- Details
- Category: ไอที-เทคโนฯ
- Published: Tuesday, 12 June 2018 13:50
- Hits: 2710
หยาง ซิน กง ซัง อุปทูตจีน ประจำประเทศไทย เปิดสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
วันนี้ ที่อาคารพุทธวิชชาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้มีพิธีเปิดสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล สาขามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ซึ่งเป็นสาขาที่ 2 ของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล โดยงานพิธีเปิดมี คุณหยางซิน อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย คุณซ่งรั่วหยุน เลขานุการเอกฝ่ายการศึกษา สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และ ศ.ต้วนหลิน ประธานสภามหาวิทยาลัยต้าหลี่ ให้เกียรติเข้าร่วมงาน
สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลเป็นสถาบันขงจื่อพิเศษรูปแบบใหม่ภายใต้นโยบาย 'One Belt One Road' (OBOR) หรือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โครงการได้รับการสนับสนุนความร่วมมือและงบประมาณจากสำนักงานฮั่นปั้น ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับ สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล ในประเทศไทยมีพระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) เป็นประธานคณะกรรมการบริหารสถาบัน และมีมหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจินและมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เป็นมหาวิทยาลัยร่วมก่อตั้ง โดยมีสำนักงานเลขานุการตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และมีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เป็นสาขาที่ 1
พระพรหมมังคลาจารย์ ประธานสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล ได้กล่าวในพิธีเปิดสาขามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ดังนี้
“อาตมภาพได้มีแนวคิดริเริ่มในการจัดตั้งสถาบันรูปแบบใหม่เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนให้แพร่หลายมากขึ้น โดยจะรวบรวมสถาบันการศึกษา หน่วยราชการและองค์กรเอกชนที่มีการเรียนการสอนภาษาจีน (ซึ่งไม่รวม 14 สถาบันขงจื่อและ 11 ห้องเรียนขงจื่อเดิม) เข้ามาเป็นเครือข่าย เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน การอบรมและการใช้ภาษาจีนในชีวิตประจำวันให้มีมาตรฐานตามที่เจ้าของภาษากำหนด ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (ฮั่นปั้น) ได้เห็นชอบให้จัดตั้งสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล โดยได้มีพิธีมอบป้ายอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 และแต่งตั้งให้มหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจินและมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล และ แต่งตั้งให้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์และมหาวิทยาลัยครุศาสตร์เทียนจินเป็นสาขาแรกของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลด้วย
โดยบทบาทหน้าที่ของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลว่านอกจากจะปฏิบัติงานไปตามภารกิจปกติ ได้แก่ การเรียนการสอนภาษาจีน การฝึกอบรมแก่อาจารย์ การจัดสอบ HSK การสนับสนุนข้อมูลด้านการศึกษา และวัฒนธรรมจีน และการจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมจีนแล้ว จะต้องมีภารกิจสำคัญเพิ่มเติมได้แก่ การสนับสนุนนักศึกษาอาชีวศึกษา,การผลิตครูไทยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล การรับสมัครสถาบันการศึกษา หน่วยราชการและองค์กร เอกชนรวมทั้งจากต่างประเทศที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการใช้ภาษาและวัฒนธรรมจีนเข้ามาเป็นสาขา (เครือข่าย) ในการส่งเสริมการใช้ภาษาจีนให้เป็นมาตรฐาน”
จากนั่น คุณหยางซิน อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ได้กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ที่ดีของไทยและจีนเป็นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาช้า โดยความสัมพันธ์ที่ดีอันนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ประชาชนทั้งสองประเทศทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา โดยประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีนักศึกษาจีนนิยมออกมาศึกษาต่อเป็นอันดับสอง หวังว่าความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองฝ่ายจะช่วยสนับสนุนการศึกษาไทยจีนให้ดีต่อไปในอนาคต”
คำกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดป้าย
สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
โดย หยาง ซิน กง ซัง อุปทูตจีน ประจำประเทศไทย
นมัสการ ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (เจ้าคุณธงชัย)
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
รศ.ดร.เปรื่อง กิจรัตน์ภร
แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
คณะอาจารย์และ นักเรียนทุกคน
