- Details
- Category: การแพทย์-สธ
- Published: Wednesday, 25 March 2020 21:44
- Hits: 837
หน้ากากผ้านาโนกันไรฝุ่น WIN-MASKS ป้องกัน COVID-19
WIN-Masks เป็นผลงานการร่วมกันพัฒนาโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์ความเป็นเลิศชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือทีเซลส์ (TCELS)ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรได้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีล้านนา (มทร.) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ (สทน.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ดำเนินการพัฒนา“นวัตกรรมหน้ากากผ้านาโนกันไรฝุ่น WIN-Masks”โดยใช้ผ้ากันไรฝุ่นศิริราชชนิดทอแน่นที่มีรูผ้า (Pore size) ขนาด 4-5 ไมครอนที่สามารถกรองฝุ่นและละอองฝอยจากเสมหะขนาดเล็กได้ซักล้างได้มีคุณภาพมาตรฐานที่ผ่านการทดสอบจากห้องปฏิบัติการนอกจากนั้นยังเคลือบสารนาโนกันน้ำ (water repellent) เพื่อป้องกันการซึมผ่านของละอองไอจามและ ZnO ที่มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
WIN-Masks มีโครงสร้าง 3 ชั้น
- • ชั้นที่ 1 ผ้ากันไรฝุ่นศิริราชเคลือบสารนาโน : กันน้ำและกรองฝุ่นละอองฝอยขนาด 5 ไมครอน
- • ชั้นที่ 2 ผ้าไมโครไฟเบอร์ผสม ZnO : ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
- • ชั้นที่ 3 ผ้าฝ้าย : ดูดซับน้ำจากไอ-จาม
WIN-Masksการออกแบบและดีไซน์
- • แนบกับใบหน้าและสวมใส่สบาย
- • ขนาด S / M / L
- • มีการซึมผ่านของอากาศได้ดี (Permeability Test) ไม่ทำให้การหายใจลำบาก
มาตรฐานเครื่องมือแพทย์
- • ผ่านการทดสอบการกรองฝุ่นตามมาตรฐานมอก. 2424-2552 / EN143:2000 (มาตรฐานยุโรป European Union- Personal Protective Equipment: EU PPE)
- • ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานได้รับอนุญาตการผลิตจากอย.
ผลการทดสอบคุณสมบัติ WIN-Masks
- • ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคของหน้ากาก (Particle filtration efficiency)
- WIN-Masksสามารถป้องกันหรือกรองฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ 65% = มีค่าใกล้เคียงกับหน้ากากอนามัยทั่วไป(Surgical Mask)
*** อยู่ในระหว่างการพัฒนาให้สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ไม่ต่ำกว่า 80%
- • ความสามารถในการป้องกันการซึมผ่านของเหลว (Fluid resistance)
- WIN-Masksผลการทดสอบโดยการหยดน้ำลงบนพื้นผิวผ้ากรองไรฝุ่นที่เคลือบด้วยสารนาโนพบลักษณะน้ำกลิ้งบนใบบัวโดยที่น้ำไม่ซึมไปในเนื้อผ้า
- • ความกระชับของหน้ากากเมื่อสวมใส่ (Fit test)
- WIN-Masks = Fit efficiency ประสิทธิภาพการกรองอากาศจากภายนอก =ป้องกันอากาศจากภายนอกได้ประมาณ68%
- หน้ากากอนามัยทั่วไป (Surgical Mask) > Fit efficiency = ป้องกันอากาศจากภายนอกได้เพียง 62%
- • ทดสอบการซึมผ่านของอากาศ (Permeability Test)
