WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaกรศEEC

กรศ. เปิดโครงการศึกษาและจัดทำมาตรการสำคัญภาครัฐเพื่อพัฒนาบุคลากรรองรับ EEC เดินหน้าพัฒนาเยาวชนใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก เน้นสร้างแรงบันดาลใจ เสริมทักษะ สอดรับความต้องการแรงงานในพื้นที่ในอนาคต

     คณะกรรมการบริหารโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (กรศ.) เปิดตัวโครงการศึกษาและจัดทำมาตรการสำคัญภาครัฐเพื่อพัฒนาบุคลากรรองรับ EEC เตรียมพร้อมพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ให้มีศักยภาพและตอบสนองต่อความต้องการของภาคการผลิตและภาคการบริการ โดยมุ่งเสริมความรู้และสร้างแรงบันดาลใจแก่เด็กและเยาวชน ในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ ให้สามารถพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานในอนาคต

     ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก(กรศ.) กล่าวว่า “จากนโยบายของรัฐบาลในการจัดตั้งโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก ในเขต 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการเติบโตของอุตสาหกรรมใหม่ อาทิ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิตอล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร โดยมีเป้าหมายให้อุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตในระยะยาว และเพื่อให้การดำเนินนโยบายบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       การพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะที่สอดรับกับความต้องการแรงงานในพื้นที่จึงมีความสำคัญ กรศ.จึงจัดทำโครงการศึกษาและจัดทำมาตรการสำคัญภาครัฐเพื่อพัฒนาบุคลากรรองรับ EEC ขึ้นเพื่อพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ให้มีศักยภาพและตอบสนองต่อความต้องการของภาคการผลิตและภาคการบริการในพื้นที่ โดยมอบหมายให้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลโครงการ จัดทำหลักสูตรแนวทางการพัฒนาระบบการศึกษา เพื่อยกระดับศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่ EEC โดยเน้นไปที่ระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นระดับที่สามารถกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการเลือกสาขาวิชาชีพเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งให้มีการจัดกิจกรรมประกอบหลักสูตร และทำระบบ Open Educational Resources Network (OER) เพื่อรวบรวมและนำเสนอองค์ความรู้ในที่ได้จากการจัดกิจกรรมนำไปเผยแพร่ทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ต่อไป”

       โครงการศึกษาและจัดทำมาตรการสำคัญภาครัฐเพื่อพัฒนาบุคลากรรองรับ EEC ในขั้นต้นนี้ เป็นการดำเนินงานศึกษา วิจัย จัดทำหลักสูตรและฝึกอบรมเยาวชนในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นระดับที่สามารถกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการเลือกสาขาวิชาชีพที่จะรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีการจัดทำกิจกรรมประกอบหลักสูตรผ่านการจัดค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมใหม่ จำนวน 4 กิจกรรม ประกอบด้วย เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เทคโนโลยีเกมและแอนิเมชั่น อินเตอร์เน็ตออฟติงส์ (Internet of Things หรือ IoT) และเทคโนโลยีการบินและอวกาศ ซึ่งใช้หลักการเรียนการสอนแบบ STEM Education ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง (Brain-based Learning) เป็นแนวคิดหลักในการจัดกิจกรรม

     “เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดทำโครงการศึกษาและจัดทำมาตรการสำคัญภาครัฐเพื่อพัฒนาบุคลากรรองรับ EEC จะช่วยให้เยาวชน ครู อาจารย์ รวมถึงประชาชนในพื้นที่ได้ตื่นตัว มีแรงบันดาลในการพัฒนาตนเอง มองเห็นช่องทางด้านอาชีพ และเตรียมพร้อมตนเองทั้งในด้านการศึกษา และทักษะ เพื่อให้สอดรับกับตลาแรงงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต” ดร.คณิศ ทิ้งท้าย

       ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะมีขึ้นรวม 92 ครั้ง ในทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ในพื้นที่ 3 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย. – 10 ธ.ค. 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา วันที่ 16 ธ.ค. 2560 – 21 ม.ค. 2561 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี วันที่ 27 ม.ค.- 17 ก.พ. 2561 ณ ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก วิทยาลัยเทคนิคระยอง จังหวัดระยอง นอกจากนั้น ยังมีหลักสูตรอบรมเข้มข้นการจัดการเรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามหลัก BBL+STE(A)M สำหรับครู ในวันที่ 18 ก.พ. 2561 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี เยาวชนและครูผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัครที่ https://goo.gl/oELurd หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่โทร 02-105-6524, 02-105-6511, 02-105-6517 อีเมล์ : [email protected]

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!