WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

09486 Fortinetฟอร์ติเน็ตมั่นใจโซลูชั่นช่วยองค์กรตอบข้อกำหนดของพรบ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ & พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้

          ประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนเร่งยกระดับระบบดิจิทัลเพื่อก้าวไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 พร้อมนานาชาติและดำเนินธุรกรรมภายใต้กฎระเบียบคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (General Data Protection Regulation: GDPR) ของสหภาพยุโรปซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องภัยไซเบอร์และข้อมูลส่วนบุคคล ในประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security Act: CSA) พ.ศ. 2562 ในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ในทันทีเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 พฤษภาคม พศ. 2563 ส่งให้ผู้ประกอบการควรเร่งทำความเข้าใจและจัดหากระบวนการที่สอดคล้องกับข้อกำหนดในพ.ร.บ.ทั้งสองฉบับอย่างเร่งด่วน

          พ.ร.บ. ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ กำหนดให้โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ (Critical Infrastructure : CI) อันหมายถึงบรรดาหน่วยงานหรือองค์กรที่ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของตนมีผลเกี่ยวเนื่องสำคัญต่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อยของประเทศทั้ง 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความมั่นคงและบริการภาครัฐที่สำคัญ กลุ่มการเงินการธนาคาร กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม กลุ่มการขนส่งและโลจิสติกส์ กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค กลุ่มสาธารณสุข จำเป็นต้องยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure : CII) ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับ (กกม) ได้ประยุกต์มาตรฐานที่พึงนำมาใช้เป็นกรอบในการทำงานจากสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Institute of Standard and Technology : NIST) มาเป็นมาตรการขั้นต่ำของ พ.ร.บ. ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ ใน 5 มาตรการด้วยกัน ได้แก่
          1) มาตรการในการระบุความเสี่ยง (Identify)
          2) มาตรการในการป้องกันภัยคุกคาม (Protect)
          3) มาตรการในการตรวจสอบและเฝ้าระวัง (Detect)
          4) มาตรการในการเผชิญเหตุ ตอบโต้ภัย (Respond) และ
          5) มาตรการรักษาและฟื้นฟู (Recover)

 

          ดร. รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ (สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์) ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ แห่งฟอร์ติเน็ตได้ให้ความเห็นว่า “พ.ร.บ. ที่บังคับไปแล้วนี้ส่งผลให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนมีหน้าที่ในการสร้างกลไกในการป้องกันภัยไซเบอร์ที่รัดกุมมากขึ้น มิฉะนั้นจะได้รับบทลงโทษ องค์กรจึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีหรือหาทูลส์ใหม่ๆ ที่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของพ.ร.บ.ได้ในทุกกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการ “เฝ้าระวัง” ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่มีการลงทุนสูง เทคโนโลยีที่เหมาะสมจำเป็นต้องสามารถป้องกันภัยได้กว้าง (Broad) ครอบคลุมทุกแพลทฟอร์มและอุปกรณ์ อุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น (Integrated) และทำงานได้อย่างอัตโนมัติ (Automation) สามารถปฏิบัติงานตามมาตรการ 5 ประการข้างต้นจากส่วนกลางได้”

          ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตมีแพลทฟอร์มด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่เรียกว่า “Fortinet Security Fabric” ที่สามารถตอบโจทย์มาตรการทั้ง 5 ด้านได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มที่รวมอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยครบครันจึงสามารถช่วยให้องค์กรเห็นภัยไซเบอร์ที่คุกคามเข้ามาได้ลึกทั่วทั้งเครือข่าย นอกจากนี้ อุปกรณ์ทุกชิ้นทำงานภายใต้ความร่วมมืออีโคซิสเต็มส์ (Fortinet Fabric Ready Partner) จึงทำให้อุปกรณ์สามารถทำงานเข้ากันได้อย่างราบรื่น ลูกค้าสามารถใช้งานอุปกรณ์ได้เต็มที่ ยิ่งไปกว่านั้น ฟอร์ติเน็ตใช้เทคโนโลยีแมชชีนเลิ่ร์นนิ่งในโซลูชั่น จึงสามารถโต้ตอบและจัดการกับภัยคุกคามได้อย่างชาญฉลาดและอัตโนมัติ

