- Details
- Category: ไอที-เทคโนฯ
- Published: Saturday, 26 November 2016 10:57
- Hits: 9495
Thailand Local Government Summit 2016 งานสัมมนาวิชาการ นวัตกรรม ขับเคลื่อนท้องถิ่นไทยอย่างยั่งยืน
ภายใต้แนวคิด ‘Towards a Sustainable Local 4.0 ขับเคลื่อนท้องถิ่นไทย 4.0 อย่างยั่งยืน’
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDE) ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) และองค์กรภาคี จัดสัมมนาวิชาการ นวัตกรรม ขับเคลื่อนท้องถิ่นไทย อย่างยั่งยืน หรือ ‘Thailand Local Government Summit 2016’ ภายใต้แนวคิด ‘Towards a Sustainable Local 4.0 ขับเคลื่อนท้องถิ่นไทย 4.0 อย่างยั่งยืน’ ซึ่งจัดเป็นปีที่สอง ในวันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2559 เพื่อส่งเสริมผู้นำและบุคคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พัฒนากระบวนทัศน์ใหม่ในการทำงาน เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคสังคมโลก Digital Economy บนพื้นฐานของการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบ Digital & Innovation for Green Society ตามกระแสหลักสากลในบริบทประเทศไทย
พร้อมด้วยการปรับระบบคิดให้ทันต่อพัฒนาการด้านนวัตกรรมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งนวัตกรรมคือหัวใจเพื่อพัฒนาไปสู่สังคมดิจิทัลตามมาตรฐานสากล อันเป็นจุดมุ่งหมายเชิงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเพื่อก้าวสู่สังคมยั่งยืน Green Society and Smart City โดยมี คุณวิไลลักษณ์ ชุลีวัฒนกุล ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDE) เป็นประธานเปิดงาน พร้อมผู้สนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท เออาร์ไอที จำกัด บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีล เทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
คุณบุญรักษ์ สรัคคานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) กล่าวว่า “Thailand Local Government Summit 2016 จะเป็นเวทีสำคัญในการอบรมและพัฒนาบุคลากรองค์กรปกครองท้องถิ่นให้ได้ทราบถึงประโยชน์และการประยุกต์ใช้นวัตกรรม และ ดิจิทัลอย่างบูรณาการ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของตนอย่างเหมาะสมและยั่งยืน กระตุ้น สร้างความตระหนัก และตื่นตัว ว่าการบริหารจัดการ และพัฒนาท้องถิ่น เพื่อมุ่งสู่ความเป็นท้องถิ่นที่มีการพัฒนาอย่างเท่าถึง เท่าเทียม และอย่างยั่งยืนนั้น นวัตกรรมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดและสอดคล้องกับนโยบาย Digital Economy ของประเทศ ให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับทราบและเข้าใจวิสัยทัศน์ นโยบายการขับเคลื่อนท้องถิ่นด้วยนโยบาย Smart City, Green Society and Thailand 4.0 พร้อมประยุกต์ใช้ในท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยภายในงานมีผู้เข้ามากกว่า 500 คน”
คุณไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) หรือ อีจีเอ หน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ นำเสนอโครงการและภารกิจที่ อีจีเอ ได้ขับเคลื่อนเพื่อเตรียมความพร้อมประเทศก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559-2561)
เจตนารมณ์ของรัฐบาลปัจจุบันกำหนดให้การผลักดันภาครัฐไทยสู่ความเป็นเลิศ เป็นภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายตามวิสัยทัศน์ประเทศไทยปี พ.ศ. 2558 - 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ของประเทศ โดยหนึ่งในบทบาทหลักของสานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) หรือ อีจีเอ ในการตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล คือการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับงานบริการภาครัฐสู่ความเป็นเลิศ
