WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaagETองคการเภสชกรรม

องค์การเภสัชกรรม เผย หลายฝ่ายสนับสนุนไทยยกระดับใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์ให้ได้มาตรฐานโลก เน้นควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัย ติดตามข้อมูล ได้ตลอดทั้งกระบวนการ จนผลิตภัณฑ์ถึงมือผู้ป่วย และจะประสบความสำเร็จได้ต้องได้รับความร่วมมือทุกภาคส่วน

     นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยถึง ในวันนี้ (28 สิงหาคม 2562)องค์การเภสัชกรรม(อภ.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และภาคีเครือข่ายการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ได้ร่วมกันจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปผลรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมจากการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง Mapping the Thai Approach มุมมองหลากมิติของการกำหนดทิศทางกัญชาทางการแพทย์ ซึ่งได้จัดไปเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยมีการระดมความคิดเห็นและประสบการณ์ แนวคิดการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยมี Mr. Martin Woodbridge นักเภสัชวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชาทางการแพทย์จากประเทศนิวซีแลนด์ ที่มีประสบการณ์การทำงานที่ Medsafe กระทรวงสาธารณสุข ประเทศนิวซีแลนด์ ในฐานะ Medicines Quality Specialist และเป็นผู้เขียนหลักเกณฑ์คู่มือกัญชาทางการแพทย์ของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นวิทยากรนำการสัมมนา

      สำหรับ ผลจากการสัมมนาในเบื้องต้นนั้น ผู้สัมมนาได้ร่วมแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับด้วยการสร้างแนวทางการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์ให้ได้มาตรฐานระดับโลก อันจะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย และควรให้ความสำคัญในการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การวิจัยและพัฒนา การศึกษา การติดตามข้อมูล ด้านความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ ตลอดจนการกำกับ ควบคุมดูแลตั้งแต่ปลูก การผลิตจนถึงการใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ทั้งกระบวนการ โดยเห็นว่าการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่การใช้กัญชาทางการแพทย์ที่มีคุณภาพประชาชนเข้าถึงได้และเกิดความยั่งยืน สอดคล้องกับแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ยังเห็นว่าการใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยจะประสบผลสำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน และต้องมีข้อมูลสนับสนุนการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ และประเทศไทยควรเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลกัญชาทางการแพทย์ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่สำคัญในอนาคต

             ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อไปว่า สำหรับด้านการกำกับควบคุมผลิตภัณฑ์สารสกัดกัญชานั้น ควรมีการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ การเข้าถึงผลิตภัณฑ์และราคา รวมถึงบทบาทของแพทย์และเภสัชกรในฐานะผู้สั่งใช้และจ่ายยา ให้มีความชัดเจน อีกทั้งยังให้มีการพัฒนาแนวทาง(guideline) สำหรับการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีการพัฒนาตลาดสำหรับภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทย อีกทั้งมีการพัฒนาด้านการศึกษา และให้ความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนร่วมในการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างรอบด้าน และที่สำคัญด้านการสื่อสารนั้นสื่อมวลชนควรเป็นสื่อกลางของรัฐบาล ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารการใช้กัญชาทางการแพทย์ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

     นอกจากนี้ ยังมีข้อสรุปเบื้องต้นเพื่อนำเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขซึ่งถือเป็นองค์กรหลักในการดำเนินการเรื่องกัญชาทางการแพทย์ ได้แก่ การกำหนดแนวทางการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์กัญชาให้เป็นไปตามมาตรฐาน GMP ให้มีการกระจายผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้ป่วยอย่างทั่วถึง การพัฒนารูปแบบการสั่งใช้ และส่งมอบผลิตภัณฑ์กัญชาให้ผู้ป่วย การใช้ระบบออนไลน์ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อช่วยในการสั่งจ่ายยา รวมถึงการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการรวบรวมข้อมูลการใช้ และรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา มีการกำหนดแผนการวิจัยและสร้างเครือข่ายการดำเนินการวิจัย การกำหนดโปรแกรมการติดตามความปลอดภัยจากการใช้ยา การสร้างช่องทางการให้ข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น

       และให้มีการดำเนินการกับสื่อมวลขนอย่างใกล้ชิด ผู้มีส่วนร่วมในการใช้กัญชาทางการแพทย์ควรได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมควรมีมาตรฐานในการเพาะปลูกและการผลิต เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชาที่นำมาใช้ทางการแพทย์นั้นได้มาตรฐาน ประเทศไทยควรมีการดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้การใช้กัญชาทางการแพทย์ประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวังไว้ต่อไป ซึ่งข้อสรุปความคิดเห็นต่างๆ เหล่านี้และความคิดเห็นที่ได้เพิ่มเติมจะได้รวบรวมและนำเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อนำไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

      ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ยังได้กล่าวถึง ความคืบหน้าการดำเนินการโครงการสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ว่า ขณะนี้องค์การฯได้ปลูกกัญชาเมดิคัลเกรดในระบบ Indoor บริเวณพื้นที่เดิมรอบใหม่แล้ว จำนวน 140 ต้น โดยได้เริ่มปลูกเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยคาดว่าองค์การฯ จะสามารถสกัดและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สารสกัดกัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบันจำนวนประมาณ 10,000 ขวด ประมาณเดือนธันวาคม 2562 ครอบคลุมผลิคภัณฑ์ทั้ง 3 สูตรคือ สูตร THC สูตร CBD สูตร THC : CBD 1:1 โดยการปลูกรอบใหม่นี้ จะปลูกสายพันธุ์ CBD เด่นให้มากขึ้น

      สำหรับ การดำเนินการโครงการระยะที่ 2 เป็นการปรับปรุง พัฒนาสายพันธุ์กัญชาให้ผลิตสารสำคัญได้ปริมาณสูงและสามารถปลูกลงแปลงได้ รวมทั้งขยายกำลังการผลิตสารสกัดเป็นระดับกึ่งอุตสาหกรรม จะขยายพื้นที่การปลูกแบบ Indoor ให้เพิ่มมากขึ้น เป็น 1,000 ตารางเมตร คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการปลูกได้ในเดือนมิถุนายน 2563 ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์สารสกัดกัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบันรุ่นแรกประมาณเดือนตุลาคม 2563 ทั้งนี้จะเน้นผลิตผลิตภัณฑ์ สูตร CBD เป็นสำคัญ ในส่วนของความร่วมมือกับกับหน่วยงานต่างๆในการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ การปลูก และเพิ่มพื้นที่การปลูกต้นกัญชานั้น ในส่วนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะเริ่มทำการปลูกในเดือนกันยายน 2562 นี้ คาดว่าทางมหาวิทยาลัยจะทยอยส่งวัตถุดิบกัญชาแห้งเกรดทางการแพทย์ให้กับองค์การฯ ทำการสกัดได้อย่างต่อเนื่อง ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อทำการผลิตตามโครงการเร่งด่วนตามนโยบายรัฐมตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!