WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

01 C.Bigนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์

อาเซียนร่วมผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

    10 ประเทศอาเซียนร่วมผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไทยเสนอตั้งศูนย์นวัตกรรมผู้สูงอายุ ลดความเสี่ยงด้านการเงินในอนาคต

     แม้ผู้นำประเทศอาเซียนต่างเห็นความสำคัญของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การดำเนินการในเรื่องนี้ยังคงแตกต่างกันอยู่มากในแต่ละประเทศ

     “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเป้าหมายของทุกประเทศอาเซียน ทุกประเทศอยากให้ประชาชนของตัวเองเข้าถึงบริการโดยไม่มีอุปสรรค'รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ และผู้ติดตามนโยบายด้านสาธารณสุขในการประชุมอาเซียน กล่าว

    “แต่ละประเทศมีสถานการณ์ไม่เท่ากัน เช่น บางประเทศยังไม่มีสวัสดิการให้ข้าราชการ จะกระโดดไปมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทันทีคงเป็นไปได้ยาก”

     เมื่อพิจารณาความคืบหน้าในการตั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในกลุ่มประเทศอาเซียน นพ.ศุภกิจแบ่งประเทศเป็น 3 กลุ่มหลัก หนึ่ง คือ กลุ่มประเทศที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้ว ครอบคลุมประชากรทั้งประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน 

    สอง กลุ่มประเทศที่พยายามสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาหลายปี และมีกฎหมายรองรับแล้ว ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งรัฐบาลจัดประกันสุขภาพให้ประชาชน แต่ยังไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด

     และสาม กลุ่มประเทศที่งบประมาณน้อย รัฐบาลยังไม่สามารถจัดระบบประกันสุขภาพให้ประชาชนได้ ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งกลุ่มประเทศอาเซียนต้องช่วยกันพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้กันต่อไป

      การรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอกลุ่มประเด็นสุขภาพที่ 3 ด้านเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ (ASEAN Health Cluster 3: Strengthening Health System and Access to Care) ในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 14 (The 14th ASEAN Health Minister’s Meeting: AHMM) ในวันที่ 26-30 สิงหาคม 2562 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา

    พบว่าค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในภาพรวมของแต่ละประเทศอาเซียนยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก สะท้อนถึงความแตกต่างด้านการเข้าถึงระบบสุขภาพของประชากรในแต่ละที่

    ในปี 2559 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในภาพรวมของชาวสิงคโปร์ อยู่ที่ ประมาณ 74,400 บาท/คน/ปี) ส่วนชาวบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอยู่ที่ประมาณ 3,400-19,000 บาท/คน/ปี ชาวกัมพูชา ลาว และพม่า มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่ำกว่า 3,000 บาท/คน/ปี

    เมื่อมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย นพ.ศุภกิจ เห็นว่าความสำเร็จในการตั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มาจาก / ปัจจัยหลัก

    “เรื่องแรกคือเรามีโครงสร้างพื้นฐานเตรียมการไว้แต่เนิ่นๆ รัฐบาลชุดก่อนๆ มีนโยบายสร้างโรงพยาบาลทุกอำเภอ และผลิตแพทย์ชนบทเพิ่มจาก 1,000 เป็น 3,000 คน/ปี ทำให้โครงสร้างการให้บริการของเราพร้อมตั้งแต่ตอนเริ่มทำหลักประกันสุขภาพถ้วน” นพ.ศุภกิจ กล่าว

   “เรื่องที่สอง เรามีพันธสัญญาที่ชัดเจน ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่เราไม่ได้อยากมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เดียว อยากให้ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศอาเซียน หรือแม้แต่ประชากรโลกมีด้วยกัน”

    ปัจจุบัน การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเป้าหมายร่วมของนานาประเทศ สหประชาชาติรณรงค์ให้รัฐบาลทุกประเทศทำระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ประชากรของตนเอง โดยถือเอาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของ เป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)' ที่ต้องทำให้สำเร็จในปี 2573

   ในกลุ่มประเทศอาเซียนก็มีกลไกขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเช่นกัน โดยระหว่างการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนครั้งล่าสุด จัดขึ้นในวันที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา ณ เมืองเสียมราฐ กัมพูชา รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขจาก 10 ประเทศอาเซียนได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ ให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำพันธกิจขับเคลื่อนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเน้นที่การเสริมสร้างการสาธารณสุขมูลฐาน แลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรเพื่อผลักดันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศสมาชิก

   “เรามีกลไกทำงานด้านสุขภาพด้วยการแบ่งกลุ่มงาน (Cluster) เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มป้องกันโรค กลุ่มพัฒนาโครงสร้างระบบสุขภาพ และกลุ่มอาหารปลอดภัย หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ในกลุ่มที่ 3” นพ.ศุภกิจ กล่าว

  “ถ้าจะชวนกันทำเรื่องอะไร เราจะเริ่มคิดในระดับกลุ่มงาน เมื่อตัวแทน 10 ประเทศอาเซียนที่อยู่ในกลุ่มงานเห็นด้วย ก็ส่งต่อเรื่องไปที่ระดับการประชุมเจ้าพนักงานชั้นสูง (Senior Official Meeting) แล้วจึงส่งต่อไปที่การประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน  (Asean Health Minister Meeting) เพื่อให้ความเห็นชอบ แล้วจึงเดินหน้าต่อ

    ประเทศไทยกำลังผลักดันให้เกิดศูนย์นวัตกรรมผู้สูงอายุ (Asean Center for Aging Innovation) ในอาเซียน เพื่อที่เราจะได้ร่วมกันเก็บข้อมูล วิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ เพราะสังคมผู้สูงอายุเป็นความท้าทายร่วมของทุกประเทศ และอาจทำให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีปัญหาได้ เพราะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายสูง อย่างไรก็ดี ตัวแทนบางประเทศขอไปปรึกษารัฐสภาก่อนว่าจะเซ็นรับรองร่วมทำศูนย์ได้หรือไม่”นพ.ศุภกิจ กล่าว

******************************************

โลโก้เส้นพูดเบาและรวดเร็วไลค์ 1 แชร์ 3ถูกใจ 1 คนแชร์ 1กด  L Ike - แบ่งปัน  เพจเวลา Corehoon-Powerเพื่อติดตามเคล็ดลับข่าวสารเทรนด์และ บทวิเคราะห์ดีๆอัพเดตทุกวันคัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ  

 คลิกบริจาคเว็บสนับสนุน

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!