WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaAไทยพบ

ไทยพบสายพันธุ์ย่อยเดลต้าจากการเฝ้าระวังโดยเครือข่ายกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

       นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ โควิด 19 ในประเทศไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการว่า แนวโน้มในภาพรวมของประเทศจากข้อมูลการเฝ้าระวังระหว่างวันที่ 14 ถึง 20 สิงหาคม 2564 จากการสุ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 2,295 ราย เป็นสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 2,132 ราย (92.90%) สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) พบจำนวน 134 ราย (5.84%) และสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จำนวน 29 ราย (1.26%) โดยสายพันธุ์เบตาพบเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น

        นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และเครือข่ายศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้มีการพบสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์เดลตา จำนวน 4 สายพันธุ์ได้แก่ AY.4, AY.6, AY.10, AY.12 มีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการตรวจพบดังนี้

       นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า สายพันธุ์ AY.4 เป็นสายพันธุ์ที่ตรวจพบเป็นจำนวน 9 ราย โดยพบมากที่สุด 4 รายจากจังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลการระบาดที่แน่ชัดของกลุ่มสายพันธุ์ AY.4 แต่ลักษณะการกระจายตัว น่าจะเป็นการระบาดจากปริมณฑล ออกไปยังจังหวัดอื่นๆ ส่วน AY.12 เป็นส่วนหนึ่งของการระบาดในกรุงเทพมหานคร ตรวจพบที่สุราษฎร์ธานี และ กทม.โดยข้อมูลทั้งหมดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รายงานให้กับกรมควบคุมโรคและทีมสอบสวนทางระบาดเพื่อติดตามต่อไป

       สำหรับ ในภาพรวมพบว่าสายพันธุ์เดลตา เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่เชื้ออย่างรวดเร็วและมีการกลายพันธุ์ของเชื้ออย่างต่อเนื่อง โดยทั้ง AY.4/AY.6/AY.10/AY.12 เป็นเชื้อที่พบทั้งในแถบประเทศยุโรป และยังพบในไทยด้วย โดยเชื้อเหล่านี้ อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์เดลตาในประเทศไทยเองในช่วง 2 เดือนนี้ หรือ อาจมาจากแรงงานข้ามชาติก็ได้ ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะมีการเฝ้าระวังการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมอย่างต่อเนื่อง

   “การระบาดอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ ที่อาจทนต่อวัคซีนหรือแพร่ได้ไวกว่าเดิม ดังนั้นมาตรการจำกัดการแพร่เชื้อของโควิด 19 ยังจำเป็นไปอีกระยะ จนกว่ากลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปี และ กลุ่มที่มีโรคประจำตัว จะได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 เช็ม เพื่อลดอัตราป่วยและลดโอกาสเสียชีวิต พร้อมกับใช้การตรวจและแยกโรค เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้ออย่างกว้างขวาง ซึ่งจะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ที่ดื้อต่อวัคซีนได้”นายแพทย์ศุภกิจกล่าว

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!