WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

2051 NXPO STIP6

สอวช. - มจธ. เปิดหลักสูตร STIP รุ่นที่ 6 มุ่งพัฒนาและสร้างเครือข่ายนักนโยบาย อววน. เป็นรากฐานขับเคลื่อนประเทศให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

          สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดพิธีเปิดหลักสูตรการออกแบบนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รุ่นที่ 6 (STI Policy Design: STIP06) ณ โรงแรม อีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ที่ปรึกษาอธิการบดี มจธ. และ ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นผู้กล่าวเปิดการอบรม 

          ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านได้กล่าวแสดงความยินดีกับผู้เข้าร่วมการอบรมในปีนี้ พร้อมทั้งได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกี่ยวเนื่องกับการขับเคลื่อนนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ที่เป็นโจทย์สำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ การก้าวหน้าของเทคโนโลยี การพัฒนากำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการ เป็นต้น ซึ่งประเด็นเหล่านี้ต้องอาศัยการสร้างรากฐานด้านนโยบาย ที่จะเป็นต้นน้ำสำคัญในการขยับประเทศไทยให้เติบโตและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

          นอกจากนี้ ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวต้อนรับและเสวนา เรื่อง “Geopolitics for Climate Change: ภูมิรัฐศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีนัยต่อประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ในปัจจุบันมากกว่าเรื่องความยั่งยืนของทรัพยากร โดยมีความเกี่ยวข้องกับหลายประเด็น อาทิ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDG) การค้า การลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ การอพยพลี้ภัย นโยบายการผลิตน้ำมันในแถบตะวันออกกลาง เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา University Ranking ซึ่ง สอวช. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยประสานงานกลางด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (National Designated Entity: NDE) ภายใต้กลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Mechanism) ของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งในเวทีประชุมของ UNFCCC จะให้ความสำคัญกับการหารือกันใน 3 มิติ ได้แก่ 1) Mitigation การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2) Adaptation การการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3) Lost and Damage ความสูญเสียและความเสียหาย

          “ในปีที่ผ่านมา สอวช. ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties: COP) สมัยที่ 28 ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานของประชาคมโลกภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังมีการประชุมคู่ขนานไปพร้อมกันอีก 6 ประชุมหลัก โดย สอวช. ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานพันธมิตรหลักร่วมนำเสนอส่วนจัดแสดงนวัตกรรม (Innovation Zone) และร่วมจัดกิจกรรมเวทีคู่ขนาน (Side Event) 3 เวทีเสวนา เพื่อสะท้อน แลกเปลี่ยนและสื่อสารภารกิจและการขับเคลื่อนของ สอวช. ที่สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ” ดร.กิติพงค์ กล่าว

          ดร.กิติพงค์ ยังได้กล่าวถึงแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติของประเทศไทยในระยะยาว ประกอบด้วย 6 สาขาหลัก ได้แก่ การจัดการน้ำ ท่องเที่ยว การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร สาธารณสุข การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงการดำเนินงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขา (Cross-Cutting) และความต้องการสนับสนุนของประเทศไทย มีโครงการสำคัญที่ สอวช. ร่วมขับเคลื่อนเพื่อไปสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ โครงการ Green Campus มหาวิทยาลัยขับเคลื่อน Net Zero Emissions ได้ตั้งเป้าให้มี 50 มหาวิทยาลัยที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยให้ความสำคัญทั้งในส่วนการหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการใช้พลังงานรูปแบบอื่นๆ เช่น ระบบ Smart Grid การใช้ Solar Roof รวมถึงต้องสร้างความตระหนักในการใช้พลังงานให้กับบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วย อีกหนึ่งโครงการสำคัญ คือโครงการ Saraburi Sandbox ระบบนิเวศเมืองนวัตกรรม Net Zero Emission เป็นการสร้างเมืองต้นแบบในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยอาศัยกลไกการเชื่อมโยงความรู้และความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งการเชื่อมเวทีระดับนานาชาติ เชื่อมโยงภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม และการตั้งคณะทำงานระดับจังหวัดขับเคลื่อนความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม

          งานเปิดหลักสูตรฝึกอบรมในครั้งนี้ยังได้มีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนและมอบหมายโจทย์โครงงาน รวมถึงจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม (Ice breaking) และสร้างเครือข่าย (Networking) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รู้จักกันมากขึ้น และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานด้วย

          สำหรับหลักสูตร STIP มีวัตถุประสงค์ในการจัดการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม เรื่องการออกแบบนโยบายด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) และนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับบริบทการทำงานของบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระบบและนอกระบบ อววน. ตลอดจนองค์กรภาคเอกชน และยังเป็นการเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านการพัฒนานโยบายตามหลักสูตรที่ได้ออกแบบไว้ โดยเน้นการจัดทำข้อเสนอนโยบายจริง เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถใช้ความรู้ที่ได้รับในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างให้เกิดเครือข่ายนักพัฒนานโยบาย (Policy Network) ด้าน
        อววน. ของประเทศ เพื่อร่วมการผลักดันนโยบายที่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยในปีนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมรวม 63 คน จาก 34 หน่วยงาน ทั้งหน่วยงานด้านนโยบาย/กำกับดูแล หน่วยบริหารและจัดการทุน หน่วยงานวิจัย/มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน

 

 

2051

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!