- Details
- Category: ไอที-เทคโนฯ
- Published: Wednesday, 04 May 2016 13:26
- Hits: 2037
แซสฉลองรายได้ 3.16 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2015 เป็นประวัติการณ์ในรอบ 40 ปี
ซอฟท์แวร์อัจฉริยะจัดการความเสี่ยง การทุจริต และรักษาความปลอดภัย ทำให้ยอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่องกว่า 40 ปี
กรุงเทพฯ - ความต้องการของลูกค้าเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ฉัจฉริยะที่สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยง การทุจริต และรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น มีส่วนช่วยทำให้ยอดขายของแซสเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 40 ปี โดยล่าสุดแซสแถลงถึงรายได้จากการดำเนินงานทั้งหมดกว่า 3.16 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2015 ซึ่ง 6.4 เปอร์เซ็นอยู่ในสกุลเงินคงที่ (2.3 เปอร์เซ็น เป็นสกุลเงินดอลล่าสหรัฐ) และยอดขายซอฟท์แวร์ที่เติบโตขึ้นถึง 12 เปอร์เซ็นในสกุลเงินคงที่ (8 เปอร์เซ็น เป็นสกุลเงินดอลล่าสหรัฐ) นับเป็นตัวเลขการเติบโตที่ดีของซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูลของแซส
มร. จิม กู๊ดไนท์ ซีอีโอของแซส กล่าวว่า กว่า 40 ปีมาแล้วที่แซสได้ช่วยเปลี่ยนโลกให้ลูกค้าของเราด้วยซอฟท์แวร์การวิเคราะห์ และในฐานะที่เป็นผู้นำด้านซอฟท์แวร์การวิเคราะห์ เราจะยังคงเป็นบริษัทที่ผู้คนให้ความสนใจเมื่อต้องการความเชี่ยวชาญและโซลูชั่นอันยอดเยี่ยมแบบหาคู่แข่งไม่ได้ โดยรายได้ทั้งหมดของแซสจากทั่วโลกนั้นเด่นชัดเป็นอย่างมาก เปอร์เซ็นการเติบโตของยอดขายใหม่นั้นแตะเลข 2 หลักในเกือบทุกภูมิภาค แสดงให้เห็นถึงผลลัพท์ความสำเร็จในการขยายตลาดไปทั่วโลก นอกจากซอฟท์แวร์อัจฉริยะจัดการความเสี่ยง การทุจริต และรักษาความปลอดภัยจะช่วยเพิ่มความสามารถใหม่ ๆ แล้ว ภูมิภาคต่าง ๆ ยังคงความเติบโตของเทคโนโลยีหลัก อย่าง การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ และธุรกิจอัจฉริยะของแซสอย่างต่อเนื่อง โดยสัดส่วนลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดของแซสนั้นมาจาก บริการทางการเงิน รัฐบาล และบริษัทประกัน ลูกค้าในกลุ่มนี้ได้แก่ Bank of America, HSBC, บริษัทประกันจากเยอรมัน Munich Re และธนาคารชั้นนำของไอร์แลนด์ permanent tsb รวมไปถึงองค์กรของรัฐจากประเทศสหรัฐอเมริกาอย่าง Delaware State Police และ California’s Orange County Child Support Services อีกด้วย ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตที่สุดได้แก่ ธนาคาร, การผลิต, การค้าปลีก, และการบริการ
นอกจากนี้ แซสยังมองแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยีคลาวด์ โมบายล์ และพื้นที่ IoT ซึ่งซอฟท์แวร์ SAS Cloud Analytics ของแซสได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและถูกใช้โดยลูกค้าในกว่า 70 ประเทศ ด้วยการคาดการณ์ว่าจะมีอุปกรณ์เชื่อมต่อมากกว่า 4 หมื่นล้านเครื่องเข้าสู่ตลาดภายในปี 2020 เทคโนโลยี IoT จะเร่งการพัฒนา รวมทั้งความก้าวหน้าอย่าง สมาร์ทซิตี้ ที่ผู้เชี่ยวชาญจากแซสจะเป็นผู้ใช้งานหลัก ยิ่งไปกว่านั้น ในขณะที่โอกาสของนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นด้วยการเชื่อมต่อในปัจจุบัน ความเสี่ยงในการโดนโจมตีก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน และแซสได้เปิดตัวเทคโนโลยี SAS Cybersecurity เพื่อช่วยต่อสู้กับความเสี่ยงนั้น
นวัตกรรมที่ตอบโจทย์เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกค้าพึ่งพอใจ
