- Details
- Category: ไอที-เทคโนฯ
- Published: Wednesday, 10 August 2016 08:48
- Hits: 4996
'ไอท้อปพลัส' ชวนธุรกิจ SME รีโนเวท เว็บไซต์ใหม่! ให้อ่านง่ายบนมือถือ รับยุคโมบายเน็ตโต คนนิยมค้นข้อมูลผ่านมือถือ มากกว่าคอมฯ ด้วยแพ็กเกจสุดประหยัด เพียง 3,800 บาทต่อปี !
ไอท้อปพลัส ผู้นำในการให้บริการด้านการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร เดินหน้าติดอาวุธให้ผู้ประกอบการ SME ก้าวทันการตลาดออนไลน์ยุคโมบายเน็ต ตอบรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมค้นหาสินค้าและบริการผ่านโทรศัพท์มือถือ มากกว่าคอมพิวเตอร์ฯ โดยได้ออกบริการระบบเว็บไซต์อัจฉริยะ แพ็กเกจราคาประหยัด ราคาเริ่มต้นที่ 3,800 บาทต่อปี หรือเพียงเดือนละ 300 กว่าบาทเท่านั้น! เหมาะสำหรับธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะบริษัทที่มีเว็บไซต์อยู่แล้ว แต่ไม่รองรับบนหน้าจอสมาร์ทโฟนทุกขนาด ทุกรุ่น และทุกระบบปฏิบัติการ ซึ่งอาจทำให้เสียโอกาสในการนำเสนอสินค้าและบริการให้กับลูกค้า โดยแพ็กเกจดังกล่าวให้บริการครบครัน
· ทั้งระบบหลังบ้าน ที่เจ้าของเว็บสามารถจัดการและแก้ไขข้อมูลเว็บไซต์ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก เหมือนใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ติดตั้งโปรแกรมโซเชียลมีเดียยอดฮิตต่าง ๆ รองรับการทำตลาดบนสังคมออนไลน์ได้เลย ได้แก่ Facebook Fanpage, Google Analytics, Video YouTube, Google Map พร้อมบริการจดชื่อ Domain หรือ ย้าย Domain และ Hosting ให้ และพื้นที่เว็บ 3 GB (ใส่รูปภาพได้ประมาณ 1,000 รูป)
นอกจากนี้ ไอท้อปพลัสยังจัดอบรมการทำเว็บไซต์ รวมถึงให้ความรู้ด้านการตลาดออนไลน์โดยทีมงานมืออาชีพให้อีกด้วย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใด ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SME สามารถต่อยอดธุรกิจของท่านให้เติบโตยิ่งขึ้นไปอีก
โดยนายกัมพล ธนาปัญญาวรคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอท้อปพลัส จำกัด กล่าวถึงเทรนด์ของเว็บไซต์ในยุคการตลาดออนไลน์ ว่า “ปัจจุบันเครือข่ายมือถือมีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทั้งเรื่องความเร็วและความครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ส่งผลให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยน จากเดิมเข้าเน็ตผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มาเป็นเข้าเน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือแทน ตามที่ผลสำเร็จของ ETDA ระบุว่าคนไทยใช้โทรศัพท์มือถือในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุด เฉลี่ย 5.7 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมาคือคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) และคอมพิวเตอร์พกพา (Laptop, Notebook) ตามลำดับ ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า คนไทยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุดในทุกช่วงเวลา
ในขณะที่ เว็บไซต์ในประเทศไทยเกินกว่า 50% ยังเป็นเว็บไซต์แบบเก่าที่ไม่รองรับการแสดงผลบนหน้าจอมือถือ หรือไม่ฟิตพอดีกับหน้าจอทุกประเภท ทำให้เวลาเข้าเว็บผ่านมือถือ คอนเทนต์บนเว็บ ทั้งเมนู ข้อความ และภาพ จะจัดเรียงไม่เป็นระเบียบ ไม่สวยงาม หาข้อมูลยาก เพราะไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับบนหน้าจอได้ทุกขนาด เมื่อผู้บริโภคเข้าเว็บผ่านมือถือ ก็จะอ่านยาก ต้องเสียเวลามากในการหาข้อมูล และอาจเปลี่ยนไปดูเว็บอื่นที่สะดวกกว่าแทน ก็จะทำให้เจ้าของธุรกิจเว็บไซต์นั้น ๆ พลาดโอกาสในการขายสินค้าทันที
อีกทั้ง ปัจจุบันคนอดทนอยู่หน้าจอได้ไม่เกิน 10 วินาที การเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ให้สามารถรองรับได้ทุกหน้าจอ (Responsive Website) จะช่วยให้ผู้เข้าเว็บไซต์ดูรายละเอียดสินค้าได้ง่ายขึ้น เป็นการสร้างโอกาสในการขายต่อไป
ไอท้อปพลัส จึงให้ความสำคัญกับการสร้างเว็บไซต์ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือปราการด่านแรกในการเสนอขายสินค้าให้กับผู้บริโภค โดยจะออกแบบเว็บไซต์ให้สามารถรองรับทุกหน้าจอ (Responsive Website) ได้ในคราวเดียวเลย ในทุกแพ็กเกจ ด้วยราคาที่ประหยัดและคุ้มค่าที่สุด เหมาะทั้งสำหรับธุรกิจที่มีเว็บไซต์อยู่แล้ว แต่ต้องการรีโนเวทใหม่ และธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นจะทำเว็บไซต์
ซึ่งคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้ มีแนวโน้มว่า Google จะประกาศผลักเว็บไซต์ที่ไม่เป็น Responsive Website ให้ลงจาก Auto Feed ในหน้า Search ของ Google ดังนั้นเจ้าของเว็บไซต์ควรต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้” นายกัมพลกล่าวสรุป
เกี่ยวกับไอท้อปพลัส
เริ่มต้นจากการเป็นผู้ให้บริการรับจัดทำเว็บไซต์ และก้าวสู่ผู้นำในการให้บริการด้านการตลาดออนไลน์แบบครบวงจรสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจ SME ในประเทศไทย โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ จากการรับทำเว็บไซต์แบบมาตรฐานให้แก่ผู้ประกอบการ และพัฒนาสู่เว็บไซต์อัจฉริยะที่เจ้าของสามารถบริหารจัดการได้เองโดยไม่ต้องมีความรู้ด้านไอที นอกจากนี้ ยังออกแบบเว็บไซต์ให้รองรับการใช้งานบนมือถือ (Responsive Design) เพื่อตอบรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมค้นหาสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้ประกอบการไม่พลาดโอกาสทางธุรกิจ
ไอท้อปพลัส ได้ริเริ่มนำวิธีการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผ่าน Google หรือ Google AdWords เข้ามาให้บริการ และได้รับความนิยมจนขยายฐานลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และในปี 2556 สามารถก้าวขึ้นสู่การเป็นGoogle SME Premier Partner ของประเทศไทย ซึ่งใช้ระยะเวลาเพียง 2 ปี นับจากเริ่มเปิดให้บริการ