ทั้งนี้ บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านเทคโนโลยี ด้านความต้องการของภาคประชาชน ด้านการแข่งขันในเวทีโลก และด้านภารกิจของรัฐบาลปัจจุบัน ทำให้มีความจำเป็นต้องผลักดันภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีการดำเนินงานแบบอัจฉริยะ ให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง
เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล และตอบสนองต่อความต้องการของภาคประชาชนและภาคธุรกิจ จึงจำเป็นต้องจัดทำ แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559-2561) เพื่อกำหนดทิศทางในการยกระดับขีดความสามารถเชิงดิจิทัลของภาครัฐไทยให้เป็นเอกภาพและเป็นรูปธรรม ขีดความสามารถเชิงดิจิทัลหลักของภาครัฐไทยนั้นแบ่งได้เป็น 26 ด้าน โดยการจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลระยะที่หนึ่ง ครอบคลุมขีดความสามารถหลักทั้งหมด 18 จาก 26 ด้าน ได้แก่
การบูรณาการข้อมูลภาครัฐเพื่อยกระดับบริการ การยืนยันตัวตนและบริหารจัดการสิทธิ การให้ข้อมูล การรับฟังความคิดเห็น โครงสร้างพื้นฐานการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐ การให้ความช่วยเหลือ การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน การเพิ่มประสิทธิภาพภาคการเกษตร การท่องเที่ยว การลงทุน การค้า (นำเข้า/ส่งออก) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาษีและรายได้ ความปลอดภัยสาธารณะ การบริหารจัดการชายแดน การป้องกันภัยธรรมชาติ และ การจัดการในภาวะวิกฤต ทั้งนี้ อีจีเอ จะยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนา แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559-2561) ให้ครอบคลุมขีดความสามารถหลักทั้งหมดในระยะถัดไป
2. 'สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ'
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ หรือ Thailand Digital Government Academy จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านดิจิทัลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อใช้พัฒนาและยกระดับศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ทักษะดิจิทัลที่เหมาะสมและหลากหลายอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานสากล รวมถึงเป็นการวัดระดับความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริหารงานราชการและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพในการให้บริการประชาชนต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 5 ของการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ (Digital Workforce)
3. GovChannel
เป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงข้อมูลและบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐของหน่วยงานต่างๆ ได้จากจุดเดียว เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต และการเข้าถึงบริการสาธารณะของประชาชนทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกท้องถิ่น อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยแบ่งการเข้าถึงข้อมูลเป็น 3 ช่องทางหลักคือ
1. ประชาชนที่สะดวกเข้าถึงบริการภาครัฐด้วย’คอมพิวเตอร์’ จะสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐที่จัดทำเป็นเว็บท่าหรือ Portal site ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวมทุกช่องทางในชื่อของ GovChannel.go.th โดยภายในเว็บไซต์นี้จะพบกับทางเชื่อมไปสู่เว็บไซต์อื่น อาทิ Info.go.th ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ. อำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 และคู่มือสำหรับประชาชนซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ รวมถึงช่องทางการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และร้องเรียนหากพบปัญหาจากการเข้ารับบริการจากภาครัฐ
data.go.th ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ได้โดยอิสระ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และแจกจ่ายได้โดยใครก็ตาม แต่ต้องระบุแหล่งที่มาหรือเจ้าของงานและต้องใช้สัญญา หรือเงื่อนไขเดียวกันกับที่มาหรือตามเจ้าของงานกำหนด
