WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

9618 S Spine SYNDROME 01

‘ออฟฟิศซินโดรม’ ชนวนเกิดโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

          ออฟฟิศซินโดรม รอยโรคที่มาจากพฤติกรรม รักษาช้าเสี่ยงกระดูกสันหลังเสื่อม แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแนะเร่งปรับพฤติกรรมก่อนจะสายเกินแก้ 

          “ออฟฟิศซินโดรม” เป็นกลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังเกิดจากการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม พบได้บ่อยในพนักงานออฟฟิศที่มักใช้เวลากับการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ ในท่าเดิมๆ จนทำให้เกิดเซลล์อักเสบ และร่างกายดึงแคลเซียม เนื้อเยื่อ หรือพังผืดมาเกาะจนทำให้เกิดกระดูกงอก เมื่อเวลาผ่านไปจึงทำให้เป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม

          อาการหลักที่พบในโรคออฟฟิศซินโดรม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง หรือปวดร้าวศีรษะ บางครั้งมีอาการปวดไปตามแนวแขน หรือหนา ชา ซึ่งมีสาเหตุมาจากการนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ หรือนั่งไม่ถูกวิธี ทำให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งตัวเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่มีการผ่อนคลาย การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม 

          ขณะที่ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค เผยว่าพบกลุ่มวัยทำงานป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมมากขึ้น โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งโต๊ะเป็นเวลานานๆ และจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2556-2560 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ประมาณ 30.8 ล้านคน เป็นกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 15 ขึ้นไป) ที่ใช้คอมพิวเตอร์ จำนวนถึง 28.1 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 91.3 ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากการทำงานในออฟฟิศเป็นเวลานาน และมีแนวโน้มที่ส่งผลให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้สูงขึ้น

 

9618 S Spine นพ ณฐพล ลิตติรานนท์

 

          สอดคล้องกับข้อมูลของ นพ.ณฐพล ลิตติรานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ โดย นพ.ณฐพล เผยว่า “ออฟฟิศซินโดรม” เป็นโรคยอดนิยมของหนุ่มสาวออฟฟิศ เพราะการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ อาจทำให้หลายคนเริ่มมีอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดตา และรู้หรือไม่ว่าอาการเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะนำไปสู่โรคออฟฟิศซินโดรมเท่านั้น แต่อาจอันตรายจนก่อให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้

          อย่างไรก็ตาม ท่านั่งที่ไม่เหมาะสมมีผลทั้งกระดูกส่วนคอและส่วนหลัง ดังนั้นการจัดโต๊ะทำงานให้ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ 

          นพ.ณฐพล ยังแนะนำการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมเพื่อสุขภาพที่ดี เช่น เก้าอี้ทำงานต้องมีพนักพิงหลังและพนักแขน เมื่อแผ่นหลังของเราชิดพนักพิงหลังจะไม่งอ ส่วนพนักแขนก็สำคัญ เพราะการวางแขนที่พนักจะช่วยรองรับน้ำหนักแขนได้ ความสูงของเก้าอี้ก็ต้องรองรับสรีระไม่ให้เข่างอระดับ 90 องศา ในส่วนของโต๊ะทำงานที่ดีต้องปรับระดับสูงต่ำได้ คอมพิวเตอร์ต้องตั้งตรง ไม่ให้เราก้มหรือเงยมากเกินไป 

 

9618 S Spine SYNDROME 02

 

          “ออฟฟิศซินโดรม” ดูเหมือนจะเป็นโรคยอดฮิตจนกลายเป็นเรื่องปกติของคนในยุคปัจจุบันเพราะโรคดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต บางคนมีอาการปวดหลังหากโชคดีก็เพียงทานยาหรือทำกายภาพบำบัดก็หาย แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเข้าสู่ภาวะการผ่าตัดเพราะกว่าจะรู้ว่าตัวเองไม่ได้ปวดหลังธรรมดา แต่กลับเป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทก็สายเกินไปเสียแล้ว ดังนั้นการสังเกตตัวเองและเข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุดจะทำให้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ไม่ต้องคิดไปเองว่านี่คืออาการปวดหลังธรรมดาที่เกิดจากกล้ามเนื้อหรือเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังหรือไม่ 

 

9618 S Spine SYNDROME 03

 

          สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาการปวดอาจมีหลายสาเหตุ ดังนั้นเมื่อมีสัญญาณเตือนของอาการเหล่านี้ ควรเริ่มป้องกันและค้นหาสาเหตุ คือสิ่งที่ดีที่สุด และหากมีอาการแล้วก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานจนเรื้อรัง เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายแรงได้

          โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ : ปรึกษา โทร.02 034 0808

 

 

A9618

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!