WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOPHอำนวย กาจนะกรมควบคุมโรค ชี้ไทยยังเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนก ผ่านการเคลื่อนย้ายสัตว์ชายแดน

     นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ช่วงนี้ประเทศไทยอาจมีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนก เนื่องจากพบการระบาดของไข้หวัดนกในสัตว์ปีกประเทศกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลายพื้นที่อากาศเริ่มหนาวเย็น สภาพอากาศเหมาะสมกับการแพร่ของเชื้อไข้หวัดนก และบางพื้นที่มีนกอพยพหนีสภาพอากาศหนาวจากต่างประเทศเข้ามา จึงอาจนำเชื้อโรคมาแพร่ได้

    โดยองค์การอนามัยโลกได้รายงานสถานการณ์ในปี 2558 พบผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 และ เอช 7 เอ็น 9 จาก 4 ประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และแคนาดา รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น 355 ราย เสียชีวิต 57 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 16.06%

    อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนก เนื่องจากมีโอกาสที่โรคจะแพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางการเคลื่อนย้ายสัตว์และการเดินทางของประชาชนบริเวณแนวชายแดน ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนก ตั้งแต่ปี 2549 แต่ยังเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงโรคในทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจังหวัดตามแนวชายแดน เช่น สระแก้ว จันทบุรี

        นายแพทย์อำนวย กล่าวต่อว่า กรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือประชาชนทุกคนให้ยึดหลักปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้หวัดนกโดยหมั่นสังเกตอาการของสัตว์ปีกทั้งเป็ด ไก่ และนกที่เลี้ยงไว้ รวมทั้งนกธรรมชาติ หากพบว่าป่วยตายผิดปกติ ให้สงสัยว่าอาจติดเชื้อไข้หวัดนก โดยห้ามนำสัตว์ปีกที่ตายแล้วหรือกำลังมีอาการป่วย มาชำแหละเพื่อจำหน่ายหรือรับประทาน หรือนำไปให้สัตว์อื่นกินอย่างเด็ดขาด เพราะถ้าสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนก ผู้ชำแหละจะติดเชื้อจากสัตว์นั้นได้ หากพบสัตว์ปีกตายผิดปกติให้แจ้งหน่วยงานปศุสัตว์ในพื้นที่ เช่น ปศุสัตว์จังหวัด แต่หากจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ที่ป่วยหรือตาย ให้สวมถุงมือหรือถุงพลาสติกและล้างมือฟอกสบู่ทุกครั้งหลังจากสัมผัสสัตว์ปีก

     สำหรับ ผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีรายงานการระบาดของไข้หวัดนก ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีก รวมทั้งหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และเมื่อเดินทางกลับมาแล้วหากมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ให้รีบไปพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติการสัมผัสโรค หรือแจ้งประวัติการเดินทาง  สำหรับประชาชนทั่วไปหากมีอาการเป็นไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกหรืออยู่ในพื้นที่สัตว์ปีกป่วย ให้รีบไปพบแพทย์ หากมีข้อสงสัยให้โทรปรึกษาสายด่วนของกรมควบคุมโรค 1422

อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!