WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

โซ-เน็ตเดินหน้าขยายช่องทางการจัดจำหน่าย 'แอล ที อี ซิม ประเภทจ่ายก่อน' หวังช่วยอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวไทยไปญี่ปุ่น

โซ-เน็ต คอร์เปอเรชั่น บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น เดินหน้ารุกตลาด ขยายช่องทางการจัดจำหน่ายซิมการ์ดประเภทจ่ายก่อน “พรีเพด แอล ที อี ซิม”(Prepaid LTE SIM) ภายในเดือนนี้ (กรกฎาคม) ทั้งนี้โซ-เน็ต ซิมการ์ดได้เริ่มวางจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นแล้วตั้งแต่วันที่ 22เมษายน ที่ผ่านมา

พรีเพด แอล ที อี ซิม” คือ อินเทอร์เน็ตไร้สายประเภทจ่ายก่อน ให้บริการการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์* ผ่านการใช้เครือข่าย Xi® (LTE) และ FOMA® (3G) ที่ดำเนินการโดย NTT DOCOMO ด้วยบริการที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดในประเทศญี่ปุ่น และยังใช้งานง่ายเพียงทำตามขั้นตอนในเว็บไซด์ เหมาะสำหรับทุกๆ คนที่ต้องการจะใช้การสื่อสารข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต

ขณะนี้ โซ-เน็ต เริ่มขยายช่องทางการจำหน่าย “พรีเพด แอล ที อี ซิม” ให้ครอบคลุมมากขึ้น อาทิ ที่สนามบิน ชิซุโอกะ/ ในเที่ยวบินของสายการบิน พีช เอเวียชั่น (Peach Aviation)*1/  ร้านโยโดบาชิ คาเมร่า (Yodobashi Camera) (เริ่มจำหน่ายสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้)/ ร้านลาออกซ์ (Laox) ในเมืองอากิฮาบาระ และที่กินซ่า เพิ่มเติมจากการวางจำหน่ายที่สนามบินนานาชาตินาริตะ และคันไซ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้นักท่องเที่ยวไทยได้รับความสะดวกกว่าที่ผ่านมา

*1 นับเป็นครั้งแรกของ พรีเพด ซิม ที่มีการจำหน่ายผ่านเที่ยวบินของสายการบินญี่ปุ่นในเส้นทางระหว่างประเทศ (จากผลสำรวจของโซ-เน็ต เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2557)

เป็นพรีเพดซิมการ์ดยี่ห้อแรกที่มีการวางจำหน่ายบนเที่ยวบินในสายการบินของประเทศของญี่ปุ่

นายอิชิโร โอคุมะ (ประธานการวางแผนบริการ ของโซ-เน็ต คอร์เปอเรชั่น) เผยว่า 'พรีเพด แอล ที อี ซิม จะเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากต่อนักท่องเที่ยว ด้วยคุณสมบัติพิเศษต่างๆ มากมาย ดังนี้'

  • ซิมการ์ดประเภทเติมเงิน จะทำให้คุณหมดกังวลกับค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บ
  • ง่ายต่อการใช้งาน สามารถใช้กับสมาร์ทโฟนของคุณ -ใช้ได้ทันทีทีสนามบิน-
  • สะดวกสบายด้วยตู้จำหน่ายแบบหยอดเหรียญ -ที่สนามบินนานาชาติคันไซ

o   ไม่ต้องกังวลว่าจะมีบิลมาเก็บค่าบริการภายหลัง เพราะเป็นการใช้ซิมแบบจ่ายก่อนล่วงหน้า

o   สามารถใช้งานการส่งถ่ายข้อมูลข้ามประเทศผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ในการเริ่มต้นใช้งานหลังจากได้ซิมการ์ด

o   ซิมการ์ดนี้จะช่วยให้การเดินทางมาประเทศญี่ปุ่นเป็นไปอย่างสะดวกสบาย โดยสามารถเข้าสู่เว็บไซต์ได้อย่างง่ายดายที่สนามบิน และสามารถนำไปใช้ในที่อื่นๆ ด้วยการตรวจสอบสถานที่ที่อยู่ ณ ขณะนั้น ผ่านแอพพลิเคชั่นแผนที่ในเครื่องสมาร์ทโฟน

