WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

111008 NXPO

สอวช. จัดประชุมทำความเข้าใจ การจัดตั้ง University Holding Company ให้กับ มรภ.-มทร. หวังดึงพลังเครือข่ายมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด

          เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงแนวทางส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากสถาบันอุดมศึกษา สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ด้วยกลไก University Holding Company ของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน 

          ศ.ดร.ศุภชัย กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้ว่า หลังมีการประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลบังคับใช้กับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์ด้านการวิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานของรัฐตามที่สภานโยบายกำหนด ทำให้เกิดคำถามถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน University Holding Company ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏและกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จึงเป็นที่มาของการประชุมในวันนี้ เพื่อเป็นเวทีในการทำความเข้าใจให้กับมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อน University Holding Company ในกลุ่มมหาวิทยาลัย

          ด้าน ดร.กิติพงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า การส่งเสริมนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากสถาบันอุดมศึกษาสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ด้วยกลไก University Holding Company จะเป็นพลังที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวอยู่ในขณะนี้ได้ และเชื่อว่ามหาวิทยาลัยและประชาคมเครือข่ายนวัตกรรมจะเป็นพลังสำคัญในการขยับเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ การจัดตั้ง University Holding Company เพื่อทำการร่วมลงทุนสามารถดำเนินการได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งจัดตั้งโดยมหาวิทยาลัยเดียว หรือ รวมกลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน 

          นอกจากนี้ ดร.กิติพงค์ ได้ยกตัวอย่างเศรษฐกิจประเทศจีนที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากรัฐบาลใช้นโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม หรือ Innovation Driven Enterprises (IDE) ซึ่งประกอบธุรกิจโดยอาศัยนวัตกรรมทั้งในการพัฒนาสินค้าและกระบวนการผลิต ในส่วนของประเทศไทยก็มี IDE ที่ประสบความสำเร็จหลายบริษัทซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่อุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep tech) เท่านั้น แต่รวมไปถึงบริษัทในอุตสาหกรรมการเกษตร อาหาร การบริการต่างๆ ซึ่งหากได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังก็จะช่วยให้เติบโตขยายขนาดหรือ scale-up ต่อได้ 

          ผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้ จะมีการ Spin-off หน่วยบริหารจัดการทุนภายใต้โครงสร้างเดิมไปเป็นสำนักงานเร่งรัดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันและการพัฒนาพื้นที่ (รวพ.) องค์การมหาชน ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถทำการร่วมลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพได้ นอกจากนี้ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ่วมลงทุนฯ ได้มีการปลดล็อก ให้อาจารย์ นักวิจัย หรือบุคลากรในมหาลัย สามารถออกไปเป็นสตาร์ทอัพได้ 

          ด้าน นางสาวนิรดา วีระโสภณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวถึงกฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการร่วมลงทุนและการจัดตั้ง University Holding Company โดยระบุว่า ปัจจัยที่มหาวิทยาลัยต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนการจัดตั้งคือ จำนวนผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่พร้อมใช้ประโยชน์ บุคลากรที่สามารถดำเนินการในธุรกิจนวัตกรรม ตลอดจนระบบสนับสนุนการเชื่อมโยงงานนวัตกรรมไปสู่การดำเนินธุรกิจ และงบประมาณในการจัดตั้งและงบประมาณสำหรับการร่วมทุน 

          นางสาวนิรดา ยังได้กล่าวถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้ง University Holding Company ว่า มี พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 39 ที่กำหนดให้มีการนำผลวิจัยและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์ สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดตั้งนิติบุคคลหรือร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการวิจัยและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ ยังมี พ.ร.บ.ส่งเสริม ววน. พ.ศ. 2562 มาตรา 31 ที่กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ หน่วยงานของรัฐอาจร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สภานโยบายกำหนด และได้ชี้แจงถึงข้อกังวลเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นรัฐวิสาหกิจของ Holding company อีกด้วย

          ทั้งนี้ ในการประชุมได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไก University Holding Company โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรม และกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำ University Holding Company รวมถึงบริษัทสตาร์ทอัพสปินออฟภาคเอกชนที่มีการทำงานร่วมกับ University Holding Company เป็นผู้แนะนำและถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับทั้ง 2 กลุ่มมหาวิทยาลัย จากนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนมุมมอง และตอบข้อซักถาม ซึ่งความเห็นส่วนใหญ่พบว่า กฎและระเบียบบางอย่างยังเป็นอุปสรรคที่ทำให้ University Holding Company เติบโตได้ยาก แต่ทางกลุ่มมหาวิทยาลัยมองเห็นถึงศักยภาพ โอกาส และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากกลไกดังกล่าว การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันในครั้งนี้ จึงถือเป็นการสะท้อนให้เห็นข้อจำกัดในการดำเนินการจริงของมหาวิทยาลัย ที่จะเป็นข้อมูลให้กระทรวง อว. และ สอวช. ร่วมดำเนินการและหาแนวทางส่งเสริมสนับสนุนที่เหมาะสมให้กับมหาวิทยาลัยต่อไป 

 

 

111008

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

SME 720x100 66

 

 

 

 

kbank 720x100 66

 

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!