WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

01 CFABAFสปสช

บอร์ด สปสช.ไฟเขียว 1 ต.ค. 'ผู้ป่วยรับยาร้านยา' เพิ่มความสะดวกผู้ป่วย 4 โรคเรื้อรัง ช่วยลด รพ.แออัด

    บอร์ด สปสช.ไฟเขียว 1 ต.ค. 'ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยา' ลดความแออัดใน รพ. ประเดิมนำร่อง 50 รพ. ร้านยา 500 แห่ง ดูแลผู้ป่วย 4 โรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด จิตเวช พร้อมเร่งออกประกาศกำหนดค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ฯ รองรับ ด้าน ‘อนุทิน’ย้ำต้องมีกระบวนการติดตามประเมินผล

     ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ - เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ในการประชุมบอร์ด สปสช.ได้เห็นชอบตามข้อเสนอดำเนินงานเพื่อรองรับนโยบาย รมว.สาธารณสุข ให้ “ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล” ตามที่คณะอนุกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์นำเสนอ เพื่อพัฒนาระบบบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หากมีความพร้อมทุกด้านให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 นี้

     การดำเนินงานนโยบายนี้มีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยไม่ต้องรอยานานและได้รับคำแนะนำการใช้ยาอย่างมีคุณภาพ โดยเริ่มนำร่องในปีงบประมาณ 2563 ในโรงพยาบาลไม่เกิน 50 แห่ง ร้านยาไม่เกิน 500 แห่ง และจะทยอยเพิ่มเติมในปีถัดไป เบื้องต้นกำหนดขอบเขตการจ่ายยาให้ผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด จิตเวช หรือโรคเรื้อรังที่ไม่มีความซับซ้อนในการดูแล โดยให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ป่วยที่จะรับยาที่ร้านยา และยาที่ผู้ป่วยได้รับจากร้านยาต้องเป็นยาเดียวกับที่ได้รับจาก รพ. ซึ่งผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าบริการเพิ่มเติม คาดว่าจะมีประมาณร้อยละ 30 ของผู้รับบริการ

      ส่วนการดำเนินงานระหว่างเครือข่าย รพ.และร้านยา กำหนด 3 ทางเลือก โดย รพ.ยังเป็นผู้รับผิดชอบยาและได้รับการชดเชยค่ายาเหมือนเดิม คือ 1.รพ.จัดยารายบุคคลส่งให้ร้านยา ไม่ช่วยลดภาระงานของ รพ. 2.รพ.จัดสำรองยาไว้ที่ร้านยา เป็นเหมือนคลังยาของ รพ. ช่วยลดภาระงานที่ รพ. ได้ แต่มีภาระการดูแลคลังยาย่อยที่ร้านยา และ 3. ร้านยาดำเนินการจัดการด้านยาเอง แต่ต้องมีราคายามาตรฐานที่ รพ.จ่ายให้กับร้านยา ส่วนจะเป็นรูปแบบใดให้ขึ้นอยู่กับ รพ.ตกลงกับร้านยา โดยงบประมาณที่ใช้นำร่องนโยบายในปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 153 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ของร้านยา 70 บาทต่อครั้ง (อ้างอิงตามประกาศค่าบริการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2560) และค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการร่วมกับร้านยา เหมาจ่ายอัตรา 33,000 บาทต่อร้านยา 1 แห่งต่อปี

      นายอนุทิน กล่าวว่า นอกจากนี้ในวันนี้ บอร์ด สปสช.ยังได้อนุมัติหลักการให้ใช้เงินกองทุน “รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสม” ที่เป็นการคาดการณ์งบประมาณคงเหลือของเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2562 จำนวนไม่เกิน 399 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานนำร่องตามนโยบายนี้ พร้อมเห็นชอบเสนอต่อ รมว.สาธารณสุขประกาศกำหนดค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สาหรับร้านยา และค่าจัดบริการด้านยาและเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการร่วมกับร้านยา เป็นค่าใช้จ่ายอื่นตามข้อ 3(1) แห่งคำสั่ง คสช.ที่ 37/2559 และข้อ 18(7) แห่งประกาศ กสธ.ที่ออกภายใต้คำสั่ง คสช.ที่ 37/2559 เพื่อให้มีกฎหมายรองรับการดำเนินงาน

     “จากนโยบายนี้ผู้ป่วยยังคงพบแพทย์เหมือนเดิม มารับการตรวจตามนัดที่ รพ.เหมือนเดิม แต่ผู้ป่วยจะสามารถเลือกได้ว่าจะรับยาที่ห้องยาของ รพ. หรือจะรับยาที่ร้านยาตามใบสั่งแพทย์ หากผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาก็ไม่ต้องมารอคิวเพื่อรับยานานเป็นชั่วโมง แถมยังสามารถซักถามหรือขอคำแนะนำการใช้ยากับเภสัชกรที่ร้านยาได้ ขณะเดียวกันยังช่วยลดความแออัดผู้ป่วยใน รพ.ลงได้ นับเป็นการพัฒนาระบบบริการเพื่อดูแลผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ต้องมีการประเมินผลเพื่อดูประสิทธิผลนโยบายนี้” รมว.สาธารณสุข กล่าว

      ด้าน นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ภายหลังจากที่ รมว.สาธารณสุข ได้มอบนโยบายนี้ในการประชุมบอร์ด สปสช.เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ที่ผ่านมา สปสช.ได้รับมอบนโยบาย โดยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรวิชาชีพเภสัชกรรม ในการเตรียมระบบรองรับ อาทิ ระบบขึ้นทะเบียนร้านยาของ รพ.เข้าร่วมเป็นหน่วยร่วมให้บริการด้านเภสัชกรรม ระบบการจ่ายชดเชยบริการ จ่ายให้ร้านยาต่อครั้งบริการ และจ่ายให้ รพ.เป็นเหมาจ่ายตามจำนวนร้านยา ระบบข้อมูลยืนยันตัวตนผู้ป่วยและระบบเบิกจ่ายชดเชย ระบบเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยและร้านยา ระบบกำกับติดตามประเมินผลภาพรวมโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และระบบกำกับติดตามคุณภาพบริการร้านยาโดยสภาวิชาชีพ รวมทั้งการทบทวนระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามนโยบาย

        นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อม รพ.และร้านยาที่เข้าร่วมดำเนินการ โดย นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน มี รพ.เข้าร่วม 35 แห่ง ร้านยา 141 แห่ง ผลสรุปจากการประชุมต่างเห็นพ้องว่าเป็นแนวทางที่ดีเพื่อลดความแออัดใน รพ.ได้ โดยได้รับความสนใจอย่างมาก ซึ่งมี รพ.หลายแห่งพร้อมเริ่มดำเนินการทันที อาทิ รพ.ระยอง, รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์, รพ.สวนปรุง, รพ.ชลบุรี เป็นต้น และ รพ.ในสังกัดกรมการแพทย์ รพ.เลิดสิน, รพ.นพรัตน์ และ รพ.ราชวิถี เป็นต้น

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!