WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1EGAศกด เสกขนทด

EGA ลุยแผนรัฐบาลดิจิทัลสุดตัว เดินเกมประสานข้อมูลสำรอง เตรียมบูรณาการข้อมูลรูปแบบใหม่ ยกระดับทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน พร้อมสร้างระบบรักษาความปลอดภัยและปกป้องความเป็นส่วนตัวของประชาชน

      ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA เปิดเผยว่า หลังจากที่ร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี พ.ศ. 2559-2561 เข้าสู่กระบวนการเห็นชอบของรัฐบาลนั้น ทาง EGA ได้ผลักดันมาตรการในแผนเพื่อต่อยอดความสำเร็จในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลแบบต่อเนื่อง โดยในปีนี้จะเลือกยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถรองรับการไปสู่รัฐบาลดิจิทัลเป็นยุทธศาสตร์หลักของปีนี้

      ในแผนรูปธรรมนั้นจะมีการปรับจากโครงการดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ มาเป็นระบบข้อมูลสำรองหน่วยงานรัฐ โดยจะให้หน่วยงานรัฐทุกแห่งเปลี่ยนการลงทุนเรื่องการทำ Back-up site หรือการทำจุดสำรองข้อมูลมาไว้ที่ EGA เพื่อเตรียมการรองรับการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในด้านการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินงาน ทำให้เห็นข้อมูลประชาชนเป็นภาพเดียวที่สมบูรณ์ สามารถปรับเทคโนโลยีที่หลากหลายให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การให้บริการรัฐแบบครบวงจรต่อไป

     ปัจจุบันทาง EGA ได้เริ่มดำเนินการให้บริการ Back-up หรือสำรองข้อมูลให้กับหน่วยงานรัฐผ่านระบบคลาวด์คอมพิวติ้งอยู่แล้ว แต่ยังไม่เป็นภาคบังคับ อย่างไรก็ตามบริการนี้ได้รับความนิยมจากหน่วยงานรัฐที่ใช้ระบบ g-cloud ของ EGA จำนวนมาก ซึ่งในแผนต่อไปนี้จะมีการลงทุนในสาธารณูปโภคส่วนนี้มากขึ้น คาดว่าในปีนี้จะมีจุดให้หน่วยงานรัฐได้ทำสำรองข้อมูลได้ถึง 3 จุดใน 3 จังหวัด

     ต่อจากนั้นทาง EGA จะเร่งให้เกิดการบูรณาการข้อมูลประชาชนและนิติบุคคลจากหลากหลายหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้เป็นภาพเดียว หรือ Single View of Citizen เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของงานบริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อย่างไรก็ตามขณะนี้ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบมีปริมาณมาก หลากหลาย และซับซ้อน ถูกเก็บอยู่ในหลายหน่วยงาน ที่มีมาตรฐานต่างกัน และ มีกฎระเบียบที่จำกัดการบูรณาการข้อมูลในเชิงปฏิบัติ ดังนั้น EGA จะเข้ามาประสานงานให้เกิดระบบเชื่อมโยงข้อมูลกลางเพื่อบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานโดยใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลัก และสร้างระบบรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบุคคลขึ้นมา

    สิ่งที่จะตามมาหลังจากการวางระบบเสร็จแล้วก็คือ ต่อไปประชาชนจะสามารถยืนยันตัวตนและบริหารจัดการสิทธิ์โดยใช้ smart card หรือผ่านบัญชีผู้ใช้อิเล็กทรอนิกส์กลางได้ โดยจะมีบริการข้อมูลการบริการผ่านจุดเดียวโดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางเกิดขึ้นตามมา จนถึงที่สุดคือจะเกิดระบบแก้ไขเรื่องร้องเรียนและการเข้าถึงความต้องการเชิงรุกของประชาชนแบบรวดเร็ว

   สำหรับ การต่อยอดในภาคธุรกิจนั้น EGA ได้เลือกธุรกิจท่องเที่ยว การเกษตร การลงทุน การนำเข้าและส่งออก การส่งเสริม SMEs และระบบภาษีแบบบูรณาการ ซึ่งล่าสุดทาง EGA ร่วมมือกับกรมบัญชีกลางได้จัดทำระบบการบูรณาการข้อมูลเพื่อทำให้ประชาชนได้รับรู้ว่าภาษีที่แปลงเป็นงบประมาณลงในพื้นที่ต่างๆ ได้รับการจัดสรรไปแต่ละพื้นที่อย่างไร ซึ่งเป็นตัวอย่างของการบูรณาการข้อมูลในรูปแบบ Open Data

    ในด้านการส่งเสริมภาคธุรกิจก็มีความร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ กพร.จัดตั้ง Biz Portal ภายใต้ชื่อเว็บ biz.govchannel.go.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์แหล่งรวมทั้งข้อมูลและบริการทางภาคธุรกิจของภาครัฐทั้งหมด และในอนาคตจะนำเข้ามาสู่เว็บไซต์กลางคือ govchannel.go.th จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งระบบได้เป็นอย่างดี

   “GovChannel ที่เริ่มต้นจากปลายปีที่ผ่านมาจะขยายตัวมากขึ้น ประชาชนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม นอกจากการเข้าผ่านคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ในส่วนของ Kiosk ก็ต้องเพิ่มเข้ามามากขึ้นจากเดิมในปัจจุบันมี 3 จุด ก็จะขยายให้มากกว่าเดิม และจะมีการเพิ่มบริการใหม่ๆ อย่างข้อมูลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จากคุรุสภา, ระบบตรวจสอบนัดหมาย ของโรงพยาบาลรามาธิบดี, ระบบข้อมูลสุขภาพ ในสังกัด สำนักปลัด กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้นดร.ศักดิ์กล่าว

   ส่วนการสานต่องานเดิมคือ การเร่งให้ศูนย์รวมแอปพลิเคชันภาครัฐหรือ Government Application Center (GAC) เติบโตขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 173 แอปพลิเคชัน จาก 110 หน่วยงาน คาดว่าภายในปีนี้จะเติบโตขึ้นถึง 300 แอปพลิเคชัน ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้ใช้บริการภาครัฐสะดวกขึ้น เพราะแอปพลิเคชันส่วนใหญ่จะเน้นในการให้บริการผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่

     ด้านการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีของภาครัฐ EGA จะยังคงสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเป็นพื้นฐาน และในปีนี้จะผลักดันให้การใช้ Big Data เกิดขึ้นในหน่วยงานนำร่องมากขึ้น โดยเฉพาะหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการจราจรจะต้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างทันที หรือ real time ได้ ซึ่งในช่วงสงกรานต์ของปีนี้จะมีการทดสอบระบบ Big Data ครั้งใหญ่ของประเทศ

    ในปีนี้แผนของ EGA จะเน้นทั้งการพัฒนาและยกระดับภาครัฐให้ไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้เร็วขึ้น และการยกระดับครั้งนี้จะต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไปด้วยพร้อมกันและยังต้องสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ รวมถึงยกระดับความมั่นคงและเพิ่มความปลอดภัยของประชาชนด้วย ถือเป็นแผนงานแตกต่างจากปีที่ผ่านๆ มาของ EGA อย่างมาก จากที่ปีแรกๆ จะเน้นการสร้างสาธารณูปโภค การสร้างบริการพื้นฐาน การยกระดับเทคโนโลยี จนปีล่าสุดก็คือการสร้างระบบ  GovChannel  ที่รวบรวมช่องทางการติดต่อของภาครัฐกับประชาชนให้รวมมาอยู่ในจุดเดียวดร.ศักดิ์ กล่าวสรุป

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!