WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aสวนกหลาบ

'ธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ' 11 สวน จับมือร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญการเรียนการสอน การเดินหน้าสร้างคุณภาพเครือข่ายโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 11 สวน

     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและสวนกุหลาบวิทยาลัยในเครือทั้ง 11 แห่งสร้างพันธกิจสำคัญร่วมกันร่างธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ สร้างบรรทัดฐานการเรียนการสอนทั้ง 11 สวนไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีเป้าหมาย บรรลุถึงความสำเร็จภายในปี พ.ศ.2559โดยมีฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธาน

     นางสมหมาย วัฒนะคีรี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และผู้ช่วยอธิบดีกรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการกล่าวถึง นโยบาย “การขับเคลื่อนคุณภาพสถานศึกษาในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย”โดยความร่วมมือกับ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย และองค์กรสนับสนุนที่มีศักยภาพ เช่นสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิสวนกุหลาบวิทยาลัย ชมรมครูเก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย จึงร่วมกันจัด โครงการสวนกุหลาบศึกษา เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาตามวัฒนธรรมคุณภาพสวนกุหลาบ ในรูปแบบ'เครือข่ายสวนกุหลาบ'  สู่วิสัยทัศน์ในการเป็นสถาบันทางสังคมและวัฒนธรรมสร้างการยอมรับต่อสาธารณชน ให้บรรลุถึงความสำเร็จภายในปี พ.ศ.2559

      เพื่อพัฒนาขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ให้เป็นสถานศึกษาคุณภาพด้วยกกระบวนการและการจัดการตามรูปแบบของการสร้างคนสวนกุหลาบ โดยมีแนวทางที่ปฏิบัติได้หรือนำไปปรับใช้ได้ตามบริบทของแต่ละสถานศึกษา ทั้งนี้ ต้องธำรงรักษาวัฒนธรรมคุณภาพอันเป็นรากฐานของการสร้างอัตลักษณ์  และเกียรติภูมิให้แก่ผู้เรียนสวนกุหลาบฯ ศึกษา ทุกแห่งด้วยรูปแบบที่มีแนวทางปฏิบัติและพันธะสัญญาการบริหารจัดการคุณภาพร่วมกันตามธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบทั้งนี้ได้มีการทดลองและปฏิบัติจริงทั้งการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน การทำกิจกรรมและอื่นๆ ทั้งระบบของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและสวนกุหลาบวิทยาลัยในเครือทั้ง 11 แห่ง ตามแผนงานในโครงการสวนกุหลาบศึกษา (พ.ศ. 2555 – 2559)  ซึ่งมีการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ ดังนี้

      โดยในระยะแรก (พ.ศ. 2555 – 2556) เป็นระยะที่สร้างความตระหนักใน 'ความเป็นสวนกุหลาบ' ให้เกิดขึ้นกับผู้บริหารครู นักเรียน และผู้ปกครอง  โดยใช้เครื่องมือยึดโยง คือ “หลักสูตรสวนกุหลาบศึกษาส่วนระยะที่ 2 (พ.ศ. 2556 – 2559)  เป็นการต่อยอดระยะแรก  มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามหลักสูตรสวนกุหลาบฯ ศึกษาทั้งระบบของการจัดการศึกษาในโรงเรียน  และการบริหารจัดการเครือข่ายสวนกุหลาบฯ  โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา  โดยเริ่มพัฒนาจากห้องเรียน ซึ่งเป็นหน่วยงานเล็ก ๆ ของสถานศึกษาที่สามารถพัฒนาได้จากการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ปกครอง  นักเรียน  ครูประจำชั้น  ครูผู้สอน และคณะผู้บริหาร โดยการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่คณะกรรมการได้กำหนดขึ้น คือ มาตรฐานคุณภาพกุหลาบหลวง (ซึ่งได้มีการประกาศให้โรงเรียนสวนกุหลาบทุกแห่งได้ใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558)  เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างใส่ใจในกระบวนการปฏิบัติที่ได้มาตรฐาน 5 ส่วน คือ  ผู้ปกครอง  ครูประจำชั้น  ครูผู้สอน  การบริหารจัดการโรงเรียนและเครือข่าย  รวม 23 มาตรฐาน  ละ 88 ตัวชี้วัด ด้วยกระบวนการและวิธีการดังกล่าว  โรงเรียนจะสามารถดูแลและพัฒนาผู้เรียนได้อย่างทั่วถึงทุกคน ซึ่งก็คือ No child left behindนั่นเอง

       และเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและสวนกุหลาบวิทยาลัยในเครือทั้ง 11 แห่ง  ได้ดำเนินการปฏิบัติการอย่างเต็มรูปแบบตามกระบวนการวิจัยและพัฒนาฯ จนแล้วเสร็จในเดือนกันยายน หลังงานนั้นจะได้มีการสรุปผลของการดำเนินการตามโครงการสวนกุหลาบศึกษา  (พ.ศ. 2555 – 2559) ซึ่งได้รูปแบบและแนวทางของการบริหารจัดการศึกษาทั้งระบบเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพของสถานศึกษาในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัยตามธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย  และจะได้มีการนำเสนอกรมเจ้าสังกัดและกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเผยแพร่ซึ่งจะเป็นการให้โอกาสสถานศึกษาที่มีลักษณะเครือข่ายเช่นเดียวกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยได้ใช้หรือนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนที่มีคุณภาพ

       ดร.วิทยา ศรีชมภู ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ซึ่งถือเป็นสวนกุหลาบแห่งที่ 2 กล่าวว่าปัจจุบันโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีสถานศึกษาในเครือที่ใช้ชื่อ “สวนกุหลาบวิทยาลัย” ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยอีก ๑๐ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ,โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ , โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี , โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต , โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ , โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี,  โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิระประวัติ) นครสวรรค์ , โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี,  โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี  และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช  ซึ่งทุกโรงเรียนมีพันธกิจสำคัญร่วมกัน โดยการยกร่างธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยการบริหารจัดการขององค์กรเครือข่ายสวนกุหลาบ

     ภายใต้ธรรมนูญจะเป็นเหมือนบรรทัดฐานในการบริหารจัดการทั้ง 11 สวนไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือโรงเรียนเครือข่ายสวนกุหลาบวิทยาลัยจะร่วมมือกันบริหารจัดการภายใต้ ธรรมนูญการศึกษาแห่งสถาบันสวนกุหลาบ พุทธศักราช ๒๕๕๙ ให้บรรลุถึงเจตนารมณ์สูงสุด เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการบริหารจัดการในรูปเครือข่ายสถานศึกษาที่มีความเป็นเอกภาพในนโยบายการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามวัฒนธรรมคุณภาพสวนกุหลาบ สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีความโดดเด่นในสังคมไทย เป็นที่ยอมรับของสังคมโลกในฐานะที่เป็นแหล่งพัฒนาผู้เรียนที่มีอัตลักษณ์'สุภาพบุรุษสวนกุหลาบ'มีความเจริญเติบโตด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา สมวัย มีดุลยภาพในพัฒนาการทุกด้าน มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะ ที่เป็นเลิศตามความถนัด ความสามารถ ความสนใจ และธรรมชาติเฉพาะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล

 

 

loading...

 

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!