- Details
- Category: การแพทย์-สธ
- Published: Thursday, 21 September 2017 23:55
- Hits: 5965
ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฯ จัดงาน 'ปาฏิหาริย์-เปลี่ยนมะเร็ง-ให้เป็นสุข MIRACLE is all around ปีที่ 4 มุ่งสร้างความเข้าใจ เนื่องในวันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโลก
· องค์การอนามัยโลกเผยในแต่ละปี วัยรุ่น 1 ล้านคน จะพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองถึง 43 คน ซึ่งเป็นชนิดมะเร็งที่พบได้สูงสุดในกลุ่มวัยรุ่น
· มะเร็งต่อมน้ำเหลืองติดอันดับ 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย พบผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 8 ราย
ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย นำโดย ศ. นพ. ธานินทร์ อินธรกำธรชัย ประธานชมรมฯ จัดงาน ปาฏิหาริย์-เปลี่ยนมะเร็ง-ให้เป็นสุข: MIRACLE is all around'ครั้งที่ 4 พร้อมด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจากโรงพยาบาลชั้นนำร่วมให้ความรู้ และแนะนำแนวทางการรักษาในปัจจุบัน
จากซ้ายไปขวา
o นพ. ดุสิต จิตรเอื้อกุล โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
o นพ. อาจรบ คูหาภินันทน์ โรงพยาบาลศิริราช
o ศ. นพ. ธานินทร์ อินธรกำธรชัย ประธานชมรมมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย
o ผศ. นพ. อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
o นพ. ธวัชชัย สุวรรณบรรณ โรงพยาบาลราชวิถี
ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฯ จัดงาน "ปาฏิหาริย์-เปลี่ยนมะเร็ง-ให้เป็นสุข: MIRACLE is all around" ครั้งที่ 4 มุ่งเพิ่มความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งติดอันดับมะเร็ง 1 ใน 5 ที่พบได้บ่อยมากในคนไทย ในแต่ละปีพบผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในประเทศไทยเฉลี่ยปีละราว 3,000 ราย และมีแนวโน้มเกิดกับคนอายุน้อยมากขึ้น
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer: IARC) ภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยผลการศึกษาล่าสุดว่า[1] ระหว่างปี พ.ศ. 2544 - 2553 จำนวนผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลกที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นถึง 13% โดยตัวเลขที่สูงขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งมาจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่สามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น นอกจากนี้ งานวิจัยยังระบุว่า ในกลุ่มวัยรุ่นทั่วโลก อายุระหว่าง 15-19 ปี ทุก 1 ล้านคน จะพบวัยรุ่นที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งสูงถึง 185 คนต่อปี โดยมะเร็งที่พบมากที่สุดในกลุ่มวัยรุ่น คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (23%) คิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 42-43 คน ต่อวัยรุ่น 1 ล้านคน
สำหรับ ประเทศไทย มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย จากสถิติ พบผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในประเทศไทยเฉลี่ยปีละ 3,000 ราย หรือคิดเป็นอัตราเฉลี่ยวันละ 8 ราย และปัจจุบันพบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อยเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการเกิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้อย่างชัดเจน
ศ. นพ. ธานินทร์ อินทรกำธรชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญและตื่นตัวกับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่พบได้บ่อยในประเทศไทยและทั่วโลก จึงยกให้วันที่ 15 กันยายน ของทุกปี จะตรงกับวันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโลก และในปีนี้ ชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย ยังคงสานต่อจัดกิจกรรม "ปาฏิหาริย์-เปลี่ยนมะเร็ง-ให้เป็นสุข: MIRACLE is all around" ต่อเนื่องเป็น ปีที่ 4 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และส่งต่อกำลังใจให้คนไข้โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง รวมถึงครอบครัวและคนใกล้ชิดของผู้ป่วย ให้ต่อสู้ก้าวข้ามผ่านโรคนี้ไปให้ได้”
จาก งานวิจัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบบ นอน-ฮอดจ์กิ้น Non-Hodgkin (NHL) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทวิเคราะห์ เกี่ยวกับลักษณะทางพยาธิสภาพ ลักษณะโรค และอัตราการรอดชีวิต จากกรณีศึกษาของประเทศไทย[2] พบว่า ประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบได้มากที่สุดในประเทศไทย คือ นอน-ฮอดจ์กิ้น เซลล์ใหญ่ชนิดบี (diffused large B-cell) คิดเป็น 58 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในประเทศไทยทั้งหมด และเป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด นอกจากนี้ อายุเฉลี่ยของคนไทยที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองประเภทนอน-ฮอดจ์กิ้น คือ 56 ปี ในขณะที่ทั่วโลกอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยมะเร็งชนิดเดียวกันนี้ อยู่ที่ 65-74 ปี ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะพบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบบ นอน-ฮอดจ์กิ้น ในกลุ่มคนที่อายุน้อยลง
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมี 2 ชนิด คือ 1) ชนิดนอน-ฮอดจ์กิ้น (NHL) เมื่อก่อนพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันพบในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อยมากขึ้น เพศชายพบบ่อยมากกว่าเพศหญิง 2) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิ้น (HD) จะพบบ่อยในช่วงอายุ 20-30 ปี โดย อาการเบื้องต้นที่พบบ่อยคือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ ลำคอ หรือส่วนอื่นๆ โต นานเกิน 2-3 สัปดาห์ และมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน และความจำเสื่อมร่วมด้วย
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจาก มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดและยาแอนตี้บอดี้ได้เป็นอย่างดีเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น หากผู้ป่วยรับการรักษาตั้งแต่ระยะที่ 1 มีโอกาสหายขาดถึงร้อยละ 75 ส่วนผู้ป่วยที่รับการรักษาในระยะที่ 2-4 มีโอกาสหายขาด ถึงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆ และไม่ต้องอาศัยการผ่าตัด แต่ปัญหาของผู้ป่วยในระยะแรกมักจะไม่ทราบว่าตนเองเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื่องจากอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเหมือนอาการอื่นๆ ที่พบได้ทั่วไป เช่น การติดเชื้อ ภูมิแพ้ เหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นไข้ และน้ำหนักลด ดังนั้นความรู้ความเข้าใจ การดูแลสุขภาพตนเองอย่างดี รวมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาตั้งแต่เริ่มต้น จะทำให้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพประกอบเพิ่มเติม
ศ. นพ. ธานินทร์ อินทรกำธรชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย
Description: Description: Description: Z:\Public\Roche\Event\Miracle is All Around\Photo_miracle\selected\ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองร่วมแชร์ประสบการณ์บนเวที.jpg
ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผ่านการรักษา ร่วมแบ่งปันประสบการณ์
Description: Description: Description: Z:\Public\Roche\Event\Miracle is All Around\Photo_miracle\selected\นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ร่วมตอบคำถามและไขข้อข้องใจแบบเจาะลึก.jpg
นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ร่วมตอบคำถามและไขข้อข้องใจแบบเจาะลึก