรวจ ทดสอบ และวัดการปนเปื้อนต่างๆ โดยส่งโดรนเข้าไปยังพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เพื่อเก็บตัวอย่าง ยืนยันผล และทำการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้ สามารถกำหนดให้ระบบปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ หรือปฏิบัติงานเฉพาะเมื่อมีสัญญาณที่แสดงถึงความเสี่ยงของการปนเปื้อน (สิทธิบัตรสหรัฐฯ หมายเลข 9,447,448)

 

ตัวอย่างสิทธิบัตรเกี่ยวกับคลาวด์ อาทิ

       การวัดและการทำรายงานภาพรวมการใช้พับลิคคลาวด์ในสิ่งแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์:การใช้พับลิคคลาวด์ในสิ่งแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์สามารถช่วยประหยัดงบประมาณและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สิทธิบัตรนี้ช่วยให้สามารถจัดหาพับลิคคลาวด์ที่มีอยู่ พร้อมตรวจสอบได้ว่ามีการใช้พับลิคคลาวด์แต่ละแห่งไปมากแค่ไหนแล้ว ใครเป็นผู้ใช้ ผู้ใช้ใช้ทรัพยากรคลาวด์ในการทำอะไร และรวมแล้วเป็นค่าใช้จ่ายเท่าไร ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถเห็นภาพรวมการใช้คลาวด์ของบุคลากรหรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อวางแนวทางในการลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีได้ต่อไป (สิทธิบัตรสหรัฐฯ หมายเลข 9,336,061)

 

ตัวอย่างสิทธิบัตรที่จะนำไปสู่การพัฒนาโซลูชั่นด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ใหม่ๆ อาทิ

   การบริหารจัดการด้านซิเคียวริตี้ในสิ่งแวดล้อมด้านคอมพิวติ้งแบบเครือข่าย: แม้เทคโนโลยีคลาวด์จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างและนำแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ไปใช้ได้เร็วและง่ายขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจ แต่แอพเหล่านี้จำเป็นต้องมีระบบซิเคียวริตี้ที่แข็งแกร่งเพื่อป้องกันการรุกรานที่มีมากขึ้นทุกวันด้วย  นักประดิษฐ์ของไอบีเอ็มได้พัฒนาแนวทางที่จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยของแอพ โดยเมื่อเน็ตเวิร์คถูกคุกคาม ระบบจะสามารถปิดเครือข่ายของแอพที่เชื่อมโยงกันอยู่เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น (สิทธิบัตรสหรัฐฯ หมายเลข 9,361,455)

     การบริหารจัดการข้อมูลที่ถูกส่งเข้ามาเพื่อป้องกันการฟิชชิงและการแพร่กระจายของเนื้อหาที่ประสงค์ร้าย: นักวิจัยไอบีเอ็มได้คิดค้นระบบที่สามารถกำหนดระดับการอนุญาตรับเนื้อหาที่ถูกส่งเข้ามาสู่ผู้ใช้ อาทิ อีเมล ข้อความต่างๆ เป็นต้น โดยระบบนี้จะกำหนดระดับความน่าเชื่อถือให้กับข้อความที่ส่งเข้ามา และพิจารณาว่าควรส่งต่อให้ผู้ใช้หรือไม่ (สิทธิบัตรสหรัฐฯ หมายเลข 9,460,269)

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

               [1] ข้อมูลจาก IFI CLAIMS Patent Services: http://www.ificlaims.com

คำอธิบายภาพประกอบ:

- ภาพประกอบ 01: 10 อันดับบริษัทที่จดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาสูงสุดในปี 2559

- ภาพประกอบ 02: เอมิลี่ คินเซอร์ นักวิจัยร่วมที่สร้างสิทธิบัตรให้ไอบีเอ็ม 3 รายการในปี 2559 กับภาพขยาย 100,000 เท่าของโครงสร้างนาโน 3 มิติแห่งอนาคต

- ภาพผู้บริหาร: คุณพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

ลิงค์วิดีโอ:

http://youtu.be/sQ8SEUe-SU0

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!