- Details
- Category: ไอที-เทคโนฯ
- Published: Thursday, 11 July 2024 19:52
- Hits: 9310
OPEN-TEC ชี้ ‘ระบบอาคารอัจฉริยะ’ จะโตเพิ่มกว่า 150% ภายใน 2 ปี ‘People – Process - Technology’ 3 ความท้าทายหลักของการเปลี่ยนแปลง
“ระบบอาคารอัจฉริยะ” (Smart Building) กลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างอาคาร จากการศึกษาพบว่าจำนวนอาคารที่มีการใช้ระบบอาคารอัจฉริยะ จะมีตัวเลขเพิ่มขึ้นมากกว่า 150% ภายในปี 2026 ซึ่งการนำระบบอัจฉริยะมาใช้ภายในภาคธุรกิจ จะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนแรงงานและการทำงานที่ซ้ำซ้อนได้อีกเช่นกัน
OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ “ระบบอาคารอัจฉริยะ” จากงาน “Building Tech Forum 2023” ภายใต้หัวข้อ Building System Technologies in Digital Era ซึ่งมี ดร. ธิติ วัชรสินธพชัย Smart Property Project Director บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) เป็นผู้ให้ความรู้ด้าน Smart Building พบว่า
เทคโนโลยี กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับสู่การเป็นอาคารอัจฉริยะ การออกแบบหรือก่อสร้างอาคารอัจฉริยะจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนระยะยาวให้ครอบคลุมทุกขั้นตอน และเลือกสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสม สำหรับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจจะประกอบไปด้วย 6 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.การพัฒนาการประสิทธิภาพแบบเดี่ยวและกลุ่ม (Individual and Collaborative Productivity) 2. การพัฒนาสุขภาวะของผู้ใช้งานอาคาร (Health and Well Being) 3. การยกระดับชุมชน (Community) 4.การมีความยั่่งยืน (Sustainability) 5.การยกระดับการจัดการและบำรุงรักษาอาคาร (Maintenance and Optimization และ 6.การยกระดับความปลอดภัย (Security)
ความท้าทายหลักของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งภาคอสังหาริมทรัพย์จะต้องเผชิญระหว่างการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบอาคารอัจฉริยะ มี 3 ประการหลัก ได้แก่ 1.ด้านบุคลากร (People) ที่จำเป็นจะต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงาน 2. ด้านขั้นตอนการทำงาน (Process) ของการบริหารจัดการภาพรวมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3. ด้านเทคโนโลยี (Technology) ที่ต้องเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับรูปแบบการทำงานของอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น Building Information Modeling (BIM) เทคโนโลยีที่เปลี่ยนอาคารให้เป็นข้อมูล ผ่านกระบวนการสร้าง ประกอบ บริหารการออกแบบด้วยข้อมูลสามมิติ และ Computerized Maintenance Management System (CMMS) ระบบบริหารและจัดการงานซ่อมบำรุงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังต้องตระหนักถึงความสำคัญของการนำหลักแนวคิด ESG: Environment, Social, Governance มาใช้เพื่อเป็นมาตรฐานภายในองค์กร ส่งผลให้ภาคธุรกิจร่วมผลักดันการสร้างอาคารสีเขียว (GREEN) ซึ่งจะช่วยในการตอบโจทย์การบริหารจัดการระบบอาคารอัจฉริยะอย่างยั่งยืนและช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ตามข้อกำหนด Nationally Determined Contribution (NDC) ในที่สุด
อย่างไรก็ตาม “ระบบอาคารอัจฉริยะ” จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ล้วนขึ้นอยู่กับการวางแผนและการบริหารจัดการที่ดีในด้านบุคลากร ขั้นตอนการทำงาน และการเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม ซึ่ง “ระบบอาคารอัจฉริยะ” สามารถผลักดันให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนได้เช่นกัน
7360