นายแรนดี้ การ์ด หัวหน้าฝ่ายการตลาด, แซส กล่าวว่า จากนักวิเคราะห์ แซสมี โซลูชั่นวิเคราะห์ข้อมูลที่ให้แทบทุกสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลหรือธุรกิจที่ใช้งานต้องการ ซึ่งความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมของแซสทำให้มันเกิดขึ้นได้ โดยในปี 2015 แซสได้ใช้ทุน 25 เปอร์เซ็นของรายได้ทั้งหมดไปกับการทำวิจัยและพัฒนา ซึ่งมากกว่าบริษัทไอทีชั้นนำอื่น ๆ เกือบสองเท่า และยิ่งแซสเติบโต แซสก็จะยังคงแบ่งเงินจำนวนมากจากรายได้เพื่อไปทำวิจัยและพัฒนาอยู่เสมอ และในปีนี้แซสใช้งบในงานวิจัยมีสัดส่วนคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำให้แซสยังคงก้าวทันนวัตกรรมการวิเคราะห์อยู่เสมอ และสามารถรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดเอาไว้ได้
โดยลูกค้าของแซสจะได้ประโยชน์อย่างนับไม่ถ้วนจากซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล และนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เปิดตัวในปีที่ผ่านมาได้แก่
- SAS Cybersecurity นวัตกรรมที่ทำให้ลูกค้าสามารตรวจจับการกระทำของผู้บุกรุกระบบได้อย่างทันท่วงที
- SAS Event Stream Processing นวัตกรรมช่วยให้ลูกค้าวิเคราะห์ข้อมูลการทำธุรกรรมได้หลายล้ายรายการต่อวินาที
- SAS Data Loader for Hadoop นวัตกรรมที่ทำให้การจัดการข้อมูล big data ที่กำลังเติบโตง่ายขึ้น
- SAS Factory Miner นวัตกรรมที่มีโมเดลการพัฒนาแบบอัตโนมัติ และมีความสามารถในการเลือก และเทคนิค machine learning ให้ใช้งาน
นอกจากนวัตกรรมใหม่ ๆ เหล่านี้แล้ว พอร์ตฟอลิโอของแซสยังคงช่วยเหลือ และสร้างความแตกต่างให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี SAS Visual Analytic ได้ช่วย International Organization for Migration ซึ่งสามารถระบุที่พักพิงที่มีความเสี่ยงสูง และจัดสรรทรัพยากรเพื่อสร้างหลังคาให้กับผู้ประสบภัยหลายพันคนในเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลด้วยนวัตกรรมเหล่านี้ทำให้แซสมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 1,800 รายในปี 2015 หรือมีลูกค้ามากถึง 80,000 ราย ในปัจจุบัน(รวมไปถึง Lenovo และ Orlando Magic) ซึ่งจำนวนลูกค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนี้ เกิดจากความมุ่งมั่นที่จะให้คุณภาพและบริการที่ดี ทำให้แซสได้รับฉายาจาก Temkin Group ว่าเป็นเบอร์ 1 ในด้านความพึงพอใจของลูกค้า ความซื่อสัตย์ และมีแรงผลักดันในการซื้อเทคโนโลยีของแซส
เทคโนโลยีแซสช่วยให้พาร์ทเนอร์เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น
ในปี 2015 พาร์ทเนอร์ของแซสมีส่วนช่วยในการผลักดันยอดขายใหม่ ๆ กว่า 30 เปอร์เซ็น และเกือบครึ่งของข้อเสนอ ใหญ่ ๆ ที่แซสได้รับมาผ่าน SAS channel ก็กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
หลังจากเกิดการตอบรับกับตัวแทนจำหน่ายระดับโลกอย่าง Arrow Electronics แซสยังได้เซ็นสัญญากับผู้ค้าปลีกอีกกว่า 150 ราย รวมทั้งได้บันทึกข้อตกลง OEM ร่วมกับ Toshiba Global Commerce Solutions และยังเซ็นสัญญาร่วมกับ Managed Analytic Services Providers (MASPs) เป็นครั้งแรกอีกด้วย เพื่อช่วยลูกค้าในการปรับใช้เทคโนโลยีแซสให้เข้ากับความต้องการและผู้ใช้สืบต่อไปในอนาคตด้วย
ความก้าวหน้าของแซสในปี 2016