สวัสดีตอนเช้า
ผมรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ได้มีส่วนร่วมในพิธีเปิดป้ายสถาบันขงจื่อ สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเป็นหนึ่งในสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลที่มีความคิดริเริ่มเเละก่อตั้งโดยพระพรหมมังคลาจารย์ (เจ้าคุณธงชัย) ในการเตรียมการ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสำนักงานใหญ่สถาบันขงจื่อ(Hanban) มหาวิทยาลัย
ต้าหลี่ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ในที่สุดก็มาถึงวันนี้พิธีเปิดป้ายสถาบันซึ่งจะทำงานอย่างเป็นทางการต่อไป
ผมได้รับเกียรติจากหลู่ย์ เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ให้มาเป็นผู้เเทนของท่าน ในนามของสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยผมขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งกับการจัดตั้งสถาบันขงจื่อ เส้นทางสายไหมทางทะเล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ผมขอแสดงความขอบคุณจากใจจริงกับพระพรหมมังคลาจารย์ (เจ้าคุณธงชัย) และเพื่อนๆชาวไทย-จีนจากทุกสาขาอาชีพที่ให้การสนับสนุนและผลักดันการจัดตั้งสถาบันขงจื่อในครั้งนี้
ประเทศจีนและประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตมากว่า 43 ปีเเล้ว ไม่ว่าเกิดอะไรขี้น ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยังคงเป็นไปในทางที่ดีเเละพัฒนายิ่งขึ้น ซึ่งประวัติความสัมพันธ์นี้ได้ประจักษ์แล้วว่าความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรระหว่างสองประเทศได้นำมาซึ่งผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมต่อประชาชน หลังจากที่รัฐบาลไทยได้ยื่นข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ 4.0 และ จัดตั้งโครงการ"ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก " ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงที่ดีกับโครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ของจีน
ความร่วมมือระหว่างจีนกับไทยในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม และการศึกษา ซึ่งทุกแขนงได้เข้าสู่ระบบยุคใหม่ โดยเฉพาะความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นขนาด หรือความครอบคลุมก็อยู่ในระดับต้นๆของโลก
ตามสถิติที่ปรากฏในปี พ.ศ.2560 จำนวนนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศจีนได้ก้าวขึ้นไปเป็นอันดับที่สองของจำนวนนักเรียนชาวต่างชาติในประเทศจีน และจำนวนนักเรียนชาวจีนที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศไทยก็มีจำนวนมากที่สุดในบรรดานักเรียนชาวต่างชาติในไทยเช่นกัน
จำนวนอาสาสมัคร ครูสอนภาษาจีนที่ส่งมายังประเทศไทยก็มีจำนวนมากที่สูงในโลก ซึ่งช่วยลดความขาดเเคลนครูชาวจีนในไทย เเละส่งเสริมการสอนภาษาจีนในประเทศไทย จำนวนสถาบันขงจื่อในประเทศไทยจะมีจำนวนเท่ากันกับยอดรวมของสถาบันขงจื่อของกลุ่มอาเซียน สถาบันขงจื่อในไทยพัฒนาไปในทางที่ดี กลายเป็นช่องทางที่สำคัญและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางด้านการเมืองเศรษฐกิจการค้าและวัฒนธรรม
พิธีเปิดป้ายของสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเป็นสถาบันแห่งที่ 16 ของประเทศไทยเเละเป็นการจัดตั้งสถาบันขงจื่อเเห่งที่2ในประเทศไทยของมณฑลยูนนาน ยูนนานและประเทศไทยตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงใช้น้ำจากแม่น้ำเดียวกัน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและมีรากฐานที่มั่นคงสำหรับการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ในด้านการผลิตครูที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยต้าหลี่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลายของมณฑลยูนนาน ผมเชื่อว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยจะร่วมมือกันอย่างจริงใจและสร้างเวทีแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างสองประเทศ ร่วมกันส่งเสริมบุคลากรให้มีความสามารถเพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เเละผลักดันการเเลกเปลี่ยนของทั้งสองประเทศหวังว่าสถาบันขงจื่อ เส้นทางสายไหมทางทะเล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เมื่อมองไปในอนาคตข้างหน้า จะพัฒนาคุณภาพการศึกษา ช่วยให้คนไทยสามารถเรียนรู้ภาษาจีนเข้าใจวัฒนธรรมจีน และสามารถใช้กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น โดยการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า การศึกษา และวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศอย่างจริงจัง และมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างมิตรภาพแบบดั้งเดิมระหว่างสองประเทศ
ขอให้สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครพัฒนาดีขึ้นเรื่อย ๆไป !
ขอขอบคุณทุกท่าน!
杨欣公参在海上丝路•帕那空皇家大学孔子学院揭牌仪式上的讲话
2018年6月12日
尊敬的赵坤通猜大师,
Assoc. Prof. Dr. Warakorn Samakoses
布莱恩校长,
各位来宾,
老师们,同学们:
早上好!