apps.go.th ศูนย์กลางแอปพลิเคชันภาครัฐ หรือ GAC แหล่งรวมเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถค้นหาแอปพลิเคชันและดาวน์โหลดลงบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วจาก 13 หมวดหมู่บริการ
www.egov.go.th ระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Gov Portal ที่รวบรวมเว็บไซต์บริการต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐให้ประชาชนสามารถเลือกบริการผ่านออนไลน์
biz.govchannel.go.th ศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ หรือ Biz Portal เป็นระบบกลางสำหรับผู้ประกอบการและนักลงทุน สามารถติดต่อขอเริ่มต้นธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ กรอกแบบฟอร์ม พร้อมยื่นเอกสารหลักฐานผ่านคอมพิวเตอร์ได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ต้องไปติดต่อที่หน่วยงานด้วยตนเอง
govspending.data.go.th ภาษีไปไหน? (Thailand Government Spending) เป็นระบบสืบค้นข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐในรูปแบบเว็บไซต์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ที่พัฒนาขึ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ถือเป็นการพัฒนาต่อยอดจากชุดข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างที่กรมบัญชีกลางนำมาเปิดเผยในรูปแบบของ Open Government Data ผ่านศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (data.go.th)
2.ประชาชนที่สะดวกเข้าถึงข้อมูลผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ จะสามารถเข้าผ่าน แอปพลิเคชัน GAC (Government Application Center) หรือ ศูนย์กลางแอปพลิเคชันภาครัฐ คือแอปพลิเคชันที่รวบรวมแอปพลิเคชันต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐไว้ด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถค้นหาแอปพลิเคชันและดาวน์โหลดลงบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวกรวดเร็วจาก 13 หมวดหมู่บริการ เช่น ความมั่นคงและกฎหมาย การจัดหางานและการจ้างงาน การเงิน ภาษี และธุรกิจ ฯลฯ โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) หรือ อีจีเอ เป็นผู้ประสานงานจัดการเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถนำเสนอแอปพลิเคชันแก่ประชาชนผ่าน GAC โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ apps.go.th
3. สำหรับประชาชนที่ไม่สะดวกใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงบริการภาครัฐ ก็มีการพัฒนาช่องทางให้บริการผ่าน Government Kiosk หรือตู้บริการเอนกประสงค์ของรัฐ เป็นช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและบริการภาครัฐได้ด้วยบัตรประชาชนเพียงใบเดียว และ Government Smart Box หรือ เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งในพื้นที่สาธารณะเพื่อเป็นช่องทางเสริมในการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนได้สามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และบริการต่างๆ ของรัฐ ในรูปแบบบริการออนไลน์ (e-Services) เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลของรัฐไปยังประชาชน
4. แอปพลิเคชัน G-Chat
G-Chat (Government Secure Chat) คือแอปพลิเคชันที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นระบบติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์สำหรับหน่วยงานภาครัฐผ่านอุปกรณ์สื่อสารแบบเคลื่อนที่ เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ใช้สนทนาบนอุปกรณ์พกพานั้น มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกลักลอบใช้ข้อมูลและความลับทางราชการ มีโอกาสเกิดการทุจริต ส่งผลต่อความเสียหายของทางราชการ และอาจกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ อีจีเอ จึงพัฒนา G-Chat เพื่อใช้ภายในหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น โดยสามารถสร้างห้องสนทนา รับส่งข้อความ ประสานงาน ระดมความคิด ประชุมทางไกล และพูดคุยด้วยการโทรผ่านแอปฯ หรือวีดิดีโอคอล มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยระดับสากล G-Chat มีการจัดการผู้ใช้ตามโครงสร้างของหน่วยงาน มีความเป็นส่วนตัว และมีความปลอดภัยของข้อมูล ปรับกระบวนการทำงานราชการสู่ยุครัฐบาลดิจิทัล