- ผ้ากันไรฝุ่นศิริราชมาตรฐาน ISO 9237 : 1995 (E) โดยสถาบันพัฒนาสิ่งทอแห่งประเทศไทย = ได้ค่าเฉลี่ย 0.709 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อตารางเซนติเมตรต่อวินาที (ค่า = 0 แปลว่าไม่สามารถซึมผ่านได้ // ค่า = 1 แปลว่ามีอากาศซึมผ่านที่ดีมาก)
- ทดสอบการหายใจด้วยอาสาสมัคร = การทำงานในที่ร่มใส่ได้นานไม่รู้สึกอึดอัด
- • ผลการทดสอบคุณสมบัติหลังการซักซ้ำ
- 0 ครั้งมีประสิทธิภาพการกรองที่อนุภาค 0.3 ไมครอนประมาณ 34%
- WIN-Masks ซักได้ 30 ครั้งมีประสิทธิภาพการกรองที่อนุภาค 0.3 ไมครอนประมาณ 45%
WIN-Masks = ลดขยะปนเปื้อนจากหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (disposable)
หมายเหตุ :
- • ประสิทธิภาพการกรองดีขึ้นหลังผ่านการซัก
- การพองตัวและเป็นขุยของใยผ้าฝ้ายสามารถดักจับฝุ่นได้ดีขึ้น
- • ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคของหน้ากาก (Particle filtration efficiency)
- หน้ากากต้นแบบสามารถป้องกันหรือกรองฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ 65%
- • ความสามารถในการป้องกันการซึมผ่านของเหลว (Fluid resistance)
- โดยการหยดน้ำลงบนพื้นผิวผ้ากันไรฝุ่นที่เคลือบด้วยสารนาโนพบลักษณะน้ำกลิ้งบนใบบัว โดยที่น้ำไม่ซึมไปในเนื้อผ้า
- • ความกระชับของหน้ากากเมื่อสวมใส่ (Fit test)
- WIN-Masksสามารถป้องกันอากาศจากภายนอกเข้าได้ประมาณ 68%
- อากาศภายในหน้ากากมีความสะอาดมากกว่าอากาศภายนอก 3 เท่า
มาตรฐานเครื่องมือแพทย์
- • ผ่านการทดสอบการกรองฝุ่นตามมาตรฐานมอก. 2424-2552 / EN143:2000 (มาตรฐานยุโรป European Union- Personal Protective Equipment: EU PPE)
- • ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานได้รับอนุญาตการผลิตจากอย.
WIN-Masks ควรใช้กับกลุ่มเสี่ยงใด
- • กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เช่นแพทย์พยาบาลเภสัชกรพนักงานเคลื่อนย้ายเจ้าหน้าที่เวชระเบียนประชาสัมพันธ์และการเงินเป็นต้น
- • กลุ่มบุคลากร (Non Healthcare) ที่ต้องให้บริการประชาชนจำนวนมากแบบเผชิญหน้า ( Face to Face) เช่นพนักงานบนเครื่องบินพนักงานท่าอากาศยานและคนขับแท็กซี่เป็นต้น
- • ประชาชนทั่วไปที่ต้องอยู่ในกลุ่มชนหรือพบปะผู้คนจำนวนมาก
ข้อควรระมัดระวังและการเก็บรักษาทำความสะอาด
- • หากใส่หน้ากากมีอาการหายใจไม่สะดวกแน่นหน้าอกอ่อนเพลียให้ถอดหน้ากากออกทันที
- • เมื่อหน้ากากฉีกขาดชำรุดหรือปนเปื้อนด้วยเสมหะหรือสารคัดหลั่งควรเปลี่ยนหน้ากากอันใหม่
- • หน้ากากผ้าใช้แล้วควรใส่ถุงพลาสติกหรือถุงซิปล็อคปิดปากถุงให้แน่นสนิทและนําไปซักทำความสะอาด
- • การทำความสะอาดใช้น้ำยาทำความสะอาดทั่วไปด้วยน้ำอุ่นและใช้ภาชนะทำความสะอาดแยกจากผ้าทั่วไป
- • หลังทำความสะอาดไม่ควรรีดด้วยเตารีดเพราะจะทำให้สารนาโนที่เคลือบผิวผ้ากันไรฝุ่นเสื่อมสภาพได้
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web