WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaDผื่นที่มือCOVID

โรคโควิด-19 กับอาการทางผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม (ตอนที่ 1)

       แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติทางผิวหนังร่วมด้วย สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย จึงมีความเป็นห่วงประชาชนเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีหลากหลายระบบ อย่างไรก็ดี จากสถิติพบว่าประมาณ 0.2 -20% ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทั้งหมดมีอาการผื่นทางผิวหนังร่วมด้วย

ผื่นอะไร ที่ให้สงสัยว่าเป็น COVID

     รศ.พญ.ภาวิณี ฤกษ์นิมิตร อนุกรรมการประชาสัมพันธ์และงานกิจกรรมงคมสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยกล่าวว่า จากผลงานวิจัย Skin manifestations in COVID-19: The tropics experience เมื่อปีพ.ศ. 2563 พบว่าสถิติผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน153 ราย มีอาการโรคผิวหนังร่วมด้วย 23 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วน 15% โดยอาการบ่งชี้ทางผิวหนังของผู้ป่วยที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มอาการ เช่นเป็นผื่นผิวหนังแบบผื่นลมพิษ ผื่นแดงชนิด maculopapular เป็นตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หรือผิวหนังแตกเป็นแผลจากการขาดเลือด

       ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการทางผิวหนังในประเทศแถบยุโรป และประเทศเอเชียจะมีอาการทางผิวหนังแตกต่างกันอยู่บ้าง กล่าวคือ ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศแถบเอเชียมักมีอาการผื่นลมพิษ ผื่นแดงทั่วตัว หรือผื่นแบบตุ่มน้ำ ซึ่งพบในกลุ่มผู้ป่วยในประเทศแถบยุโรปเช่นกัน แต่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศแถบยุโรปจะมีอาการหนึ่งที่ไม่พบผู้ป่วยในประเทศไทย คือมีอาการปลายมือปลายเท้าม่วงคล้ำ (ในทางการแพทย์ รู้จักกันในนาม Covid Toe) อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น ทั้งนี้วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการทางผิวหนัง แพทย์จะรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาเสตียรอยด์รักษาอาการตุ่มนูน ตุ่มคัน หรือยาแก้แพ้รักษาอาการลมพิษ เป็นต้น

     สำหรับ อาการทางผิวหนังที่พบในผู้ป่วยโรคโควิด-19 สามารถแยกได้เป็น 2ประเภท คือ 1.อาการผื่นผิวหนังจากโรคโควิด-19 โดยอาการบ่งชี้ก็เช่น ผู้ป่วยเป็นลมพิษ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง หรือมีแผลแตกบริเวณผิวหนัง  2.อาการผื่นผิวหนังจากการสวมหน้ากาอนามัยหรืออุปกรณ์ป้องกัน PPE ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ทำให้บางรายเป็นสิวหรือผื่นแดงบริเวณใบหน้าอันเนื่องมาจากการสวมหน้ากากอนามัยเป็นระยะเวลานาน หน้ากากอนามัยไม่สะอาด หรือบางรายเกิดจากการแพ้ส่วนประกอบบางชนิดของหน้ากากอนามัย ขณะที่บางรายมีอาการผื่นแดงตามมือจากการล้างมือบ่อยจนมือแห้งและระคายเคือง

        จากข้อมูลการรักษาและการเก็บข้อมูล แม้ยังไม่พบว่าอาการทางผิวหนังของผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะก่อให้เกิดอาการรุนแรงอื่นตามมาจนถึงขั้นเสียชีวิต หากประชาชนมีอาการเป็นไข้ หายใจไม่สะดวก จมูกไม่ได้กลิ่น หรือมีอาการผื่นผิวหนังร่วมด้วยก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ

      นอกจากนี้ สิ่งที่อยากฝากแก่ประชาชนทุกคนคือ การดูแลตนเองเบื้องต้นยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนห่างไกลโรคโควิด-19 ได้ ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยและควรเปลี่ยนใหม่บ่อยๆ หรือหากเป็นหน้ากากผ้าควรซักล้างทำความสะอาดสม่ำเสมอ และควรล้างมือบ่อยๆ ซึ่งหลังจากล้างมือแล้ว อาจทามอยส์เจอร์ไรเซอร์เพื่อสร้างความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ก็จะทำให้ผิวหนังไม่ระคายเคืองได้