ความสามารถและคุณสมบัติของ G-Chat
· บริหารจัดการ เลือกรูปแบบการใช้งาน และปรับแต่งตามความต้องการของหน่วยงานโดยผู้ดูแลระบบของแต่ละหน่วยงาน
· สร้างห้องสนทนาเฉพาะกลุ่ม โดยกำหนดเลือกเจ้าหน้าที่ต่างแผนกให้เป็นสมาชิกในห้องเดียวกันได้ หรือเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกตามความสมัครใจ โดยไม่จำกัดจำนวนสมาชิก
· สร้างห้องสนทนาที่กำหนดให้มีการระบุพิกัดตำแหน่ง (Location Sharing) ของสมาชิกทุกคนเมื่อส่งข้อความ
· สืบค้นข้อความได้
· สมาชิกใหม่ของห้องสนทนาสามารถเห็นข้อความที่โพสต์ไว้ตั้งแต่เริ่มสร้างห้องได้
· ผู้ส่งข้อความสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้อ่านข้อความแล้วได้
· กำหนดให้สื่อสารข้ามหน่วยงานได้
· ใช้งานได้จากอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
5. แอปพลิเคชัน G-NEWS
G-News แอปพลิเคชันกลางที่หน่วยงานภาครัฐสามารถใช้เป็นช่องทางในการให้ข้อมูลข่าวสารและ
บริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ส่งตรงถึงมือประชาชน รองรับการแจ้งเตือนข้อมูลเฉพาะรายบุคคล เช่น แจ้งเตือนการต่อภาษี ชำระค่าสาธารณูปโภค น้ำ ไฟ เป็นต้น โดยประชาชนสามารถเลือกรับข้อมูลข่าวสารเฉพาะที่สนใจ หรือเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการได้
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
นำเสนอบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ด้วยโปรโมชั่นที่ดีที่สุด เน็ตสตรอง กับ Speed 30/15 Mbps เพียง 750 บาท/เดือน โดยในงานยังมีกิจกรรมร่วมสนุกสำหรับลูกค้าที่เยี่ยมชมบูธ เพียงถ่ายรูปคู่กับ อาเล็ก โพสต์ลง facebook พร้อมติด #totfiber2u ก็รับของที่ระลึกจาก ทีโอที ทันที
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ Thailand Post Co., Ltd.
ให้บริการไปรษณีย์และบริการขนส่งกับคนไทยและธุรกิจทุกระดับ โดยให้บริการไปรษณีย์ที่มีคุณภาพมาตรฐานสากลและครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศทั่วโลก เพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารและดำเนินธุรกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งขยายขอบเขตการให้บริการไปสู่บริการในลักษณะหรือรูปแบบใหม่ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) บริการทางการเงิน (ธนาณัติออนไลน์) เป็นต้น
บริษัท เออาร์ไอที จำกัด (ARIT)
ธุรกิจการบริการด้านไอที การฝึกอบรม และทดสอบการใช้โปรแกรม ด้วยประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมากว่า 25 ปี มีจุดมุ่งหมายที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากรด้านไอทีให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาทุกระดับชั้นทั่วประเทศ ตลอดจนมีบทบาท และมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้ให้กับองค์กรต่างๆ ในภาครัฐ และเอกชน ทั้งระดับคนทำงาน และระดับนักศึกษา ต่างๆ มากมาย
สำหรับ บูธในวันนี้ทางเออาร์ไอที นำเรื่องของการเพิ่มศักยภาพในด้านการทำงานด้านไอที ด้วยมาตรฐานระดับสากล มามอบให้กับผู้ร่วมงาน ในครั้งนี้ ด้วยทางเออาร์ไอทีมุ่งหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่เข้าไปช่วยองค์กรของคุณในการพัฒนาศักยภาพด้านไอทีพื้นฐานเพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนประเทศสู่ยุคดิจิทัลได้ต่อไป
บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด
