- Details
- Category: การแพทย์-สธ
- Published: Wednesday, 22 April 2020 15:37
- Hits: 475
ออกซฟอร์ด เผย ‘Digital Tracing’ แอปตัวช่วย
แยกกลุ่มเสี่ยงติดโควิด ได้ผลดีกว่าวิธีปกติ 50%
ถอดบทเรียน “Digital Tracing” แอปพลิเคชันแยกกลุ่มเสี่ยงติดโควิด ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดแจง ช่วยเพิ่มการคัดแยกเสี่ยงติดโควิด ดีกว่าเดิม 50%
จากสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาครัฐมีมาตรการการติดตามหลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น เช่น สอบถามประวัติการเดินทาง การพักอาศัย การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ แต่การติดตามในลักษณะดังกล่าวยังเป็นการติดตามที่ค่อนข้างยากและใช้เวลานาน ส่งผลให้การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อเป็นไปได้ยาก
ตัวอย่าง PEPP-PT ของกลุ่มประเทศยุโรป
ตัวอย่าง Trace Together ของประเทศสิงคโปร์
โครงการ “สนับสนุนข้อมูลวิจัยเชิงลึกด้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยข้อมูลว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ได้ศึกษาโอกาสของการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 จากการเก็บข้อมูลผู้แพร่เชื้อและผู้ได้รับเชื้อไวรัส จำนวน 40 คู่ พบว่าค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน หรือ R0 ที่เกิดขึ้นจากการแพร่เชื้อจากผู้ไม่แสดงอาการสูงถึง 0.9 จึงศึกษาความจำเป็นของการใช้ “Digital tracing” ระบบติดตามผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อจากผู้ป่วยทันที ผลการศึกษาพบว่า ในระยะเวลา 3 วันที่ติดตามเพื่อกักและโอกาสการควบคุมโรคแบบธรรมดา สำเร็จน้อยกว่าการใช้ระบบ Digital Tracing ช่วยถึง 50% การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการสืบหาผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด (Contact tracing) จึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก ปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้อยู่ 2 แอปพลิเคชัน คือ Pan-European Privacy Preserving Proximity Tracing (PEPP - PT) ของกลุ่มประเทศยุโรป และ Trace Together ของประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้เทคโนโลยีที่ 2 รูปแบบแตกต่างในรายละเอียดแต่ใช้หลักการเดียวกัน คือ 1. ใช้สัญญาณบลูทูธ (Bluetooth) บนโทรศัพท์มือถือในการตรวจหาว่าใครอยู่ในรัศมี 2–10 เมตร ในระยะเวลาที่กำหนด 2. ทำการบันทึกรหัสประจำตัวของคนที่อยู่ใกล้ ไม่บันทึกชื่อจริง ไม่เก็บตำแหน่งบุคคล และทำการบันทึกข้อมูลไว้ที่โทรศัพท์มือถือของแต่ละคน 3. เมื่อระบบส่วนกลางพบว่ามีผู้ป่วย เจ้าหน้าที่จะติดต่อไปที่ผู้ป่วย ผู้ป่วยส่งข้อมูลในมือถือของตนไปยังส่วนกลาง โดยผู้ป่วยต้องยินยอมเปิดเผยข้อมูล
ทีมวิจัย สกสว. วิเคราะห์ว่า สำหรับในไทย การพัฒนาแอปพลิเคชัน Digital Tracing น่าจะใช้ระยะเวลาไม่นาน แต่ประสิทธิภาพในการควบคุมการระบาดของโรคนั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมือที่เราคนไทยทุกคนต้องช่วยกัน เพราะ หลังจากประเทศสิงคโปร์ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันไปเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563 มีผู้ใช้ไปแล้ว 1 ล้านคน ตามหลักการแล้วต้องมีผู้ใช้ 60% ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 4 ล้านคน จึงจะมีประสิทธิภาพในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ
ในขณะเดียวกัน ความร่วมมือของภาคประชาชนเกี่ยวข้องกับการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งประชาชนส่วนหนึ่งอาจไม่มั่นใจในระบบความปลอดภัยและไว้วางใจจึงจะยอมใช้งาน 2. ผู้ใช้ที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลผู้ป่วย หากไม่มีข้อมูลเหล่านี้แล้วก็จะทำให้การติดตามผู้ป่วยเป็นไปได้ยากมาก ทั้งนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลอาจต้องยืดหยุ่นกับสถานการณ์ดังกล่าว
AO4474
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web