          ดร. รัฐิติ์พงษ์อธิบายเพิ่มเติมถึงรายละเอียดว่า “ในแพลทฟอร์ม Fortinet Security Fabric นั้น มีโซลูชั่นของฟอร์ติเน็ตที่มีคุณสมบัติการทำงานที่ตรงต่อข้อกำหนดตั้งแต่มาตรการที่ 1 ถึง 5 ไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ อย่างครบถ้วนแล้ว ดังนี้
          มาตรการที่ 1) Identify:
          - Identify and assess users: เมื่อมีผู้ใช้งานเชื่อมต่อเข้ามาในเครือข่าย องค์กรจำเป็นต้องสามารถระบุภัยที่เข้ามาได้ ซึ่งในปัจจุบันนั้น การยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานเพียงด้วยการรหัสผู้ใช้งาน (User name) และรหัสผ่าน (Password) ไม่เพียงพอแล้ว ฟอร์ติเน็ตแนะนำให้ใช้วิธีการยืนยันตัวตนของผู้ใช้และของอุปกรณ์ได้โดยการใช้อุปกรณ์ FortiToken และ FortiNAC ทั้งนี้ อุปกรณ์ FortiToken จะยืนยันผู้ใช้งานโดย 2 Factor One Time Password ซึ่งให้ความปลอดภัยกว่า และใช้ FortiNAC เพื่อควบคุม ติดตามการเข้าถึงเครือข่ายของอุปกรณ์และผู้ใช้งาน รวมถึงอุปกรณ์ไอโอทีสมัยใหม่ที่เชื่อมต่อเข้ามาอีกด้วย
          - Asset and risk management: ในการระบุภัยและความเสี่ยงของเครื่องที่ใช้ในองค์กร ฟอร์ติเน็ตสามารถจัดหาอุปกรณ์ FortiInSight เพื่อใช้ดูพฤติกรรมของผู้ใช้งานในองค์กร อาทิ ผู้ใช้งานดาวน์โหลดไฟล์ไปที่ใด ท่องเว็บใด และส่งข้อมูลการใช้งานเหล่านั้นไปยังอุปกรณ์ FortiSIEM ที่จัดเก็บ วิเคราะห์พฤติกรรมจากอุปกรณ์ของฟอร์ติเน็ตและอุปกรณ์ของค่ายอื่นด้วย หากพฤติกรรมใดมีค่าสูงกว่าค่าที่ตั้งไว้ จะส่งสัญญาณแจ้งเตือนภัยของทุกเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
          - Vulnerability assessment: ในการตรวจสอบหาช่องโหว่ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เดสก์ท็อป แล็ปท็อป โมบายและเซิร์ฟเวอร์ในระบบนั้น ฟอร์ติเน็ตแนะนำว่าควรใช้อุปกรณ์ FortiClient ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ปลายทางอย่างครบถ้วน ให้ทำหน้าที่สแกนตรวจสอบการติดตั้งซอฟท์แวร์ด้านความปลอดภัยที่องค์กรได้กำหนดเป็นนโยบายไว้ อาทิ ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสและไฟร์วอลล์ ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์ FortiNAC จะช่วยตรวจสอบหาการติดตั้งซอฟท์แวร์ที่อาจมีความเสี่ยง หรือซอฟท์แวร์ที่ควรจะมีในอุปกรณ์นั้น
          - Risk assessment and governance: ในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของพ.ร.บ.นั้น องค์กรจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลการใช้งาน (Log) ทางคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน อาทิ เว็บที่ท่องไป ซึ่งองค์กรสามารถปฎิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างง่ายๆ โดยใช้อุปกรณ์ FortiGate ที่ทำหน้าที่เป็นซีเคียวริตี้เกทเวย์ช่วยป้องกันภัยคุกคาม พร้อมกับอุปกรณ์ FortiAnalyzer ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ จัดเก็บข้อมูล ทำรายงาน และมีอุปกรณ์ FortiManager ที่จะช่วยบริหารจัดการองค์ประกอบของระบบรักษาความปลอดภัยทั้งหมดได้จากศูนย์กลาง

