WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ซีเอเทคโนโลยีเผยผลการศึกษาชี้บริษัทในเอเชียจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจยุคแอพพ์มากที่สุด

      พร้อมระบุผู้บริหารกว่า94% ชี้ถูกกดดันให้เปิดแอพพ์ใหม่ๆเร็วขึ้นให้ทันตลาดเปลี่ยนเร็ว

ซีเอเทคโนโลยี เผยผลการศึกษาล่าสุด ชี้บริษัทระดับเอนเทอร์ไพรซ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น(APJ) จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเศรษฐกิจยุคแอพพ์ เมื่อเทียบกับบริษัทจากทวีปอเมริกา ยุโรป  ตะวันออกกลางและอัฟริกา(EMEA) โดยมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริหารธุรกิจและไอทีระดับสูงในภูมิภาคAPJ บอกในการสำรวจว่ากำลังเห็นผลกระทบจากเรื่องนี้ต่ออุตสาหกรรมของตน(APJ:57%; ทวีปอเมริกา : 46%; EMEA: 45%) และมีอีก53% ที่ระบุว่าเริ่มเห็นผลกระทบต่อบริษัทของตนบ้างแล้ว (ทวีปอเมริกา : 45%; EMEA: 35%)

    อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นจะเริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่มีจากระบบเศรษฐกิจในยุคแอพพลิเชั่นแล้วแต่ในขณะนี้ ยังมีน้อยกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม(49%)เท่านั้นที่รู้สึกว่าตนเองรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงอุปสรรคสำคัญๆอย่างเช่น  การรักษาความปลอดภัยระบบ(41%)และติดขัดงบประมาณ(36%) เป็นต้น

จากการวิจัยในครั้งนี้ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจและเพื่องานรับมือกับเศรษฐกิจในยุคแอพพ์ได้ทำให้บรรดาบริษัทเอนเทอร์ไพรซ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นได้เริ่มเตรียมการต่างๆ ไปแล้วบ้างดังต่อไปนี้

  • ·เพิ่มระดับการลงทุนด้วยอัตราเฉลี่ยที่ราว18% ภายในช่วงเวลา5 ปีถัดไปข้างหน้า
  • ·เริ่มนำงานพัฒนาซอฟต์แวร์กลับมาอยู่ภายในบริษัทมากขึ้น(4%  เพิ่มขึ้นในช่วงเวลา4 ปี)
  • ·เข้าซื้อกิจการบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มศักยภาพงานซอฟต์แวร์ของตัวเองให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นโดยพบว่า มีถึง38% ได้ซื้อกิจการบริษัทซอฟต์แวร์ไปแล้ว หรือวางแผนที่จะทำในปีหน้า
  • ·ดำเนินการเรื่องแอพพ์ให้ลูกค้าไปแล้วอย่างน้อยเฉลี่ย6 รายในตลอดช่วงปีที่ผ่านมาโดยสถิติที่พบมี42% ที่ได้พัฒนาซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นให้กับลูกค้า4 รายหรือมากกว่านั้น
  • ·43%  ของกลุ่ม“ผู้นำ”ได้ใช้ทั้งวิธีการและเทคโนโลยีที่สนับสนุนแนวคิดDevOps เพื่อเร่งอัตราการพัฒนาแอพพลิเคชั่นในขณะที่กลุ่ม“ทิ้งท้าย” มีการริเริ่มเรื่องนี้ไปแค่4% เท่านั้น
  • ·กลุ่ม“ผู้นำ”มีค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาความปลอดภัยมากกว่ากลุ่ม “ทิ้งท้าย”และราวหนึ่งในสามของงบค่าใช้จ่ายด้านไอทีทั้งหมดในช่วงสามข้างหน้าจะถูกใช้เพื่อการนี้ในกลุ่มผู้นำ
  • ·กลุ่ม“ผู้นำ”จัดการงานเรื่องไอทีในแบบธุรกิจและมีประสิทธิภาพทางด้านงานไอทีเหนือกว่าในภาพรวมและมีแนวโน้มที่จะใช้ซอฟต์แวร์โปรแกรมทูลต่างๆมาจัดการงานไอทีให้เป็นแบบธุรกิจมากกว่าและบ่อยครั้งกว่าเมื่อเทียบกันกับกลุ่มทิ้งท้าย
  • ·มากกว่าสองในสาม(69%) ของกลุ่ม“ผู้นำ”กำลังปรับมาใช้งานโมไบล์ทั่วทั้งบริษัท เพื่อเพิ่มความพอใจในการใช้งานของลูกค้าและออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ มีอัตราเพียง14%เท่านั้นในกลุ่ม “ทิ้งท้าย”

    นอกจากนี้ ผู้บริหารในสายงานธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่นยังมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องแรงกดดันของเศรษฐกิจยุคแอพพ์โดยมียอดผู้บริหารจำนวนมากถึง  94%  ที่ระบุว่าตนกำลังเจอกับแรงกดดันให้ต้องเร่งออกซอฟต์แวร์แอพพ์ให้เร็วขึ้น โดยมีสาเหตุสำคัญ มาจากสาเหตุ ลูกค้าเร่งรัดความต้องการ(58%) และแรงกดดันจากการแข่งขัน(65%)