ผื่นที่ 'มือ' ช่วง COVID

        ผศ.พญ.สุวิรากร ธรรมศักดิ์ ประธานฝ่ายกิจกรรมสังคมสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การป้องกันเชื้อไวรัสไม่ให้เข้าสู่ร่างกายนั้น ‘มือ’ ที่เป็นอวัยวะที่สำคัญ ที่ใช้จับสิ่งของ จับทุกสิ่งทุกอย่างแล้วมาจับหน้า จมูก ปาก ทำให้เชื้อเขาสู่ร่างกาย ได้ง่าย ดังนั้น เราสามารถลดการติดเชื้อได้โดยการล้างมือบ่อยๆ หรือใช้แอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป ในการฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ ต่างๆ แต่การล้างมือบ่อยๆ ทำให้มือมีการระคายเคืองได้

       ลักษณะเริ่มต้นเราจะเห็นผิวที่มือแห้ง แล้วเริ่มมีการแตกและเจ็บ ถ้าเป็นมากๆ จะเป็นผื่นแดงหยิบจับอะไรก็แสบ เจ็บมือไปหมด ถ้าสังเกตให้ดีคนที่สัมผัสน้ำบ่อยๆไม่จำเป็นต้องโดนสบู่ ผงซักฟอกก็ทำให้มือระคายเคืองแล้ว เช่น อาชีพ แม่บ้าน พยาบาล คนทำความสะอาด ทุกคนถ้าล้างมือบ่อย ทั้งสบู่ หรือ แอลกอฮอร์ ก็ทำให้ระคายเคืองได้

       สำหรับ บางคน มีการแพ้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือส่วนประกอบ ไนเจลฆ่าเชื้อโรคหรือถุงมือ จะมีอาการคัน มีผื่นแดง ตุ่มน้ำและสะเก็ดลอก ซึ่งเป็นการแพ้เฉพาะบุคคล ซึ่งอาจจะต้องตรวจหาว่าแพ้อะไร จะได้หลีกเลี่ยงได้ถูกบางคนล้างมือบ่อยๆ ทำให้มีการติดเชื้อที่จมูกเล็บ ทำให้มีการบวม เจ็บที่โคนเล็บ และติดเชื้อราได้

     คำแนะนำ ในการป้องกัน ไม่ให้เกิดผื่นที่มือ ทำได้ ดังนี้ 1.เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ระคายเคือง สบู่สังเคราะห์จะดีกว่าสบู่ก้อนเพราะมีความเป็นด่างน้อยกว่า แอลกอฮอล์ เจล ที่มีส่วนผสมของสารให้ความชุ่มชื่น จะมีคุณสมบัติดีกว่าแอลกอฮอล์สเปรย์ แต่ทั้งคู่ฆ่าเชื้อไวรัสได้เหมือนกัน 2.ทาสารให้ความชุ่มชื่นบ่อยๆ หลังล้างมือหรือใช้แอลกอฮอร์เสมอ และทาเพิ่มเมื่อรู้สึกแห้ง พกโลชั่นหรือครีมทามือเสมอ 3.ไม่ควรล้างมือด้วยน้ำร้อน 4.ไม่จำเป็นต้องล้างมือและใช้แอลกอฮอล์ พร้อมๆกันในกรณีที่มือเปื้อนสิ่งสกปรกที่มองเห็นให้ล้างน้ำปกติ 

     ส่วนแอลกอฮอล์ใช้กรณีที่มือไม่ได้เปื้อนมากและไม่สามารถหาที่ล้างมือได้ 5.ถุงมือช่วยลดการสัมผัสได้ แต่ต้องคอยเปลี่ยนบ่อยๆ อย่าใส่จนเหงื่ออกเปียกเกิดความอับชื้นหรือน้ำเข้าต้องเปลี่ยนทันที และไม่ควรใส่ถุงมือหลังล้างมือทันทีหรือทาแอลกอฮอล์ เพราะจะเพิ่มอัตราการระคายเคืองได้  6.ถ้ามีผิวหนังอักเสบ ใช้ยารักษาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์อ่อนๆ ได้ เช่น  0.02% Triamcinolone cream แต่ถ้าทาแล้วไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์ควรไปพบแพทย์ผิวหนัง

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!