          มาตรการที่ 2) Protect: ฟอร์ติเน็ตเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยไซเบอร์ที่มีโซลูชั่นในการป้องกันภัยคุกคาม ป้องกันข้อมูลที่เข้ามาและเก็บภายในเครือข่ายขององค์กรเองและบนคลาวด์ได้อย่างแข็งแกร่ง
          - ในการป้องกันภัยภายในเครือข่ายขององค์กรนั้น เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายนอก ฟอร์ติเน็ตเสนอให้ใช้อุปกรณ์เน็กซ์เจอเนอเรชั่นไฟร์วอลล์ FortiGate เป็นซีเคียวริตี้เกทเวย์พร้อมกับอุปกรณ์ FortiDDos เพื่อป้องกันภัยที่มุ่งทำให้เครือข่ายและบริการขององค์กรหยุดชะงักลง ถัดจากการป้องกันภัยที่ขอบเครือข่ายแล้ว ฟอร์ติเน็ตแนะนำให้ติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยระบบอีเมลชั้นนำ FortiMail ในการสกัดภัยคุกคามและปัญหาอีเมล อีกทั้งอุปกรณ์ FortiWeb ไฟร์วอลล์ในการป้องกันการรักษาความปลอดภัยให้กับเว็บแอปพลิเคชั่น ทั้งนี้ สามารถใช้อุปกรณ์ FortiClient และ FortiProxy ได้อีกด้วย นอกจากนี้ ฟอร์ติเน็ตยังมี FortiSandbox ระบบรักษาความปลอดภัยชั้นสูง ที่ช่วยตรวจดักจับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ๆ ที่เรียกกันว่า Zero-day ก่อนที่จะแพร่กระจายคุกคามในเครือข่าย รวมถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติในระบบ และป้อนข้อมูลกลับไปยังอุปกรณ์ของฟอร์ติเน็ตอื่นๆ จึงสามารถสร้างเกราะป้องกันอันชาญฉลาดเพื่อจัดการกับภัยคุกคามทั้งระบบ
          - ในการป้องกันเครือข่ายบนคลาวด์นั้น ฟอร์ติเน็ตได้พัฒนาบริการความปลอดภัยสำหรับการใช้งานบนคลาวด์ที่แข็งแกร่งที่ครบถ้วน ได้แก่ บริการ FortiSandbox Cloud, FortiMail Cloud, FortiWeb Cloud, FortiCASB นอกจากนี้ ฟอร์ติเน็ตยังขยายบริการความปลอดภัยไปกับผู้ให้บริการประเภท Infrastructure as a Service (IaaS) ชั้นนำระดับโลกมากมาย รวมถึง AWS, Microsoft Azure, Oracle Cloud Infrastructure และ Alibaba Cloud อีกด้วย

          มาตรการที่ 3) Detect: ฟอร์ติเน็ตมีศักยภาพในการตรวจสอบความผิดปกติและอีเว้นท์ต่างๆ มีกลไกในการสังเกตเฝ้าระวังอย่างอัตโนมัติและต่อเนื่อง และใช้ซิคเนเจอร์ในการตรวจภัยที่เกิดขึ้นมาแล้วอย่างแข็งแกร่ง
          - ทั้งนี้ เพื่อตรวจพบภัยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนั้น ฟอร์ติเน็ตมีโซลูชั่นใหม่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วโลก อันได้แก่ อุปกรณ์ FortiDeceptor ที่จะทำหน้าที่เป็นเป้าล่อภัยคุกคาม ทำงานพร้อมกับอุปกรณ์ FortiSandbox ที่ทำหน้าที่ทดสอบข้อมูลหรือไฟล์ต้องสงสัย เพื่อตรวจดูพฤติกรรมที่ผิดปกติได้
          - นอกจากนี้ ฟอร์ติเน็ตมีระบบตรวจสอบความปลอดภัยที่ช่วยในส่วนของ Security Operation Center (SOC) โดยมีอุปกรณ์ FortiSEIM และ FortiAnalyzer ในการเก็บ Log ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องจัดหารายงานเหล่านี้ให้กับหน่วยงานของรัฐ เมื่อมีการร้องขอ
          มาตรการที่ 4) Respond: หากเกิดภัยคุกคามขึ้นแล้วนั้น การตอบโต้กับสถานการณ์โดนภัยคุกคามจะรวมถึง การสื่อสารรายงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์สถานการณ์ การระงับภัย การพัฒนาสถานการณ์ที่เกิด
          - ในการตอบโต้กับภัยที่เกิดขึ้นที่ผู้ใช้งาน (Endpoint Detection Response) ฟอร์ติเน็ตสามารถใช้อุปกรณ์ FortiClient เพื่อระงับการใช้งาน เช่น ระงับมิให้ผู้ใช้งานเปิดไฟล์อันตราย และใช้อุปกรณ์ FortiNAC ในการแยกผู้ใช้งานและกักกันเครื่องที่มีภัยคุกคามออกไปได้
          - และในการตอบโต้กับภัยนั้น ฟอร์ติเน็ตเสนอให้ใช้คุณสมบัติที่มีอยู่ในอุปกรณ์ FortiSIEM, FortiAnalyzer และ FortiManager ในการตรวจสอบ Log และจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัยของระบบเครือข่าย ช่วยให้เกิดการตอบสนองแบบอัตโนมัติ แจ้งเตือนทุกเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
          - นอกจากนี้ ฟอร์ติเน็ตได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ส่งให้ฟอร์ติเน็ตโดดเด่นเหนือกว่าใคร คือเทคโนโลยี Security-Defined Network ที่ช่วยให้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ด้านเครือข่ายขององค์กรได้ อาทิ ไฟร์วอลล์ FortiGate สามารถส่งข้อมูลภัยที่พบนั้นไปยังอุปกรณ์สวิชต์ FortiSwitch และอุปกรณ์แอคเซสพ้อยต์ไร้สาย FortiAP ได้ จึงทำให้เครือข่ายมีความปลอดภัยที่สมบูรณ์ทั่วทั้งเครือข่าย