o   มีวางจำหน่ายตลอด 24ชั่วโมงทุกวัน แม้เคาร์เตอร์บริการจะปิดทำการ

o   นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่ต้องกังวลเรื่องข้อจำกัดด้านภาษา

o  มี 2แบบ 3ขนาดให้เลือก

ประเภทรูปแบบ

การรองรับข้อมูล

ระยะเวลาการใช้งาน

ราคา

ขนาดของซิมการ์ด

ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูล

100MB

100

เมกะไบต์

30 วัน

3,000 เยน/

952.5 บาท

(ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ซิมปกติ

150เมกะไบต์ สำหรับการดาวโหลด และ 50

เมกะไบต์สำหรับอัพโหลดข้อมูล

ไมโครซิม

นาโนซิม

500 MB

500

เมกะไบต์

60 วัน

5,000 เยน/ 1,587.5 บาท

(ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ซิมปกติ

ไมโครซิม

นาโนซิม

ราคาอาจจะมีความแตกต่างในแต่ละสถานที่จำหน่าย

o   สามารถเพิ่มความสามารถในการรองรับข้อมูลได้ในภายหลัง

 

การรองรับข้อมูล

ระยะเวลาการใช้งาน

ราคา

ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูล

เพิ่ม

200 MB

200

เมกะไบต์

30 วัน

1,500 เยน/

476.25 บาท

(ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

150 เมกะไบต์ สำหรับการดาวโหลด และ 50

เมกะไบต์สำหรับอัพโหลดข้อมูล

เพิ่ม

500 MB

500

  เมกะไบต์

30 วัน

2,000 เยน/635 บาท

(ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

เพิ่ม

1 GB

1

กิกกะไบต์

60 วัน

2,838 เยน/ 901 บาท

(ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

อัตราแลกเปลี่ยน (โดยประมาณ) 100 เยน = 31.75 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2557)

ซิมปกติ                                       ไมโครซิม                              นาโนซิม                                     

สามารถหาซื้อได้ที่

สถานที่

ที่ตั้ง

รูปแบบการขาย

เปิด-ปิด

1.

สนามบินนานาชาติคันไซ

ด้านเหนือและตะวันตก การเดินทางระหว่างประเทศ ฝั่งขาเข้า ประตู 1F

ตู้จำหน่าย

24 ชั่วโมง

2.

สนามบินนานาชาตินาริตะ

ศูนย์โทรศัพท์มือถือ สนามบินนาริตะ       เทอมินอล 1 และ 2 ชั้น B1

มีพนักงานขาย

ทุกวันเวลา 7:30ถึง 21:00

3.

สนามบินชิโตเสะแห่งใหม่

ศูนย์โทรศัพท์มือถือ

ของสนามบินชิโตเสะแห่งใหม่

(บริเวณชั้นสองของฝั่งผู้โดยสารขาเข้า)

มีพนักงานขาย

ทุกวันเวลา 8:00ถึง 17:00

4.

ร้านอากิเบาโอะ (Akibaoo)

บางร้านค้าในโตเกียว

มีพนักงานขาย

ทุกวันเวลา 11:00ถึง20:00

5.

ร้านบุ๊ค ออฟ (BOOK OFF)

สถานีรถไฟชินจูกุ (ฝั่งทางออกด้านตะวันตก)

มีพนักงานขาย

ทุกวันเวลา 10:00ถึง 23:00

6.

ร้าน Big West International Prepaid SIM Card Shop (อิเคะบุคุโระ)

อิเคะบุคุโระ

มีพนักงานขาย

10:30 ถึง 19:00

ปิด: เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

7.

ร้านลาออกซ์ (Laox) ที่อากิฮาบาระ

อากิฮาบาระ

มีพนักงานขาย

ทุกวันเวลา 10:00ถึง 19:00

8.

ร้านลาออกซ์ (Laox) สาขาใหญ่ที่กินซ่า

กินซ่า

มีพนักงานขาย

ทุกวันเวลา 10:00ถึง 20:00

9.

