WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaagEสวรรณชย วฒนายงเจรญชย

สธ. ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังโรคไข้ลาสซาในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด ชี้ประเทศไทยไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยโรคดังกล่าว

         กระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังโรคไข้ลาสซาในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด พร้อมกำชับด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ ให้ตรวจคัดกรองนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงอย่างเข้มข้น แนะผู้ที่เดินทางไปแถบแอฟริกาขอให้ระวังตนเองเป็นพิเศษ ชี้ประเทศไทยไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยโรคดังกล่าว

       นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวในต่างประเทศว่า ทางการไลบีเรียประกาศภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เนื่องจากการระบาดของโรคไข้ลาสซา และพบรายงานผู้ป่วยในบางประเทศแถบแอฟริกา นั้น นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคติดต่ออันตราย ซึ่งตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศกำหนดให้โรคไข้ลาสซาเป็นโรคติดต่ออันตราย ที่จะต้องเฝ้าระวังและดำเนินการอย่างเข้มข้น และมอบหมายให้กรมควบคุมโรคติดตามสถานการณ์ในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด รวมถึงดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะในด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ

       จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขไลบีเรีย พบว่ามีรายงานสถานการณ์โรคไข้ลาสซา ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.–25 สิงหาคม 62 มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 25 ราย เสียชีวิต 9 ราย นอกจากนี้มีรายงานผู้ป่วยในประเทศแถบแอฟริกา เช่น ไนจีเรีย (ยืนยัน 658 ราย เสียชีวิต 145 ราย) นิมบา แกรนด์บาสสา บอง และแกรนด์กรู เป็นต้น

         กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค มีการติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังโรคไข้ลาสซาในต่างประเทศอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง พร้อมสั่งการให้กองโรคติดต่อทั่วไป กำชับด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ ให้มีการเตรียมพร้อมและตรวจคัดกรองนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงอย่างเข้มข้น ถึงแม้จะยังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยโรคดังกล่าวในประเทศไทยก็ตาม สำหรับนักท่องเที่ยวหลังกลับจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยง หากมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษา แจ้งประวัติการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงให้แพทย์ทราบด้วย

      อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า โรคไข้ลาสซา จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับโรคอีโบลา โรคนี้ติดต่อจากการที่คนหายใจเอาละอองของเสียที่หนูขับถ่ายออกมา เช่น ปัสสาวะ และอุจจาระ เข้าไป หรือการกินอาหารหรือการใช้ภาชนะที่มีการปนเปื้อนเชื้อ หรือติดเชื้อทางแผล/เยื่อเมือกบุผิว ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ ทั้งนี้ อาการของโรคไข้ลาสซา คือ มีไข้ ไข้จะยังคงมีอยู่ตลอด หรืออาจไข้สูงเป็นระยะ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ไอ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เจ็บหน้าอก และปวดบริเวณช่องท้อง อ่อนเพลีย ซึ่งโรคนี้จะรักษาตามอาการ เพราะไม่มียารักษาเฉพาะ และยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค

       สำหรับ วิธีป้องกันโรคไข้ลาสซา ได้แก่ 1.ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเป็นพิเศษ โดยหมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ ควรล้างทำความสะอาดภาชนะที่ใช้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค และ 2.ดูแลความสะอาดรอบๆ ที่พักเพื่อควบคุมการกำจัดหนูและสัตว์กัดแทะซึ่งเป็นพาหะนำโรค หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!