- Details
- Category: ไอที-เทคโนฯ
- Published: Friday, 20 June 2014 23:30
- Hits: 4784
AMD ตั้งเป้าพัฒนา APU ประหยัดพลังงาน 25 เท่า ภายในปี 2020
ต้าเหลียน สาธารณรัฐประชาชนจีน งาน China International Software and Information Service FairAMD ประกาศเป้าหมายการพัฒนาประสิทธิภาพการด้านใช้พลังงานใน APU ให้ดีกว่าเดิม 25 เท่าภายในปี ค.ศ. 2020 สูงกว่าเป้าหมายเดิมเมื่อหกปีที่แล้วซึ่งตั้งเป้าไว้ที่ 10 เท่า สำหรับรายละเอียดต่างๆ รวมถึงนวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นถูกนำเสนอโดย มาร์ค เปเปอร์มาร์คเกอร์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านเทคโนโลยีของ AMD ที่งานประชุม China International Software and Information Service Fair (CISIS) เมืองต้าเหลียน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกว่าสามสิบล้านเครื่องทั่วโลกใช้พลังงานมากกว่าร้อยละ 1 ของพลังงานที่ถูกใช้ต่อปี และคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ใช้พลังงานร้อยละ 1.5 ของบริมาณไฟฟ้าที่ใช้ต่อปี คิดเป็นเงิน 1.4-1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากความนิยมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต เครื่องมือสื่อสาร และข้อมูลในรูปแบบภาพและเสียงในระบบคลาวด์ที่มีมากขึ้น
“การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้พลังงานต่ำนั้นถือเป็นกลยุทธ์หลักทางธุรกิจของ AMD” เปเปอร์มาร์คเกอร์กล่าว “ด้วยสถาปัตยกรรมสำหรับ APU ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้น รวมถึงเทคนิคด้านพลังงานของ AMD ผู้บริโภคสามารถคาดหวังการพัฒนาด้านการพลังงานแบบก้าวกระโดดของหน่วยประมวลผลจาก AMD ได้ในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้ AMD ได้ตั้งเป้าจะปรับปรุงการใช้พลังงานของหน่วยประมวลผลให้ดีขึ้นกว่าเดิม 25 เท่าภายในปี 2020 นี้”
การพัฒนาด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานทางไอทีนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ นวัตกรรมสารกึ่งตัวนำต่างๆ ถูกนำมาใช้เพื่อค้นหาวิธีการประหยัดพลังงานรูปแบบใหม่ สำหรับ AMD นั้นมีการพัฒนาด้านการจัดการพลังงานของหน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานลงกว่า 10 เท่าในช่วงหกปีที่ผ่านมา และล่าสุดนี้ AMD ยังมีแผนที่จะลดการใช้พลังงานทั่วไปของอุปกรณ์เคลื่อนที่ลงถึง 25 เท่าในอีกหกปีข้างหน้าด้วย โดยมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานในหน่วยประมวลผลไปพร้อมกัน
ความเป็นผู้นำการสรรสร้างสถาปัตยกรรมประหยัดพลังงาน AMD มุ่งหวังที่จะเป็นผู้นำด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในปี ค.ศ. 2020 โดยมีกลยุทธ์หลักขององค์กรเกี่ยวกับการใช้พลังงานสามประการ ดังนี้
- การประมวลผลแบบ Heterogenous และการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงาน: ด้วยสถาปัตยกรรม Heterogeneous System Architecture (HSA) AMD ได้รวมเอาแกนประมวลผล GPU และ CPU รวมถึงแผงวงจรเร่งความเร็วอื่นๆ เข้าด้วยกันบนชิปเดียวในรูปแบบของ APU ซึ่งสามารถช่วยประหยัดพลังงาน โดยขจัดขึ้นตอนการเชื่อมต่อระหว่างชิป ลดกระบวนการการประมวลผลลง ทำให้หน่วยประมวลผลหลักและกราฟฟิกการ์ดมีสถานะเท่าเทียมกัน เพื่อช่วยให้การประมวลผลมีประสิทธิภาพและไหลลื่นยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการลดปริมาณพลังงานที่ถูกใช้อีกด้วย
- ระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะแบบ Real-time: ความสามารถในการจัดการงานอย่างรวดเร็วเพื่อกลับสู่โหมด Idle และลดการใช้พลังงานในช่วง Idle นั้นถือเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการพลังงาน APU ล่าสุดของ AMD นั้นสามารถวิเคราะห์ปริมาณงานและแอพพลิเคชั่นแบบ Real-time เพื่อปรับเร่งความเร็วในการประมวลผลให้สามารถประมวลผลและจัดการงานให้เสร็จเร็วขึ้น ก่อนกลับสู่โหมดประหยัดพลังงาน
- นวัตกรรมด้านพลังงานสำหรับอนาคต: การพัฒนาปรับปรุงด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานนั้น จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาทางเทคโนโลยี AMDตระหนักถึงความต้องการด้านการลดพลังงานเป็นอย่างดี จึงลงทุนศึกษาวิจัยเพื่อสร้างฟีเจอร์และเทคนิคใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้น
ทั้งนี้ เมื่อไม่นานมานี้ TIRIAS Research ได้แสดงความเห็นต่อแผนการด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานบนหน่วยปนะมวลผลของ AMD ว่ามีความน่าประทับใจ โดยเชื่อว่า AMD จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ด้วยการพัฒนากระบวนการต่างๆ ซึ่งรวมถึงการประหยัดพลังงานในโหมด Idle การเพิ่มประสิทธิภาพผ่านสถาปัตยกรรม HSA และระบบการจัดการพลังงาน ด้วยปัจจัยเหล่านี้ AMD ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการประมวลผล ขับเคลื่อนนวัตกรรมการประหยัดพลังงานแห่งอนาคต
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
- TIRIAS Research white paper
- ติดตามข่าวสารของAMD ทางเฟซบุ๊คได้ที่AMD on Facebook
- ติดตามข่าวสารของAMD ทางทวิตเตอร์ได้ที่ @AMD
- ติดตามข่าวสารของAMD ทางกูเกิลพลัสได้ที่AMD
เกี่ยวกับ AMD เอเอ็มดี เป็นผู้ออกแบบและประสานเทคโนโลยีที่ใช้ขับเคลื่อนอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แท็บเล็ตเกมคอนโซล และคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์แห่งยุค Surround Computing ยุคใหม่โซลูชั่นของเอเอ็มดีจะทำให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากแอพพลิเคชั่นและอุปกรณ์ชิ้นโปรดอย่างไร้ข้อจำกัด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่ www.amd.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณลินดามนุพงศ์ / พีอาร์แอนด์แอสโซซิเอส
โทรศัพท์(66) 2 651-8989 ต่อ 445
อีเมล์: [email protected]