ศูนย์วิจัยข้อมูล IDC รายงานว่า แซสมีส่วนแบ่งในตลาดวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ซึ่งคาดเดาข้อมูลมากถึง 33.33 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นส่วนแบ่งตลาดที่ใหญ่กว่า 24.5 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทคู่แข่งอีก 9 บริษัทรวมกันเสียอีก นอกจากนี้แซสยังได้รับฉายาจากนักวิเคราะห์เชิงอุตสาหกรรมว่าเป็นผู้นำในด้านการจัดการข้อมูล การตรวจจับการทุจริต การค้าปลีก เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าอัจฉริยะหรือ BI (Business Intelligent)
โดยแซสยังคงวางแผนจะส่งมอบนวัตกรรมในด้านการวิเคราะห์ระบบคลาวด์ และให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูล นวัตกรรม BI การแสดงข้อมูล การจัดการข้อมูล เทคโนโลยีลูกค้าอัจฉริยะ การตรวจจับการทุจริต โซลูชั่นรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ และการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และแซสจะยังให้เทคโนโลยี SAS big data analytics ในเวอร์ชั่นที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย
นอกจากการเติบโตของซอฟต์แวร์แล้ว แซสยังจะขยายขอบเขตการทำงานในปี 2016 ด้วยการเพิ่มพนักงานฝ่ายขาย และสร้างศูนย์ลูกค้าใหม่ในดับลินและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยแซสจะเปิดสำนักงานใหม่ที่เมืองดีทรอยท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และบริษัทจะสร้างอาคารใหม่ ณ ที่สำนักงานใหญ่ของแซสที่เมือง Cary รัฐนอร์ท แคโรไลนาอีกด้วย
มุ่งเข้าถึงสถาบันการศึกษาเพื่อลดช่องว่างทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับนักศึกษาที่จบออกมา
นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันแซสได้ให้การฝึกอบรมด้านทักษะการวิเคราะห์ผ่านซอฟท์แวร์ SAS Analytics U ซึ่งได้เป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมหลายแห่งในต่างประเทศ ซึ่งยอดใช้งาน SAS Analytics U นั้นมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด และเป็นหนึ่งในวิธีที่แซสนำมาใช้ในประเทศไทยเพื่อลดช่องว่างของทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล เพิ่มทักษะการเรียนรู้แซสในสถาบันการศึกษา และขณะนี้แซส ได้มีการทำ Workshop อบรมการใช้แซสให้กับนักศึกษาภาควิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง อีกด้วย
สำหรับ ยอดดาวน์โหลดการใช้ซอฟต์แวร์แซสในต่างประเทศ มีการลงทะเบียนมากกว่า 520,000 ครั้ง ทั้งซอฟต์แวร์ SAS University Edition และ SAS OnDemand ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น และมีผู้ใช้งานกว่า 45,000 รายได้ลงทะเบียนคอร์สเรียนออนไลน์ฟรี
รวมทั้งสถาบันอบรมเกี่ยวกับ Data Science ของแซสพึ่งเปิดตัว เพื่อให้การรับรองเกี่ยวกับ SAS Certified Big Data Professional และ SAS Certified Data ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ผู้ที่สนใจเข้ามาอบรมซอฟต์แวร์แซสเพิ่มขึ้น ซึ่งสถาบันอบรมแห่งนี้สอนทักษะเกี่ยวกับการจัดการข้อมูล big data การวิเคราะห์ขั้นสูง machine learning และการดูข้อมูล เป็นต้น
เกี่ยวกับบริษัท แซส\
บริษัท แซส เป็นผู้นำในตลาดซอฟต์แวร์และบริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ (Business Analytics) ด้วยโซลูชั่นเชิงนวัตกรรมที่ให้ลูกค้าในรูปของ Integrated Framework และเทคโนโลยีสำหรับการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการเข้าถึงข้อมูลช่วยให้ลูกค้าของแซส ที่มีมากกว่า 75,000 แห่งทั่วโลก สามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้ดี และรวดเร็วยิ่งขึ้น และนับตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา แซส เดินหน้าอย่างมุ่งมั่นในการเป็น "พลังแห่งการรอบรู้" หรือ The Power to Know® สำหรับลูกค้าทั่วโลก