WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

`แพทย์ศิริราช`แถลงผลิตแอนติบอดี้เชื้อไวรัสอีโบลาสำเร็จ

     นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานแถลงข่าวร่วมกับรศ.นพ.สุโรจน์ ศุภเวคิน รองผู้อำนวยการ รพ.ศิริราช และ นพ.สุสัณห์ อาศนะเสน สาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ ศ.ดร.รวงผึ้ง สุทเธนทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย และ ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา หัวหน้าทีมผู้ผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลา

   ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวว่า ศิริราชได้พัฒนาแอนติบอดี้ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งกระตุ้นภูมิคุ้มกันรักษาไวรัสอีโบลาได้ครั้งแรกของโลก โดยพัฒนามาจากแนวทางการวิจัยไข้เลือดออกนั่นเอง ซึ่งเราไม่โอ้อวดเกินจริงสามารถพัฒนาเป็นเซรุ่มเหมือนรักษาพิษงู เป็นการพัฒนาคล้ายแอนติบอดีคล้ายของสหรัฐ แต่โครงสร้างแอนติบอดีละเอียดกว่า จึงเชื่อว่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า และได้จดสิทธิบัตรแล้ว

     แอนติบอดี ตัวนี้ได้รับการพิสูจน์ว่า แตกต่างจากตัวที่ใช้อยู่ในสหรัฐด้วย เนื่องจากของสหรัฐที่เป็นยาซีแมป จะป้องกันจากภายนอก และ มีโครงสร้างใหญ่ แต่ของศิริราชมีโครงสร้างเล็กกว่า 5 เท่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าอย่างชัดเจน เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่เอาไปประยุกต์ใช้ในการรักษา แต่เป็นต้นแบบที่ต้องเอาไปทดลองในสัตว์และในคน ที่ทำได้ช้า เพราะเป็นการผลิตในห้องแล็ป หากจะผลิตได้มากๆ ต้องเอาไปผลิตในกระบวนการอุตสาหกรรม ถือเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยว่าเราไม่ได้ด้อยกว่าชาติใด ในเรื่องของความรู้ มีการรักษาที่ได้มาตรฐานสากล

    ศ.คลินิก นพ.อุดม กล่าวด้วยว่าปัจจุบันการระบาดของโรคจิดเชิ้อไวรัสอีโบลา ในแอฟฟริกาตะวันตดค่อนช้างรุนแรงจนองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขของโลก โดยสถานการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 ก.ย. ที่ผ่านมามีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบลา 6,574 คน เสียชีวิต 3,091 คน เสียชีวิตมากที่สุดในประเทศไลบีเรียจำนวน 1,830 คน อย่างไรก็ตามโรคนี้ระบาดมาหลายรอบแล้วแต่ครั้งนี้ถือว่ารุนแรงที่สุด

    ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำพา หวหน้าทีมผู้ผลิตแอนติบอดี้รักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลา กล่าวว่าแอนติบอดี้คือโปรตีนที่สร้างจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ด้วยเม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยท์บี ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน ซึ่งไม่ทันต่อการป้องกันเชื้อโรคร้ายแรงเช่นพิษงู และเชื้อไวรัสอีโบลา รพ.ศิริราชจึงได้ทดลองสร้างแอนติบอดี้พร้อมใช้เพื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย โดยข้อดีของแอนติบอดี้ที่ผลิตได้ครั้งนี้คือมีขนาดเล็กกว่าแอนติบอดี้ปกติถึง 5 เท่า ในการทดลองทางห้องปฏิบัติการซ้ำๆ พบว่าสามารถแทรกเข้าเนื้อเยื่อได้ดี เข้าถึงเซลล์เพื่อบล็อกไม่ให้ไวรัสที่เข้าสู่เซลล์สามารถแบ่งตัวจนก่อโรครุนแรงได้ ที่สำคัญคือมีความจำเพาะต่อโปรตีนสำคัญต่างๆ ของเชื้อไวรัสอีโบลา และปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงเนื่องจากเป็นแอนติบอดี้ผลิตจากยีนส์ของมนุษย์

   "การทดลองครั้งนี้เป็นการผลิตโปรตีนของไวรัสอีโบลาที่ได้จากยีนส์สังเคราะห์ของไวรัส ไม่ได้มีการนำเข้าเชื้อไวรัสอีโบลาเข้ามาในประเทศ เพราะต้องควบคุมระบบความปลอดภัย แต่คาดว่าจะส่งตัวแอนติบอดี้นี้ไปทดลองกับตัวเชื้อไวรัสอีโบลาในต่างประเทศ " ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทยน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!