          หัวใจสำคัญในการสร้างกลไกด้านความปลอดภัยไซเบอร์นั้น ฟอร์ติเน็ตได้รับข้อมูลด้านภัยคุกคามเชิงลึกจากศูนย์วิเคราะห์ภัยฟอร์ติการ์ตแล็ปส์เป็นเรียลไทม์อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ ฟอร์ติการ์ตแล็ปส์ทำหน้าที่ดูแล วิเคราะห์พฤติกรรมภัยคุกคามใหม่ๆ รวบรวมสถิติภัยที่เกิดขึ้น และรายงานส่งต่อข้อมูลภัยคุกคามอัปเดตไปยังอุปกรณ์ป้องกันภัย อุปกรณ์ของฟอร์ติเน็ตทุกชึ้นจึงมีข้อมูลภัยคุกคามที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ทำให้สามารถตอบโต้และระงับภัยในเวลาอันสั้นลง

          และมาตรการท้ายสุด 5) Recover: ในมาตรการรักษาและฟื้นฟูนั้น ฟอร์ติเน็ตสามารถให้คำปรึกษาที่เหมาะสมกับลูกค้าเฉพาะกรณีได้”

 

          พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะมีผลบังคับในปีพ.ศ. 2563 นั้น เป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ดิจิทัลของประเทศ ซึ่งส่งผลให้มีการล่วงละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ภาครัฐออกนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของประชากรในประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ตั้งแต่ชื่อ ที่อยู่ อีเมล์ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนและอื่นๆ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) อาทิ ข้อมูลชีวภาพอีกด้วย

          พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ระบุถึงบทบาทและความรับผิดชอบของผู้ควบคุม (Data Controller) และผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) ไว้อย่างชัดเจน ผู้ควบคุมข้อมูล คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีหน้าที่ในการขอความยินยอม บันทึกและป้องกันไม่ให้มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบ และต้องมีมาตรการในการเก็บรักษาข้อมูลที่เหมาะสม อาทิ การจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) เป็นต้น

          ส่วนผู้ประมวลผลข้อมูล คือ บุคคลหรือนิติบุคคล ที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งจัดทำบันทึก ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ยิ่งไปกว่านั้น พ.ร.บ. ยังกล่าวถึงเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Officer : DPO) ที่องค์กรจะต้องแต่งตั้งขึ้นมาอีกด้วย

          พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้มีหลักการเชิง ‘อนาคต’ เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ ซึ่งให้อำนาจ ‘สอดส่อง’ ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เกิดภัยคุกคาม กล่าวคือ ผู้ควบคุมข้อมูลก็ต้องมีหน้าที่ป้องกันไว้ก่อน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการลดปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ในประเทศไทย

          ฟอร์ติเน็ตมีโซลูชั่นที่มีคุณสมบัติพร้อมเบ็ดเสร็จในอุปกรณ์ในการเก็บ รวบรวม ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยอันได้แก่ การป้องกันข้อมูลสูญหาย (Data Loss Protection) การควบคุมการเข้าใช้งานในเครือข่าย (Access Control) การควบคุมให้ข้อมูลถูกต้องอยู่เสมอ (Data Integrity) การปิดข้อมูลให้ปลอดภัย (Data Exposure) เป็นต้น ทั้งนี้ คุณสมบัติข้างต้นนี้ได้ Built in รวมอยู่ในโซลูชั่นของฟอร์ติเน็ตทั้งที่เป็นประเภท Security as a Service (SaaS) สำหรับการใช้งานที่องค์กรและ Infrastructure as a Service (IaaS) สำหรับการใช้งานบนคลาวด์ จึงมีศักยภาพในการป้องกันข้อมูลรั่วไหลได้อย่างครอบคลุม

          ในการควบคุมการเข้าใช้งาน องค์กรสามารถใช้อุปกรณ์ FortiToken และอุปกรณ์ FortiNAC ได้เช่นกัน และในการทำให้ข้อมูลถูกต้องอยู่เสมอนั้นจะเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ FortiWeb ป้องกันเหล่าเซิร์ฟเวอร์และ FortiClient ป้องกันภัยคุกคามที่เข้ามาทางอุปกรณ์ปลายทาง ซึ่งทั้งหมดนี้ทำงานอยู่บนแพลทฟอร์ม Fortinet Security Fabric

          ฟอร์ติเน็ตจึงมีความมั่นใจว่า โซลูชั่นต่างๆ จะสามารถสร้างกลไกกระบวนการด้านความปลอดภัยทั้งเครือข่ายได้อย่างต่อเนื่องได้ครบครัน สร้างความคุ้มค่าในการลงทุน และองค์กรสามารถตอบสนองข้อกำหนดของพ.ร.บ. ทั้งสองฉบับได้เป็นอย่างดี

 


AO09486

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!