很高兴参加泰国第16所孔子学院—海上丝路•帕那空皇家大学孔子学院的揭牌仪式。
海上丝路•帕那空皇家大学孔子学院是赵坤通猜大师倡议建设的海上丝路孔子学院之一,在酝酿和筹建过程中,得到国家汉办、大理大学、帕那空皇家大学的积极推动与支持,现在这所孔院终于揭牌运营了。我受吕健大使之托,代表中国驻泰王国大使馆,向海上丝路•帕那空皇家大学孔子学院成立表示热烈祝贺!向大力支持和积极推进孔子学院建设的赵坤通猜大师和中泰各界朋友表示衷心感谢!
中泰建交43年以来,无论国际风云如何变幻,两国关系始终保持健康发展势头,历史证明,两国的友好关系给人民带来了实实在在的好处。在泰国政府提出 4.0经济发展战略,建设“东部经济走廊”,很好地对接了中国“一带一路”倡议之后,中泰两国在政治、经济、军事、文化、教育各领域的合作也进入了新时代。尤其在教育方面的合作与交流,无论是在规模上还是在深度、广度上,都位居世界前列。据2017年公布的统计数字,在中国的泰国留学生数量已经跃居在华留学生人数第二位,而中国在泰留学人数也位居国际学生之首;中国派往泰国的汉语教师志愿者人数为世界之最,极大地缓和了泰国对汉语教师的渴求,推动了泰国汉语教学;泰国孔子学院数量为东盟国家孔院数量之和,且发展良好,已经成为两国政治、经贸、文化等领域交流与合作的重要渠道和综合平台,在两国交往中扮演着重要角色。
今天揭牌的海上丝路•帕那空大学孔子学院已经是泰国第16所孔子学院,也是云南省在泰国建立的第2所孔子学院。云南与泰国同处澜沧江湄公河流域,共临澜湄河,同饮一江水,血缘相亲,文化相通,有着深厚的经贸、文化交流的基础。帕那空皇家大学是泰国最早的师范院校之一,大理大学也是云南省一所优秀的综合性大学,相信两所大学一定会精诚合作,搭建好两国交流合作的平台,共同培养出满足泰国经济发展需要、推动两国民间交流的人才。
希望海上丝路•帕那空皇家大学孔子学院放眼未来,提高办学质量,更好地帮助泰国人民学好汉语、了解中国,更好地服务于泰国的经济发展战略,积极促进两国经济、贸易、教育、文化等领域的交流与合作,为增进两国人民之间的传统友谊做出积极的贡献。
祝福孔子学院越办越好!
谢谢大家!
คำกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดป้ายสถาบันขงจื่อ เส้นทางสายไหมทางทะเล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ท่านต้วนหลิง ประธานคณะกรรมการมหาวิทยาลัยต้าหลี่
นมัสการ ท่านพระพรหมมังคลาจารย์ (เจ้าคุณธงชัย)
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
รศ.ดร.เปรื่อง กิจรัตน์ภร
ท่านสุภาพสตรี สุภาพบุรุษ และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
สวัสดีตอนเช้าครับ ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้มาเมืองไทยในฤดูที่สวยงามเช่นนี้ หลังจากเกือบหนึ่งปีของการเตรียมงานและการทดลองดำเนินงาน ณ วันนี้สถาบันขงจื่อ เส้นทางสายไหมทางทะเล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยต้าหลี่ กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครจะมีการเปิดผ้าคลุมอย่างเป็นทางการแล้ว ในนามของมหาวิทยาลัยต้าหลี่ ผมขอแสดงความขอบคุณจากใจจริงกับสำนักงานใหญ่สถาบันขงจื่อ(Hanban) สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลไทยการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากพระพรหมมังคลาจารย์ (เจ้าคุณธงชัย)
มหาวิทยาลัยต้าหลี่ตั้งอยู่ที่เมืองต้าหลี่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ต้าหลี่เป็นเมืองโบราณที่มีวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงในประเทศจีนซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก มหาวิทยาลัยต้าหลี่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีสาขาวิชาหลากหลาย ภายใต้สังกัดของมหาวิทยาลัยต้าหลี่มี โรงพยาบาล 2 เเห่ง มีสาขาวิชา62 สาขาในระดับปริญญาตรี ศูนย์การศึกษาระดับปริญญาโท36 ศูนย์ มีนักศึกษาระดับปริญญาตรี 17,000 คน ซึ่งเป็นนักเรียนชาวต่างชาติ 1,000 คน และมีอาจารย์กว่า 1,400 คน
มหาวิทยาลัยต้าหลี่พยายามดำเนินการในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศและการแลกเปลี่ยนการทำงาน และยึดมั่นที่จะเดินในเส้นทางของการศึกษาระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลตอบรับที่ดี ทางมหาวิทยาลัยได้ทำการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมากกว่า 20 ประเทศ และมหาวิทยาลัย50กว่าแห่ง การศึกษาของนักเรียนต่างชาติได้กลายเป็นส่วนคัญของการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งจำนวนนักศึกษาชาวต่างชาติที่ศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศจีน และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในฝั่งตะวันตกของจีน ที่ได้รับการจัดอันดับเป็นครั้งแรกในมณฑลยูนนาน
