WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaagE1ดร.สาธิต ปิตุเตชะ

หมอตี๋ ห่วงสูงวัยสมองฝ่อ เชิญชวนร่วมกิจกรรม ‘ออกกำลังกายสมอง’ห่างไกลโรคอัลไซเมอร์

      รมช.สธ.เผย พบว่าผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา จึงได้จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชน เช่น การคัดกรองสมองเสื่อม การออกกำลังกายสมอง เพื่อให้ความรู้ประชาชน ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์

       ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า องค์การอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ(Alzheimer’s Disease International; ADI) ได้ประกาศให้วันที่ 21 กันยายนของทุกปีเป็นวันอัลไซเมอร์โลก ซึ่งโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของอาการสมองเสื่อมในวัยสูงอายุ โดยประมาณทุก ๆ 68 วินาทีจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 1 คนบนโลกใบนี้ ในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุประมาณ 7 ล้านคน จากข้อมูลของสมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยพบว่าร้อยละ 10 ของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอาการสมองเสื่อม จะเห็นได้ว่าโรคนี้นับเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้น เมื่อคนในครอบครัวเป็น

     โรคสมองเสื่อมนับเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การดูแลผู้ป่วยจึงไม่ใช่เรื่องง่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมนั้นเป็นภาระสำคัญสำหรับญาติผู้ดูแล ที่ต้องให้การดูแลอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเวลาผ่านไป ภาระในการดูแลยิ่งเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาวะเสื่อมถอยของสมองที่มากขึ้น และเมื่อบุตรหลานต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทิ้งให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านเพียงลำพัง อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บกะทันหันได้นำไปสู่ภาวะการติดเตียงต้องพึ่งพา ดังนั้น เมื่อผู้สูงอายุ มีอาการที่สงสัยว่าจะมีภาวะสมองเสื่อมควรรีบนำผู้สูงอายุไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

      นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคอัลไซเมอร์ คือ สภาวะของสมองเสื่อมลงไม่เพียงเฉพาะเรื่องความจำอย่างเดียว ยังรวมถึงความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรม ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ไม่ใช่ภาวะปกติที่พบในผู้สูงอายุเสมอไป ทั้งนี้โรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบมากที่สุด คือ ร้อยละ 50-70 ผู้ป่วยจะมีอาการ หลงๆ ลืมๆ จำความไม่ได้ จำเรื่องที่เพิ่งพูดไปได้ไม่นานก็ลืม ชอบเล่าเรื่องเดิมซ้ำไปซ้ำมา เดินหลงทิศทาง ไม่สามารถแก้ปัญหาง่ายๆ อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนไป สาเหตุเกิดจากการตายของเซลล์สมอง สาเหตุให้การทำงานของสมองเสื่อมลงจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ความเครียดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำลายสมองได้โดยตรง และเร่งให้สมองเสื่อมได้รวดเร็วเร็วขึ้น

        สำหรับ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ พฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง โรคเบาหวาน ขาดการออกกำลังกาย และกรรมพันธุ์ สถาบันประสาทวิทยาเห็นความสำคัญของโรคอัลไซเมอร์ จึงได้จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้รับรู้ถึงอาการเริ่มแรกของภาวะสมองเสื่อมในวันอัลไซเมอร์โลก โดยมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ เช่น ฝึกออกกำลังสมอง ตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อม แสดงตัวอย่างอาหารป้องกันสมองเสื่อม บรรยายเรื่อง ‘การนอนหลับในผู้สูงอายุและปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยสมองเสื่อม’โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา สถาบันประสาทวิทยา

  

Click Donate Support Web

ais 790x90GC 950x120

 

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!