WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa2Aนพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล

อย.แนะคนไทยใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน และผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสเสริมไอโอดีน พิชิตโรคขาดสารไอโอดีน

      อย.แนะคนไทยทุกเพศทุกวัยบริโภคใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน และผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสเสริมไอโอดีน ในการปรุงอาหาร เพื่อลดโรคขาดสารไอโอดีน

        นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า 25 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันไอโอดีนแห่งชาติ ในโอกาสที่สภาการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนนานาชาติ (International Council for Control of Iodine Deficiency Disorders, ICCIDD) ได้ทูลเกล้าถวายเหรียญทอง ICCIDD แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2540 เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณในการวินิจฉัยปัญหา และพระราชทานแนวทางการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน อันเป็นหลักชัยให้พสกนิกรไทยรวมพลังร่วมใจขจัดภัยโรคขาดสารไอโอดีนให้ลดน้อยลงจนอยู่ในระดับที่ควบคุมได้จนเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาคมโลก

      ไอโอดีน คือ แร่ธาตุตามธรรมชาติ พบมากในอาหารทะเล เช่น ปลาทะเล กุ้ง หอย ปู และสาหร่ายทะเล เป็นสารอาหารซึ่งใช้สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและการพัฒนาสมองของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ รวมถึงการเสริมสร้างสติปัญญา ดังนั้น ไอโอดีนจึงเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งปริมาณไอโอดีนที่ต้องการต่อวันสำหรับเด็ก ประมาณ 90 - 120 ไมโครกรัม ผู้ใหญ่ทั่วไป ประมาณ 150 ไมโครกรัม และหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรจะมีความต้องการที่มากขึ้นประมาณ 200 ไมโครกรัมต่อวัน เนื่องจากหากทารกขาดสารไอโอดีนจะส่งผลให้สมองเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ระดับสติปัญญาจะลดลง และอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือพิการ หรือปัญญาอ่อนได้ ส่วนผู้ใหญ่อาจเป็นโรคคอพอก เชื่องช้า ผิวหนังแห้ง และท้องผูก

       ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้น้อมนำพระราชดำริในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนมาดำเนินมาตรการแก้ปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องเสริมสารไอโอดีนจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ เกลือบริโภค น้ำปลา น้ำเกลือปรุงอาหาร และผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง รวมทั้งร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัฒนาสถานที่ผลิตเกลือบริโภค และผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน พร้อมทั้งติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังคุณภาพหรือมาตรฐานของเกลือบริโภค และผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีน เพื่อให้ประชาชนในทุกครัวเรือน ทุกเพศทุกวัยได้รับสารไอโอดีนจากผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

       รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อและใช้เกลือเสริมไอโอดีน หรือผลิตภัณฑ์ปรุงรสเสริมไอโอดีน เช่น น้ำปลา ซอสถั่วเหลืองที่มีคุณภาพในการปรุงอาหาร ซึ่งดูได้จากฉลากผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่ามีการเสริมไอโอดีน และต้องมีชื่อที่อยู่ของผู้ผลิตชัดเจน และมีเลข อย. บนฉลากด้วย ซึ่งการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนร่วมกับการกินอาหารที่มีไอโอดีนตามธรรมชาติ จะช่วยให้ร่างกายได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานเกลือหรือเครื่องปรุงรสที่มากกว่าปกติ หรือรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มมาก

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!