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าภารกิจของสถาบันขงจื่อคือคือช่วยให้ประชาชนทั่วโลกรู้จักภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน และเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับต่างประเทศ ส่งเสริมการพัฒนาของโลกที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมีส่วนร่วมในการสร้างโลกให้สันติสุข และมีหน้าที่หลักคือ การสอนภาษาจีนแก่ผู้คนจากทุกสาขาวิชาชีพ การฝึกอบรมครูชาวจีน ดำเนินการสอบวัดระดับภาษาจีน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาวัฒนธรรมเศรษฐศาสตร์และสังคมในประเทศจีน ดำเนินการศึกษาภาษาจีนแบบร่วมสมัยและอื่น ๆ ปลายปี ค.ศ. 2017 กว่า146 ประเทศ ที่จัดตั้งสถาบันขงจื่อ 525 แห่ง และ ห้องเรียนขงจื่อ1113แห่ง มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกประเภทจำนวน 9.16 ล้านคน
..'จงไท่อี้เจียชิน' (จีนไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน) ประเทศไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นมิตรของจีน นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในประเทศตัวอย่างที่จัดตั้งสถาบันขงจื่อ สถาบันขงจื่อที่เปิดทำการในวันนี้คือสถาบันขงจื่อแห่งที่ 16 ในประเทศไทย เดือนมิถุนายน ค.ศ.2015 สถาบันขงจื่อแห่งแรกของโลกที่มีคำว่า 'เส้นทางสายไหมทางทะเล' ได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย เพื่อพัฒนาและยกระดับการศึกษาภาษาจีนของไทยให้ดีขึ้น เส้นทางสายไหมทางทะเล เป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างไทยและจีนในด้านต่างๆ ภายใต้การนำพาของพระพรหมมังคลาจารย์ (เจ้าคุณธงชัย) สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเลได้กลายเป็นเวทีใหม่สำหรับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของจีนและไทย ปลูกฝังความสามารถในทางปฏิบัติมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่สำคัญที่สุดในความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงLMC ในการผลัดดันความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงมีผลทำให้โครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" "โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก " และ "ไทยแลนด์ 4.0"เชื่อมโยงกันและจะทำให้โครงการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น ความร่วมมือระหว่างไทยและจีนต้องใช้พรสวรรค์ทางภาษาเป็นอย่างมาก เราสามารถคาดการณ์ได้ว่า คนที่เข้าใจภาษาจีนจะมีความต้องการเป็นจำนวนมากในอนาคต หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถาบันขงจื่อของเราจะมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและเศรษฐกิจจีน – ไทย
สุดท้ายผมขอดลบันดาลให้สถาบันขงจื่อ เส้นทางสายไหมทางทะเล มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพระนคร มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขี้นและ มีอนาคตที่สดใส
ขอบคุณครับ!
在海上絲路•帕那空皇家大學孔子學院揭牌儀式上的講話
大理大學校務委員會主席段林
尊敬的赵坤通猜大师,
Assoc. Prof. Dr. Warakorn Samakoses
布莱恩校长,
女士們、先生們、朋友們:
大家上午好!
很高興在這樣一個美好的季節來到泰國。經過近一年的籌備和試運行,今天,由大理大學與帕納空皇家大學合作的海上絲路•帕那空皇家大學孔子學院正式揭牌了。我謹代表大理大學,對孔子學院總部(國家漢辦)、中國駐泰國大使館和泰國政府的相關部門,以及趙坤通猜大師的大力支持和幫助表示誠摯的謝意,對帕納空皇家大學以及孔子學院的老師們付出的辛勤勞動表示衷心的感謝!