 ร้าน Wasabee

โตเกียว

มีพนักงานขาย

จันทร์-ศุกร์เวลา8:00ถึง 20:00

 เสาร์เวลา 10:00ถึง 18:00

ปิดวันอาทิตย์ และวันหยุดประจำปี

10.

ร้าน World MOBA อากิฮาบาระ

อากิฮาบาระ

มีพนักงานขาย

จันทร์-ศุกร์เวลา11:00 ถึง 20:00, เสาร์-อาทิตย์ เวลา10:30 ถึง 19:30

(ปิดทุกวันที่ 1-3มกราคม)

11.

ร้านสะดวกซื้อ Coco/Everyone

เฉพาะบริเวณเกาะคิวชู

มีพนักงานขาย

ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้า

12.

สนามบินชิซูโอกะ

ชั้น 1 บริเวณฝ่ายให้ข้อมูลข่าวสารด้านผู้โดยสารขาเข้า

มีพนักงานขาย

ทุกวัน เวลา 8:00ถึง 18:00

13.

สายการบินพีช เอเวียชั่น

จำหน่ายบนเครื่องบิน (เฉพาะเที่ยวบินระหว่างประเทศจากสนามบินคันไซ)

รับได้จากพนักงาน
หลังลงจากเครื่อง
ที่เทอมินอล 2

ขึ้นอยู่กับแต่ละเที่ยวบิน

14.

ศูนย์ข้อมูล/ ศูนย์จำหน่ายตั๋วที่สถานีเกียวโต

(ประมาณเดือนกรกฎาคม)

สถานีเกียวโตและสถานีคาราซึมะ

 (บริเวณทางออกกลาง)

มีพนักงานขาย

ทุกวัน เวลา 07:30ถึง 19:30

15.

Kotochika(ที่ศูนย์บริการข้อมูลเกียวโต)

(ประมาณเดือนกรกฎาคม)

สถานีรถไฟเกียวโต (บริเวณเครื่องขายตั๋ว)

มีพนักงานขาย

ทุกวัน เวลา 07:30ถึง 19:30

16.

ร้านโยโดบาชิ คาเมร่า              (Yodobashi Camera)
(ประมาณสิ้นเดือนกรกฎาคม)

ทุกร้านค้า

มุมของแผนกขายโทรศัพท์มือถือ

ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้า

ความเร็วในการเชื่อมต่อไม่สามารถเป็นสิ่งบ่งชี้ความเร็วสูงสุดที่แท้จริงในการสื่อสาร ความเร็วนี้จะแตกต่างหรืออาจจะช้าลงขึ้นอยู่กับสภาวะการเชื่อมต่อซิมการ์ดที่ใช้โดยผู้ใช้บริการเครื่องมือสื่อสารสภาวะของเครือข่าย และเหตุอื่นๆ

อุปกรณ์ที่นำมาใช้กับบริการนี้จะต้องจัดเตรียมโดยผู้ใช้บริการเอง และจะต้องรองรับ Xi® หรือ FOMA® รวมไปถึงได้รับการรับรองเครื่องหมาย อาทิ Technical Regulations Conformity Certification ของ Specified Radio Equipment (TechnicalConformity Mark).

 

เกี่ยวกับโซ-เน็ต คอร์เปอเรชั่น

ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 ในฐานะผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตของโซนี่กรุ๊ป โดยให้บริการด้านไอที ภายใต้ชื่อ “โซ-เน็ต”โซ-เน็ต ดำเนินงานโดยให้บริการด้านไอทีอย่างมุ่งมั่น ด้วยวิสัยทัศน์ของการเป็น “ผู้ส่งผ่านคุณค่าใหม่”ผ่านการเชื่อมต่อแห่งยุคทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางอินเทอร์เน็ตและความหลากหลายของความต้องการของผู้บริโภคโดยข้อมูลในเดือนมีนาคม 2557 ที่ผ่านมาพบว่า บริการด้านบรอดแบรนด์ของโซ-เน็ต มีจำนวนสมาชิกถึง 2.35 ล้านราย http://www.so-net.ne.jp

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

เวคเตอร์ กรุ๊ป

พิมพ์ไพลิน ธีระลีลา หรือ สุศิริ สุสังกรกาญจน์

089-118-7365/ 089-014-6262

[email protected] หรือ [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!