     ถึงแม้จะเร่งความเร็วในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพิ่มขึ้น(โดยเฉลี่ยทำได้ 6 แอพพ์สำหรับลูกค้าภายนอกและอีก6 แอพพ์สำหรับงานภายในบริษัทในช่วงปีที่ผ่านมา) แต่มีผู้บริหารในสายงานธุรกิจ15%  เท่านั้นที่พอใจเต็มที่กับความเร็วในนำเสนอแอพพลิเคชั่นและเซอร์วิสใหม่ๆ ดังนั้้น ผลก็คือกว่า 82% ของบริษัทเอนเทอร์ไพรซ์ที่มีการสำรวจได้มีการรับแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบDevOps มาใช้แล้วหรือกำลังวางแผนที่จะมีเพื่อเร่งความเร็วในงานพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่อไป

    “จากการมาถึงของยุคอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาพบได้ทั่วไป  มาจนถึงปัจจุบันที่แอพพิเคลชั่นได้กลายมาเป็นปัจจัยพื้นฐานในทุกธุรกิจที่ต้องการจะอยู่รอดและเติบโตให้ได้ในยุคเศรษฐกิจแอพพ์ 'เคนเนธ อาเรนดอนโด ประธานและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่นบริษัทซีเอ เทคโนโลยี กล่าวและเสริมว่า'ในภูมิภาคที่มีการใช้เน็ตมากอย่างในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น งานแอพพลิเคชั่นกำลังสร้างบทบาทใหม่ในงานปฏิสัมพันธ์ติดต่อกับลูกค้าและบุกเบิกการขยายตัวทางธุรกิจซึ่งผลจากงานวิจัยในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจทางไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น ได้ปรับตัวอย่างรวดเร็วและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่าเร็วกว่าในยุคเศรษฐกิจแอพพ์'

ช่องว่างในการใช้งานแอพพลิเคชั่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

    ในงานศึกษาชิ้นนี้ได้มีการแยกกลุ่ม'ผู้นำ'และ'ทิ้งท้าย'ในระบบเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น  ซึ่งในการยอมรับยุคเศรษฐกิจแอพพ์นั้น ทางกลุ่ม'ผู้นำ'ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานว่าเหนือกว่ากลุ่ม'ทิ้งท้าย' ในการชี้วัดทุกรูปแบบมาตรฐานทางธุรกิจ  ซึ่งส่งผลให้ขณะนี้ได้เกิดช่องว่างในการใช้งานแอพพลิเคชั่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นขึ้นมาแล้ว

นอกจากนี้ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ในกลุ่ม 'ผู้นำ'นั้นมียอดรายได้มากกว่าสี่เท่า และผลกำไรมากกว่าสามเท่า เมื่อเทียบกับกลุ่ม'ล้าหลัง'รวมทั้ง ทางกลุ่ม'ผู้นำ'ยังได้เปรียบเชิงธุรกิจจากช่องทางใหม่ๆทางโปรดักต์และเซอร์วิส มากกว่ากลุ่ม'ทิ้งท้าย'ถึงกว่าสองเท่า

     'ผู้นำ'ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น ยังได้ใช้งานเทคโนโลยีและกระบวนการทำงานใหม่ๆหลายอย่างเพื่อให้อยู่รอดและเติบโตในยุคเศรษฐกิจแอพพ์ ดังต่อไปนี้

วิธีการสำรวจและวิจัย

      ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้มีผู้นำกว่า650 รายจากสายไอทีและธุรกิจจากหลายอุตสาหกรรม อาทิเช่น การเงินการธนาคาร  สาธารณสุข อุตสาหกรรมการผลิต ค้าปลีก โทรคมนาคม และสื่อมวลชน/บันเทิง  ใน6ตลาดสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นเช่น ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ได้เข้ามามีส่วนร่วมออกความเห็นในการศึกษาในครั้งนี้ที่ดำเนินงานโดยบริษัทวิจัยVanson Bourne และได้รับการสนับสนุนจากบริษัทซีเอเทคโนโลยี

โดยการสำรวจในภูมิภาคนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจวิจัยตลาดระดับโลกที่รวมถึงในอีก9 ประเทศสำคัญในตลาดทวีปอเมริกาและตะวันออกกลางและอัฟริกาEMEA

เกี่ยวกับ ซีเอ เทคโนโลยี

      ซีเอ เทคโนโลยี (NASDAQ: CA) เป็นผู้จัดหาโซลูชั่นเพื่อการบริหารจัดการไอที ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการและรักษาความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมของระบบไอทีที่ซับซ้อนเพื่อรองรับการให้บริการธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ ใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์และโซลูชั่นในกลุ่ม SaaS ของซีเอ เทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรม ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและอัตลักษณ์ต่างๆ นับตั้งแต่ระดับดาต้าเซ็นเตอร์ไปจนถึงระบบคลาวด์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซีเอ เทคโนโลยี ได้ที่ www.ca.com

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!