เป็นบริษัทเอกชนไทยที่ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายและให้บริการโซลูชั่นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือที่เรียกว่า จีไอเอส อย่างครบวงจร เพื่อสนับสนุนงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา บริษัทเป็นผู้บุกเบิกบริการจีไอเอสในประเทศไทย ด้วยซอฟต์แวร์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ชั้นนำของโลกภายใต้แบรนด์สินค้า ArcGIS
จากประสบการณ์ของทีมงานในการให้คำปรึกษา ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาอย่างยาวนาน บริษัทอีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) มุ่งพัฒนาความสามารถในการบริการด้วย “ความเข้าใจ” เพื่อส่งมอบงานที่ดีที่สุดและเป็นที่พอใจให้แก่ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ และสังคมโดยรวม เราและพันธมิตรมืออาชีพได้ร่วมกันดำเนินงานและส่งมอบผลงานระบบจีไอเอสให้แก่ลูกค้ามามากกว่า 300 องค์กร ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพสูงและเชื่อมั่นได้ในมาตรฐานระดับสากล
บริษัท ซีล เทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ก่อตั้งขึ้นในปี 2556 เพื่อให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบ Mobile Application, Enterprise Solution รวมถึงเว็บไซต์แก่ลูกค้าองค์กร หน่วยงานภาครัฐฯ อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรมการค้าต่างประเทศ กรมปศุสัตว์ ฯลฯ ตลอดจนภาคเอกชน โดยในปี 2558 บริษัทฯ ได้รับมาตรฐาน ISO 29110 ซึ่งเป็นเครื่องการันตีถึงมาตรฐานในการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ขยายขอบเขตความเชี่ยวชาญจนสามารถรองรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบที่เป็น Enterprise Solution ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม และมีผลงานเป็นที่ยอมรับมากมาย
เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่นำมาออกงาน
1) ห้องสมุดสำหรับเด็กไทย มีได้ทุกบ้าน กับ Application MyLy (มายลี่)
ส่งเสริมชุมชน 4.0 ด้วยการศึกษา 4.0 สำหรับท้องถิ่น
MyLy เป็นแอปพลิเคชั่นคลังสื่อความรู้ดิจิทัลเสริมบทเรียน ที่รวบรวมอีบุ๊ค วิดีโอ พร้อมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Game Based Learning สำหรับนักเรียนโดยเฉพาะ สามารถใช้เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเนื้อหาบทเรียน ตลอดจนบ่มเพาะนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กและเยาวชนในช่วงวัยประถมศึกษา ถึงมัธยมศึกษาตอนต้น สามารถใช้งานได้ทั่วประเทศ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นพร้อมสมัครสมาชิก ก็สามารถล็อกอินเข้าใช้งานได้ฟรีทันที
ราคา: การใช้งานเต็มรูปแบบ เข้าถึงสื่อการเรียนรู้ต่างๆ นับพันรายการ อัปเดตใหม่ทุกสัปดาห์ พร้อมเกมแบบฝึกหัด มาในราคาสมาชิก 360 บาทต่อปีเท่านั้น!
2) แจ้งข่าวสดใหม่ ชุมชนไทย 4.0 กับ Application ZealNews
ส่งเสริมชุมชน 4.0 สู่การเชื่อมต่ออย่างบูรณาการแบบ Smart City
ZealNews เป็นแอปพลิเชั่นที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารยุคใหม่สำหรับชุมชนไทย โดยมีฟีเจอร์การใช้งานสำหรับเผยแพร่ข่าวสารท้องถิ่น การรวบรวมช่องทางติดต่อในท้องถิ่น ข้อมูลสำคัญต่างๆ รวมถึงฟีเจอร์การแจ้งข่าว หรือแจ้งเหตุภายในชุมชนแบบเรียลไทม์ไปยังผู้รับผิดชอบโดยเฉพาะ เป็นต้น
ไฮไลท์และความน่าสนใจในงานครั้งนี้ มีอาทิ การสัมมนาวิชาการพร้อมรับฟังปาฐกถาพิเศษ’นวัตกรรมและดิจิทัลขับเคลื่อนท้องถิ่นไทยยั่งยืน’ นิทรรศการในส่วนแสดงนวัตกรรม และดิจิทัลเทคโนโลยี ห้องนิทรรศการจำลอง การใช้นวัตกรรม และดิจิทัลเพื่อนำพาสู่ Green Society and Smart City ต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การประกวดการนำเสนอผลงานการบริหารท้องถิ่นดีเด่นด้วยนวัตกรรมและดิจิทัล ชิงโล่รางวัลเกียรติยศและเชิดชูเกียรติผู้นำท้องถิ่นดีเด่นด้วยนวัตกรรม และดิจิทัลแห่งชาติ จากนายกรัฐมนตรี