大理大學位於中國西南的大理市。大理是中國歷史文化名城,是世界著名的旅遊目的地之一。大理大學是一所綜合性本科大學,有17個教學學院, 兩所附屬醫院,62個本科專業,36個碩士學位授權點,有全日制在校生17000余人,其中學歷留學生1000余人。現有教職工1400余人,其中專任教師近1100人。
學校積極開展國際合作與交流工作,堅定走教育國際化道路,成效顯著。學校現與20多個國家的50余所大學建立了交流合作關係。留學生教育成為學校辦學的特色和亮點,本科學歷留學生人數位居全國前列,中國西部高校第一位,長期位列雲南省第一位。
正如大家所知,孔子學院的辦學宗旨是增進世界人民對中國語言和文化的瞭解,發展中國與外國的友好關係,促進世界多元文化發展,為構建和諧世界貢獻力量。其主要職能是:面向社會各界人士提供漢語教學;培訓漢語教師;開展漢語考試;提供中國教育、文化、經濟及社會等資訊諮詢;開展當代中國研究等等。到2017年底,已經有146個國家和地區建立了525所孔子學院和1113個孔子課堂,各類學員累計達916萬人。
“中泰一家亲”!泰国是中国的友好邻邦,也是孔子学院建设的典范国家之一。今天揭牌的孔子学院,是泰国的第16所孔子学院。2015年6月,全球首个以“海上丝路”命名的孔子学院在泰国成立,旨在更好地发展和提升泰国作为海上丝路枢纽的汉语教育水平,促进泰中两国各领域交流合作。在赵坤通猜大师的领导下,海上丝路孔子学院成为了中泰人文交流的新的平台,培养了更多实用型人才。泰国是中国在澜湄国家中最重要的合作伙伴之一,澜湄合作的这种新动力,必将推动中泰两国把“一带一路”倡议与“东部经济走廊”建设和“泰国4.0”发展规划更好地对接起来。中泰合作需要大量双语人才,我们可以预见,“懂中文”的人今后必将会大有用武之地。希望我们的孔子学院能为中泰人文、经济交流尽一份绵薄之力。
最后,衷心祝愿海上丝路•帕纳空皇家大学孔子学院蒸蒸日上,前景辉煌!
谢谢!
สาส์นแสดงความยินดี จากสำนักงานใหญ่สถาบันขงจื่อ(Hanban)
เนื่องในโอกาสพิธีเปิดป้ายสถาบันขงจื่อ เส้นทางสายไหมทางทะเล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สถาบันขงจื่อ สำนักงานใหญ่ ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่ง และขอถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณจากใจจริง กับผู้สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันขงจื่อ และผู้ที่มีส่วนส่งเสริมมิตรภาพจีน-ไทยทุกท่าน จีนและไทยมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่คล้ายกัน มีวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกัน "จงไท่อี้เจียชิน" (จีนไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน) ได้ฝังลึกลงในใจของประชาชน จากรุ่นสู่รุ่น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสถาบันขงจื่อในประเทศไทยและห้องเรียนขงจื่อได้พัฒนาเติบโตขึ้นมาก เพื่อเป็นการผลักดันความร่วมมือระหว่างสองประเทศในโครงการ "เส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21" เพื่อขยายการเเลกเปลี่ยนด้านการศึกษา วัฒนธรรมและสาขาอื่น ๆ เพื่อสร้างเวทีที่กว้างขึ้น มหาวิทยาลัยต้าหลี่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในจีนตะวันตกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ในด้านการผลิตครูที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย หวังว่าทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันทำให้เป็นสถานศึกษาที่มีภาษาไทย-จีน เเละเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่สมบูรณ์ เพื่อให้ประชาชนของทั้งสองประเทศได้เเสดงบทบาท เรียนรู้ซึ่งกันเเละกันเพื่อการสืบสานเเละพัฒนาความสัมพันธ์นี้ต่อไป
ขออวยพรให้สถาบันขงจื่อดำเนินงานอย่างราบรื่นทุกประการเทอญ
贺信
值此泰国海上丝路•帕那空皇家大学孔子学院揭牌之际,谨致以热烈的祝贺!并借此机会,向支持孔子学院建设,致力于中泰友好的各界人士表示衷心的感谢!
中泰地缘相近、血脉相亲、文化相通,“中泰一家亲”深入民心、世代相传。近年来,泰国孔子学院和孔子课堂的蓬勃发展,为推动两国“21世纪海上丝绸之路”合作,拓展教育、文化等各领域交流搭建了广阔的平台。大理大学是中国西南一所著名的高校,帕那空皇家大学是泰国久负盛名的师范大学,希望两校携手同行,把孔子学院建设成为中泰教育、文化交流与合作的桥梁,为增进两国人民相互了解和友谊做出积极贡献。
衷心祝愿孔子学院一帆风顺!